คุณสมบัติของครูที่ดี


คุณสมบัติของครูที่ดี

          คุณสมบัติของครูที่ดี ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ รวบรวมโดย วันเฉลิม นะน่าน. (2563) จากงานวิจัยและการอ่านจากตำราต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนในปัจจุบัน และอนาคต เนื่องจาก วันเฉลิม นะน่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของครูที่ดีที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนที่ดีด้วยเช่นกัน และสนองต่อพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่กล่าวว่า ครูที่ดีจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติบ้านเมืองสืบต่อไป วันเฉลิม นะน่าน จึงได้เสนอประเด็นของครูที่ดีมีคุณสมบัติดังนี้  

          จอห์น โรเจอร์ (๋John Rogers) ได้สอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของเขาที่มหาวิทยาลัยการ์์ต้า ประเทศการ์ต้า โดยให้เขียนเรียงความที่สะท้อนความคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีและไม่ดีของครู พบว่า นักศึกษาของเขาส่วนใหญ่ให้น้ำหนักครูที่ดีไปที่ ความสามารถของครูในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน และต้องการให้ครูนั้นเป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และชี้นำแนวทาง มากกว่า การเรียนรู้ที่ถูกกดขี่บังคับ หรือ มีการจัดการเรียนการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง  เช่นเดียวกันกับ ไว-ไว เชน (Wei-Wei Shen) ที่ถามนักศึกษาของเขาจำนวน 51 คน ที่มหาวิทยาลัยในเมืองไต้หวัน ประเทศจีน กับคำถามเช่นเดียวกันว่า “ครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร? ครูที่ดีที่ถูกกล่าวถึงนั้น คือ ครูที่มีความอดทน

          แซนดี้ ทอมพ์ซัน (Sandee Thompson) ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของครูถามไปยังนักศึกษาของเขาว่า “อะไรที่ทำให้ครูมีคุณสมบัติที่ดี” เพื่อรวบรวมข้อมูล พบว่า ครูที่ดีนั้นจะต้องมีองค์ประกอบหลายประการรวมกัน คือ ครูที่ดีนั้นต้องสร้างและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูที่ดีนั้นต้องมีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของตนเอง ครูที่ดีนั้นต้องมีทักษะการจัดการชั้นเรียนที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คุณค่าและน้ำหนักสำหรับครูที่ดีนั้น ครูที่ดีต้องเอาใจใส่ผู้เรียน กระตือรือร้น อดทน มีการวางแผนที่ดี และน่าเคารพนับถือ

          นอกเหนือจากข้างต้นที่กล่าวมา ยังมีนักการศึกษาและนักจิตวิทยาที่ให้นิยามคำว่า “ครูที่ดีมีลักษณะอย่างไร” ไว้มากมาย ครูที่ดีนั้นต้องมีความชำนาญในการสอน ถ้าเมื่อไรครูไม่มีความชำนาญในด้านการสอน จะส่งผลให้การจัดกระบวนการเรียนสอนในชั้นเรียนเป็นไปอย่างลำบาก และความโชคร้ายยิ่งกว่านั้น คือ พัฒนาการของนักเรียนจะไม่เกิดขึ้น ครูต้องรักและศรัทธาในการสอนและอาชีพของตนเอง ถ้าครูไม่รักและศรัทธาในการสอน จะทำให้ครูไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ หรือ กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความรักในการเรียนได้ เมื่อครูไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรักในการเรียนได้แล้วนั้น จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์หรือผลพัฒนาการของผู้เรียน โดยครูที่ดีนั้นควรจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ยืดหยุ่น ยุติธรรม เอาใจใส่ผู้เรียนทุกคนเท่ากัน และแสดงออกถึงการเคารพผู้เรียนด้วยเช่นกัน 

          ครูที่ดีนั้นไม่เพียงแต่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติที่กล่าวมาเท่านั้น แต่ครูที่ดีนั้นจะต้องมีการวางแผนการใช้บทเรียนหรือการสอนที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ กระตุ้นนักเรียนให้ได้ถามคำถาม ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดโดยปราศจากการตำหนิในทางลบของครู การจัดการเรียนการสอนของครูที่ดีนั้นต้องสนุกและมีหลักการในการสอน ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน 

          ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มันไม่ง่ายเลยที่จะปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน เพราะอาจจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ครูไม่สามารถปฏิบัติได้ แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติได้ไม่ทั้งหมดนั้น ไม่ได้หมายถึงว่า ครูไม่ใช่ครูไม่ดี แต่ลักษณะหรือคุณสมบัติของครูที่ดีที่กล่าวไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนของครูมีความสุขในระยะเวลาที่พวกเขาได้รับการศึกษา หนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ครูที่มีประสิทธภาพทำบ่อยๆ คือ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล และสายสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และ ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง 

หมายเลขบันทึก: 680720เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2020 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2020 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท