อนุทินล่าสุด


ต๋อง
เขียนเมื่อ

การจัดการความรู้ในสาธารณสุข

การจัดการความรู้(knowledge management)ในด้านสาธารณสุข(public health)จะช่วยสร้างแหล่งความรู้และฐานข้อมูลของสาธารณสุขให้เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาเผยแพร่ในหมู่วิชาการและการบริหารงานด้านสาธารณสุขศาสตร์ เนื่องจากมองเห็นว่าผู้บริหารงานควรมีการจัดการความรู้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานสาธารณสุขและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านวิชาการ พัฒนาคนและการพัฒนางาน ทำให้การสร้างองค์กรมีคุณภาพในด้านต่างๆ พร้อมกับเป็นการก่อสร้างองค์กรให้เป็นแหล่งความรู้พื้นฐานให้กับองค์กรต่างๆเข้ามาศึกษาค้นคว้าวิจัย อีกทั้งเป็นการขยายความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ความรู้จริงจากวิชาการในด้านนั้นๆ นอกจากมีการแลกเปลี่ยนความรู้แล้วควรมีการสร้างแหล่งความรู้เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆตามการรักษาและโรคที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อสามารถทำการรักษาและแนะแนวทางการรักษาให้ถูกวิธี วิธีการนี้ช่วยให้การรักษาเร็วขึ้นและไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาศึกษากับองค์กรต้นทางจริงๆ เพราะมีแหล่งความรู้ให้ศึกษาและมีนักวิชาการแนะนำทางออนไลน์และอีกทางหนึ่งควรมีการจัดการเวทีสัมนาประจำเดือนและประจำปีเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นได้ดีขึ้น




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต๋อง
เขียนเมื่อ

ท่านคิดว่า มีประเด็นอะไรบ้างที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้ IT

บทความ

  จากบทความดังกล่าวประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ IT คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีความฉลาดรอบรู้มากมายในด้านต่างๆและได้นำความรู้ไปพัฒนาให้กับประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นซึ่งพระองค์ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นๆแล้วได้นำความรู้ใหม่ๆมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ จากนั้นจึงนำไปปฏิบัติจริงและได้ผลเกินคาดหมายที่ได้กำหนดไว้และพระองค์นำเอาปัญหาดังกล่าวไปพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยการสร้างศูนย์พัฒนาที่อยู่ทั่วประเทศ

1.  การศืกษาข้อมูล

2.  วิเคราะห์และปรึกษากับนักวิชาการ  นักปฏิบัติและประชาชน

3.  มีการพัฒนาและประดิษฐืสี่งใหม่ๆ

4.  ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One-stop service)




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต๋อง
เขียนเมื่อ

Supporting innovation with Knowledge Management

พื้นฐานในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพอาศัยการจัดการนวัตกรรม สอดคล้องกับรูปแบบพื้นฐานของการจัดการความรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันที่แตกต่างสามระดับ คือระดับโครงการ ระดับความรู้และระดับข้อมูล ในบริษัทได้เกิดกระบวนการนวัตกรรมที่ต้องได้รับการสนับสนุนในระดับที่แตกต่างกันโดยใช้ข้อมูลที่ทันสมัยและเครื่องมือในการสื่อสาร ปัจจุบันนี้สินค้าและการบริการต้องคำนึงถึงเป้าหมายของการตลาด องค์กรที่มีความก้าวหน้าในการจัดการนวัตกรรมจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดการนวัตกรรมนำไปสู่กระบวนการพัฒนาความรู้ซึ่งก่อให้เกิดการแสวงหาผล ประโยชน์เชิงพาณิชย์และการเก็บรวบรวมประสบการณ์ได้ถูกนำเสนอในรูปของ Management handbook โดยตีพิมพ์ในปีนี้

บทนำ

ปัจจุบันธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความต้องการของโลกซึ่งเกิดจากการแข่งขันกันทางด้านการตลาด เป็นผลให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระดับโลก  ทุกวันนี้ธุรกิจ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์แบบ life-cycles ลดลง เกิดการแข่งขันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจมีความซับช้อน การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสาร ระบบนิเวศ พลังงานและเกิดประเทศอุตสาหกรรมใหม่ๆ เครือข่ายการสื่อสาร โลกาภิวัตน์ของตลาดโลก การเปลี่ยนของเจ้าธุรกิจ ฯลฯ โดยไม่ได้อ้างถึงในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา กระบวนการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสะท้อนให้เห็นถึงทฤษฎีของการจัดการเพื่อแก้ปัญหาการเติบโตอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาของธุรกิจ (Willfort 2001) รัฐวิสาหกิจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันในด้านแรงจูงใจของลูกค้าที่มีมากขื้นต่อผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน  ซึ่งลูกค้าคาดหวังว่าจะได้สินค้าราคาถูก เป็นสินค้าใหม่และมีคุณภาพสูง ดังนั้นสิ่งสำคัญทางด้านการตลาดคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าสามารรถแข่งขันกับบริษัทต่างๆได้  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในบริษัทหมายถึงการพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเหมาะสมต่อราคา การพัฒนาและการผลิตต้องคำนึงถึง FMEA (Failure Modes and Effects Analysis) FTA (fault Tree Analysis) QFD (Quality Function Deployment) เช่น คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ค่าที่วิเคราะห์ได้ การจัดการความรู้ ฯลฯ (Leber 2003) เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านธุรกิจในตลาดโลกมากขึ้น ธุรกิจได้มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยการนำเทคโนโลยี state of the art มาใช้และการดำเนินงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computer-aided operation)  และในที่สุดได้นำเอาสี่งใหม่ๆมาจากการพัฒนาสินค้าเช่น การปรับปรุงคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ก็ยังไม่เพียงพอเนื่องจากในยุคนี้บริษัทจะต้องทำให้ตัวเองอยู่รอด และมีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางในโลกของการแข่งขัน

ปัจจัยในการพัฒนาธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาด

ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานสั้น

ความต้องการของลูกค้า

รูปแบบใหม่ของธุรกิจ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความซับซ้อนด้านธุรกิจเกิดเนื่องจากความต้องการด้านวัฒนธรรมและการจัดการนวัตกรรมให้มีความกลมกลืนกับวัฒนธรรม เพื่อให้พวกเขาจะสามารถนำประโยชน์มาสู่บริษัทได้  พื้นฐานของการให้บริการการจัดการนวัตกรรมคือการรวมกันระหว่างความแปลกใหม่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ในที่สุดจะได้รูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขั้นตอนหรือบริการ มีสี่ขั้นตอนที่นไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Leber 2003):

1.  สร้างแนวความคิด(Generation of ideas)

2.  การทดสอบของความคิด(Testing of ideas)

3.  การดำเนินการของความคิด(Implementation of ideas)

4.  การประเมินผลของความคิด(Evaluation of ideas)


การตรวจสอบเป็นระยะๆเพื่อตรวจสอบสถานะของบริษัทใช้หลักการของต้นไม้เพื่อจะได้มีการพัฒนาในสภาพแวดล้อม ผลจากนั้นสามารถใช้ในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์นวัตกรรมและกำหนดขอบเขตและจุดมุ่งหมายของโครงการนวัตกรรม
ในทางปฏิบัติสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการแบ่งนวัตกรรม / โครงการ ดังต่อไปนี้

1.  การพัฒนาความคิด(Developing ideas)

2.  การทดสอบความคิด(Testing ideas)

3.  ความคิดตระหนัก(Realizing ideas)

4.  ประโยชน์จากความคิด(Exploiting ideas)


สรุป

ในทุกวันนี้ธุรกิจมีการแข่งขันกับตลาดโลกซึ่งจำเป็นจะต้องใช้หลักการความสำเร็จของธุรกิจเป็นเลิศ (achieving business excellence) โดย ต้องมีความยืดหยุ่น แต่ต้องสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงและปรับตามความต้องการ ของผู้บริโภค การแข่งขันทางตลาดทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็วและความ ก้าวหน้าทางวิชาการมาพร้อมกับการเจริญเติบโตที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นความสนใจของผู้ผลิต นอกจากนี้เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มักจะขาดความร่วมมือในเรื่องเทคนิคและพื้นที่ทางการตลาด เเม้ว่าผลิตภัณฑ์จะถูกจัดเตรียมและแยกไว้ แต่การผลิตอาจจะล้มเหลวเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง เวลาในการจัดส่งนานเกินไปและการสั่งจองที่นานเกินไป

http://www.fm-kp.si/zalozba/ISBN/961-6486-71-3/253-260.pdf




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต๋อง
เขียนเมื่อ

การนำเทคโนโลยีทางด้าน KM (knowledge management) เข้ามีส่วนร่วมในการทำงานขององค์กรที่ข้าพเจ้าได้ทำงานอยู่ทางด้านไอซีทีคือได้นำเอา KM เข้ามาใช้งานทางด้านการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบและการใช้งานที่ได้มากขึ้นในการใช้ข้อมูลด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านพนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดระบบทางด้าน KM

กระบวน การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ภายในองค์กร
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท