ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า


ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเช่นเดียวกับ "นกน้อยทำรังแต่พอตัว" คือการที่จะกระทำการใดๆ ให้คำนึงถึงความพอดี พอเพียง อย่ากระทำการใดที่เกินสติปัญญา เกินพละกำลัง เกินฐานะของตน ตั้งในหลักธรรม ปลูกเมตตาจิต ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ตัว ก็จะทำให้เกิดสุขทั้งกายใจ...

เนื่องจากหน้าบ้านมีสระน้ำ(ของคนอื่น)ขนาดใหญ่.. สัตว์หลากหลายชนิดได้อาศัยพึ่งพิง เพราะเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ครูกาญจะได้ยินเสียงนกดังจิ๊บๆทุกเช้า มีนกสีฟ้าสด ส่งเสียงร้อง ก่อนบินมาเกาะที่สายไฟหน้าบ้านเกือบทุกวัน จนจำได้แม้ได้ยินแค่เสียง...

จากบันทึก บริเวณข้างบ้านมีต้นไม้ที่เริ่มเป็นที่พักพิงของนกหลายชนิด แต่ครูกาญรู้จักเพียงนกกระจอก นกกางเขนบ้าน นกพิราบ เท่านั้น

วันหนึ่งมองลอดหน้าต่างห้องครัว มีครอบครัวน้อยๆของนกสีเขียวเหลือง มาสร้างรังที่ต้นหมากเหลือง เสียงจิ๊บๆของลูกที่ยังเล็ก บินยังไม่ได้ ยิ่งดังแรงขึ้นๆ เหมือนบอกว่า หิวแล้วจ้าๆ กระตุ้นให้แม่ที่ออกไปหาอาหารกลับมาโดยเร็ว พร้อมกับป้อนอาหารให้ลูกทั้งสองตัวสลับกัน..เป็นภาพที่น่ารักมากๆ

 

จากการเฝ้ามอง รังเล็กๆที่เกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ ไม่ได้แน่นหนาอะไรนัก ในขณะที่ลมพัด ก็ไหวเอนตามแรง ไม่รู้ว่าลูกนกสองตัวในรัง จะนึกหวาดกลัวหรือไม่ และก็นึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่าเวลาค่ำคืนคงนอนเบียดกันที่เดียว เพราะรังมีขนาดเล็กมาก..ทำให้นึกถึงสำนวนที่ว่า นกน้อยทำรังแต่พอตัว ขึ้นมาทันที..

จากนั้น ประมาณเกือบสัปดาห์ ลูกนกทั้งสองตัวก็เริ่มหัดบิน..มีแม่คอยให้กำลังใจใกล้ๆ ส่งเสียงเหมือนจะบอกว่าบินอย่างนี้ ค่อยๆกางปีกสิลูก เกาะกิ่งไม้ใกล้ๆก่อน ลูกก็ร้องดังระงม คงจะบอกแม่ว่าเหนื่อยแล้ว ยากจังเลย พวกเธอส่งเสียงดัง ครูกาญก็เอาใจช่วยและลุ้นไปด้วย

พอสักสองสามวัน นึกแปลกใจเพราะครูกาญไม่ได้ยินเสียงร้อง รังนกดูเงียบเชียบ.. ลูกนกคงบินได้คล่องและตัวใหญ่ขึ้น ทำให้นึกน้อยใจว่าทำไมไม่ยอมบอกลากันบ้างเลย ว่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่น..

ทุกครอบครัว ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์ เมื่อเติบใหญ่ ย่อมแยกย้ายไปตามวิถีชีวิตของตน บ้างก็หาเลี้ยงชีพ ด้วยการทำงานที่อื่น มีครอบครัวใหม่ที่ต้องรับผิดชอบดูแล..

เพียงว่า การหล่อหลอมทักษะชีวิต ความคิด ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ที่มาจากพ่อแม่ สามารถทำให้พวกเขาเหล่านั้น อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีความแข็งแกร่งต่อการเผชิญปัญหาต่างๆได้สักเท่าใด

อย่างไรก็ตาม หากเรานำคำนิยามของคำว่าพอเพียง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน และมีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มาใช้..

เหมือนกับสำนวนที่ว่า ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า แม้จะมีชีวิตที่ไม่หรูหราร่ำรวย แต่อิ่มสุข แค่นี้ครูกาญก็คิดว่า คงจะพอเพียงกับชีวิตนี้แล้ว..

หมายเลขบันทึก: 554819เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีอาจารย์ กาญจนา

"ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า" เป็นความพอเพียง แบบพองาม ..งามธรรมชาติ

-สวัสดีครับครู

-ภาพสวยมากๆ ครับ

-ขอบคุณครับ...

ชอบภาพและบทความน่าจะจริงนะครับพี่ครู

สบายดีไหมครับ

ชอบมากเลยครับ

ภาพนก เห็นแล้วสะท้อนใจ คน จัง...

ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์ คำพังเพยนี้ สอน ชี้แนะ ชี้ทาง ดีจังเลยนะคะ ตอนนี้ทางบ้านอาจารย์ อากาศเริ่มหนาวหรือยังค่ะ ขอบคุณมากค่ะ กับกำลังใจ นะคะ

นกน้อย สร้างรัง..แค่ พอตัว....(คนน่า..เอาอย่างนิ..)...ยายธี

...เป็นภาพที่ใกล้ชิดธรรมชาติ...น่าประทับใจมากนะคะ...

สวัสดีค่ะวอญ่า หากใจเรารู้จักพอ ก็สุข..

ขอบคุณมกๆค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณเพชร
  • ความงามส่งถึงบ้านเลย.. ขอบคุณมากนะคะ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต
  • หากเราไม่พอใจในสิ่งที่มี หรือมีแล้วก็ยังอยาก..ใจก็ไม่สงบ
  • สบายดีค่ะ อาจารย์ล่ะคะ
  • สวัสดีค่ะคุณพิชัย
  • สัญชาตญาณของแม่..ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์
  • ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • สวัสดีค่ะคุณพี่หมอเปิ้ล
  • ทุกอย่างอยู่ที่ใจ..
  • พิษณุโลกตอนเช้าเย็นๆค่ะไม่ถึงหนาว ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณยายธี
  • ที่เห็นอยู่มีเยอะเลยนะคะ
  • ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่แวะมา

สวัสดีค่ะพี่นา

  • น่ารักมากค่ะ นกน้อยโตแล้ว หากินเองได้แล้ว ก็ไปตามวิถีแห่งชีวิตนะคะ
  • คิดถึงเสมอค่ะพี่
  • สวัสดีค่ะคุณยาย
  • เข้มแข็ง เติบใหญ่ก็โบยบิน..
  • คิดถึงเสมอ..เช่นกันค่ะ

-สวัสดีครับอาจารย์..

-ตามมาอีกรอบ..

-วันนี้มี"ต๋ำบะต๋าเสือ"มาฝากครับ..

-อาหารพื้นบ้านอร่อย ๆ ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท