อนุทินล่าสุด


วันเฉลิม นะน่าน
เขียนเมื่อ

คุณสมบัติของครูที่ดี

      คุณสมบัติของครูที่ดี ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ รวบรวมโดย วันเฉลิม นะน่าน. (2563) จากงานวิจัยและการอ่านจากตำราต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนในปัจจุบัน และอนาคต เนื่องจาก วันเฉลิม นะน่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของครูที่ดีที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนที่ดีด้วยเช่นกัน และสนองต่อพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่กล่าวว่า ครูที่ดีจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติบ้านเมืองสืบต่อไป วันเฉลิม นะน่าน จึงได้เสนอประเด็นของครูที่ดีมีคุณสมบัติดังนี้        จอห์น โรเจอร์ (๋John Rogers) ได้สอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของเขาที่มหาวิทยาลัยการ์์ต้า ประเทศการ์ต้า โดยให้เขียนเรียงความที่สะท้อนความคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีและไม่ดีของครู พบว่า นักศึกษาของเขาส่วนใหญ่ให้น้ำหนักครูที่ดีไปที่ ความสามารถของครูในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน และต้องการให้ครูนั้นเป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และชี้นำแนวทาง มากกว่า การเรียนรู้ที่ถูกกดขี่บังคับ หรือ มีการจัดการเรียนการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง  เช่นเดียวกันกับ ไว-ไว เชน (Wei-Wei Shen) ที่ถามนักศึกษาของเขาจำนวน 51 คน ที่มหาวิทยาลัยในเมืองไต้หวัน ประเทศจีน กับคำถามเช่นเดียวกันว่า “ครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร? ครูที่ดีที่ถูกกล่าวถึงนั้น คือ ครูที่มีความอดทน

อ่านต่อคลิกที่นี่

https://www.gotoknow.org/posts/680720



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วันเฉลิม นะน่าน
เขียนเมื่อ

VPL-PA Model หรือรูปแบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขั้นตอน

VPL-PA Model หรือรูปแบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขั้นตอนนี้ ได้พัฒนาโดย วันเฉลิม นะน่าน จากการบูรณาการแนวคิดรูปแบบการสอนฟัง 3 ขั้นตอน (Pre-While-Post Listening) กับ แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน (Task-based learning) การฟังเป็นทักษะทางภาษาทักษะแรกที่เป็นไปตามธรรมชาติของภาษา กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดมาทักษะแรกที่มนุษย์นั้นได้พบเจอ คือ ทักษะการฟัง เมื่อมนุษย์ฟังได้แล้วนั้น ทำให้มนุษย์เริ่มมีการสื่อสารหรือความต้องการจะส่งสารไปยังผู้อื่นโดยปรากฏออกมาทางการพูด เช่น การแสดงความคิดเห็นหรือความต้องการนั้น ๆ ดังนั้นทักษะการฟังจึงเป็นด่านแรกที่มนุษย์ต้องมีความเข้าใจ และรับรู้ได้ ฉะนั้นเมื่อพิจารณาตามธรรมชาติของภาษาอย่างแท้จริง จะพบว่า มีการเรียงลำดับธรรมชาติทาง จากการฟัง ไปสู่การพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ นอกจากนี้การฟังยังถูกนิยามโดย Demirel (2003) ว่าเป็นทักษะของความเข้าใจสารของผู้พูด และเป็นกระบวนการทางจิตวิทยา โดย Engin and Birol (2000) ที่ต้องคำนึงและตั้งใจฟังในระดับของเสียงและจินตภาพของผู้พูดที่สื่อสารออกมา การฟังเป็นกระบวนการเชิงรุก หรือ Active Process ที่ใช้ในการสื่อสาร ประกอบด้วย การรับและการแปลผลของข้อความจากผู้พูด

อ่านต่อคลิกที่นี่ https://www.gotoknow.org/dashboard/home#!/posts/680624



ความเห็น (3)

ไปอ่านในบันทึก แต่ไม่มีครับ

@อาจารย์ต้น ลองคลิกลิ้งค์นี้นะครับhttps://www.gotoknow.org/posts/680624

ปล. ผมเพิ่งเข้ามาใช้เพจนี ยังมือใหม่ครับผม 555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท