PCU Corner : สิ่งที่นำเสนอ สปสช. 1 ..... เราคิดอะไรเมื่อเริ่มต้น ที่อยากจะเอาใจใส่ และ สนับสนุน งาน primary care ใน PCU


เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550  สปสช. มาเยี่ยมเยียน CMU ห้วยขะยุง ที่เป็น CMU tract A  เพื่อติดตามความก้าวหน้า การทำงาน PCU ที่มีแพทย์มีส่วนร่วม ว่า 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง

ผมนำเสนอให้ สปสช. ฟัง เกี่ยวกับ  ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อ PCU ได้รับการเอาใจใส่  และได้รับการสนับสนุนให้ทำงาน primary care อย่างจริงจัง ( ชอบประโยคนี้ จริง ๆ  ฮะ เพราะมัน ฟังดูดีกว่าการพัฒนา pcu เฉย ๆ ฮะ  ตอนหลังจะเล่าให้ฟังว่าทำไม  )    

การนำเสนอ การทำงานเกี่ยวกับสุขทุกข์ของคน และการพัฒนาระบบบริการ ตามที่ผมรู้สึกชอบ ( รู้สึกจะเอาแต่ใจตัวเองไปหน่อย ไม่ได้ present ที่เขากำหนดให้ present เล้ย )  น่าจะ เสนอ สิ่งที่วัดได้เป็นตัวเลข สถิติ ร่วมกับ  สิ่งที่สัมผัสได้เสมอ 

 

เพราะตัวเลขที่วัดได้ จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเป็นอย่างดี แต่ สิ่งที่สัมผัสได้ เป็นคุณค่าของงาน

ส่วนที่ สัมผัสได้เป็นคุณค่าของงาน ผม เอา บันทึกที่ผมบันทึกไว้ใน blog  การแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ใน G2K นี่แหละครับ ทำเป็น slide present และรวมบันทึกทั้งหมด write เป็น cd ให้สปสช. ไปอ่านต่อ 

 ( อันนี้ต้องสารภาพตามตรง เลยครับ  วันแรกที่เข้ามาใน G2K วัตถุประสงค์ ในการบันทึกของผม ต้องการเอามาใช้ประโยชน์เรื่องนี้โดยเฉพาะ  เลยครับ แต่ผลที่ตามมากลับ มีค่ามหาศาลกับตัวผม ต้องขอบคุณ  G2K จิง ๆ )

****  ผมเคยเสนอ คุณเภสัชเอนก  ร.พ. ธาตุพนม ( click ที่นี่ครับ )  ให้บันทึกเรื่องราว ระหว่างทำงาน ไว้ใน BLog บ่อย ๆ วันข้างหน้าเราจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์.ในงานของเราได้แน่นอนครับ  ( อันนี้ tacit knowledge นะครับ  อยากให้เอาบันทึกไปใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุดครับ ทำให้เวลาเขียน ( เอ้อ! จริง ๆ แล้วมันพิมพ์นี่นา ทำไมเราถึงเรียกว่าเขียนบันทึกได้นะ )  เราจะจินตนาการ เหมือนกำลังเล่าเรื่องให้ สปสช ฟัง อยู่ตรงหน้า เลยทีเดียว  อะเย้ย ! )   

     *****


แรงจูงใจสำคัญ

สิ่งที่ผมเล่าให้ สปสช.ฟัง    คือ  ผมได้สัมผัสการพัฒนา PCU 2 ช่วง ช่วงแรก ปี 2538-39  มีโครงการวิจัย หารูปแบบการพัฒนา สถานีอนามัย เพื่อเอาผู้ป่วยเบาหวานไปรับบริการที่ สถานีอนามัย  โดย อ.วารินชำราบ เป็น อำเภอนำร่อง ( ชื่อไม่ค่อยดีเลยครับ  เพราะตอนหลังแทนที่มันจะนำร่อง มันกลับตกร่อง ไปเสียนี่  )   เป็นโครงการวิจัยของจังหวัดอุบลราชธานี  มี มาตรฐาน เท่าที่จะทำได้ ในช่วงนั้น  ทั้งผม และสถานีอนามัย ก็รู้แต่ว่าจังหวัดให้ทำก็ทำ 

อยู่มา 2 ปี ไม่มีการพูดถึงอีกเลยครับ เพราะโครงการกำหนด 2 ปี มีlสรุปผลวิจัยก็เสร็จแล้ว   โครงการเร่งรัด ตามนโยบาย มากมาย   สถานีอนามัยก็ต้องไปทำตามนโยบายอื่น ๆ    ผมก็เลยต้องให้คนไข้กลับมารักษาที่ ร.พ.ตามเดิมครับ อพยพกันไป อพยพกันมา สิ่งที่ทำก็สนใจเพียงส่งคนไข้ไปรับยาที่ อนามัย ไม่ได้มีการดูแลที่ดีพอเลยครับ บางคนไตเสียหายไป,มาก แล้วยังได้ยากิน metformin chlorpropamide อยู่เลย

รู้สึกไม่ดีเลยครับช่วงนั้น รู้สึกเหมือนคนไข้เป็นเพียง  ผู้ถูกทดลองทำดูแล้วก็ถูกทิ้งไป เฉย ๆ  ในใจก็คิด อยากชดเชยสิ่งที่ทำเอาไว้กับคนไข้ของเรา  ฮือ ๆ  

 

ระหว่างนั้น ผมเริ่มสัมผัสคนไข้และญาติมากขึ้น เริ่มเห็นอะไรบางอย่างเป็นอย่างเนี้ยครับ

ลุง ป้า ที่เห็น ต้องมารับยาเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ทุกเดือน หรือ 2 เดือน  เพื่อ เจอหมอ ตั้ง 3- 5 นาที

ป้า 2 คนนี่ ต้องฉีด insulin ( ภาพ ณ. ใต้ถุน pcu หนองกินเพล )

ผมถามนักศึกษาพยาบาลที่มาฝึกงาน ที่ pcu  ว่าเห็นอย่างนี้แล้วคิดอย่างไร ? บางคนบอกว่า สงสาร      ผมบอกใช่ แต่ในฐานะของเรา ต้องทำได้มากกว่า สงสาร  เราต้องคิดต่อว่า แล้ว คนไข้เรา เขาจะอยู่ จะมาอย่างไร จะกินยา จะฉีดยา จะรักษาตัวเองอย่างไร ญาติ ๆเขาจะทำอย่างไร  ?

นักศึกษาก็บอก น่านนะซี   

แค่เริ่มต้นด้วยคิดว่า เขาจะอยู่ จะกิน จะไป จะมา อย่างไร ก็มีเรื่องราวอีกมากมายที่จะเกิดต่อมา 

ออกจาก OPD รพ.ไป จะเป็นอย่างไร ? 

ได้แต้ wait and see ( ตามภาษาคนเล่นหุ้น ถ้ายังไม่มีโอกาส ก็แล้วไป แต่ถ้าเห็นโอกาสเมื่อไหร่ ไม่พลาด )

ปี 2544 มีโครงการปรับเปลี่ยน จากสถานีอนามัย เป็น PCU ผมอ่านเรื่องราว บริบทการทำงาน ของ PCU แล้ว ใช่เลย

  ( YES ! ) นี่คือโอกาสของ คนไข้ของผมแล้ว

ปี่ 2544 - 2545 ผมเริ่มสัมผัสกับ pcu อีกครั้ง

เริ่มจัดบริการ คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ที่ PCU ใหม่ 6 แห่ง คราวนี้ผมไม่สนใจใช้คำว่า  โครงการอีกเลย  ผมให้ความสำคัญกับ คำว่า ระบบบริการ มากกว่า  ไม่ของบประมาณ  ไม่เขียนว่าจะทำกี่ปี   เอาใจใส่ และอดทน ต่อการจัดระบบบริการ มากขึ้น   มีคุณค่าและจุดมุ่งหมายในใจ ที่ชัดเจนว่าเราทำไปทำไม  ต่างกับคราวก่อนโดยสิ้นเชิง !  ทำมาถึงวันนี้   เกือบ 6 ปีแล้ว จาก 6 แห่ง เป็น 27 แห่ง ค่อย ๆ ต่อค่อย ๆ เติม  ไม่จำกัดด้วยห้วงของเวลา และเงิน รวมทั้ง นโยบายเฉพาะกิจต่าง ๆ

ตอนต่อไป ๆ  จะเล่าว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง  เมื่อเราเอาใจใส่ และเห็น ถึงคุณค่า ในงาน PCU  นอกเหนือจาก ที่เคยเล่าไว้ใน บันทึกที่ผ่านมา

วันนี้เริ่มง่วงแล้วง่ะ       


สิ่งที่เราได้เรียนรู้

1. งานบริการสุขภาพ เป็นงานที่ต่อเนื่อง ต้องค่อย ๆ ต่อ ค่อย ๆ เติม  งานของเราคือ พัฒนาระบบริการ  ไม่ควรจำกัดด้วยห้วงของเวลา และ เงิน   เป็นโครงการ ครั้ง ๆ ไป 

แต่ควรเป็นการพัฒนาระบบบริการ ที่ทำต่อเนื่องให้ดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ  วันนี้ คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ ร.พ.วาริน ทำต่อเนื่องมา 12 ปีแล้ว ดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ คง  ค่อย ๆ ต่อเติมไปอีกเรื่อย ๆ   

 งานที่ pcu ก็ 6 ปี มาแล้ว ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ  แล้วก็คงทำให้ดีไปอีก ผมไม่เคยเห็นใครเขียนโครงการ 12 ปี หรือ โครงการ 6 ปี มาก่อนเลย ผมเชื่อว่าถ้างานพื้นฐานดี เราจะต่อเติมอย่างไรในวันข้างหน้าก็ได้

2. จุดมุ่งหมายในใจ รู้ว่าเรากำลังทำอะไร จะไปที่ไหน ที่สำคัญมันมีคุณค่าเพียงพอหรือไม่ เป็นตัวกำหนดความสำเร็จตัวแรก ของงาน

  ช่วงที่ผมทำงาน ปี 2538-39  ทำงานตามที่เขาบอกให้ทำครับ  คุณค่าที่มองเห็นน้อย มาก  ไม่มีจุดมุ่งหมายในใจ  ไม่รู้ว่าคนไข้จะได้อะไร ไม่รู้ว่าคนทำจะได้อะไร ( ก็เขาบอกว่ามันเป็น วิจัยนำร่อง มีความสำคัญแค่ 1-2 ปี )  เรามองที่ผลการวิจัย แต่เราไม่ได้มองถึง คนไข้กับญาติเลย ( ใช้คำว่าเรา ก็เพราะ ผมคือ คนหนึ่งที่ร่วมทำโครงการนี้ ) เมื่อผลการวิจัยออกมา สรุปได้ก็จบ  เป็นบทเรียน ที่ทำให้ผมเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง โครงการ กับ การจัดระบบบริการสุขภาพ ตอนนี้ใครเขียนโครงการเกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยมาหาผม  ผมจะถามว่า คิดว่าจะทำเรื่องนี้ไปสักกี่ปี !

3. pcu สมควรได้รับการสนับสนุน และเอาใจใส่ ให้ทำงาน primary  care อย่างจริงจัง  ( แสดงว่าทุกวันนี้ ยังไม่ได้รับการสนับสนุน ให้ทำงานหลัก ที่ PCU สมควรทำ ผมมีหลักฐานจะเล่าให้ฟังในตอน ต่อ ๆ ไปครับ )

หมายเลขบันทึก: 99900เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2007 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะคุณหมอจิ้น

ที่คุณหมอมองว่า PCU เป็นระบบ ไม่ใช่โครงการระยะสั้น นั้นดิฉันเห็นด้วยเลยค่ะ ความคิดแบบนี้ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่เปลี่ยนแนวความคิดนิดเดียว กลับส่งผลกระทบที่มีคุณค่ามากโดยเฉพาะกับคนไข้

ดิฉันดูรูปคุณป้า 2 คนที่มารอรับ insulin แล้ว ดูมีความสุขมากเลยค่ะ น่าจะเป็นผลที่เกิดจาก "care" ของแพทย์และพยาบาลนะคะ คำว่า care นี้ไม่ได้รักษาแต่กาย แต่รักษาใจด้วย ดีจังค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอจิ้น

ผมชอบใจจังและชื่นชมที่คุณหมอที่พัฒนาระบบบริการแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ต้องรอเงินสนับสนุนจากโครงการฯ   น่าดีใจแทนชาวบ้านนะครับ

 คนสมัยนี้ไม่ทำงาน(ใส่เกียร์ว่าง)แล้วชอบอ้างว่ากำลังรอเงินจากโครงการ หรือไม่ก็โครงการไม่ได้รับการอนุมัติ

อีกคำที่ชอบคือ"เราน่าจะทำอะไรได้ดีกว่าสงสาร" เพราะผมรู้สึกเป็น"การสงสารแล้วไม่ทำอะไร"เป็นการกระทำที่ง่ายเกินไป  เหมือนกับม็อบต่างๆที่สวมเสื้อเหลือง"เรารักในหลวง"  แต่ออกมาทำให้บ้านเมืองวุ่นวายอยู่ในขณะนี้

ผมอ่านเรื่องเล่าของคุณหมอจิ้น แล้วมีความสุขทุกครั้งครับ มันแฝงด้วยมุมมองของคนที่ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งผลมาจากการใช้ใจดูแลผู้ป่วย

ขอบคุณครับ

P
อ.กมลวัลย์ ครับ ก็ คุณป้าพวกนี้แหละครับ  ที่ทำให้เราต้องมาคิดต่อ ว่าจะ care เขาอย่างไรดี ผมนึกไม่ค่อยออกเลยว่าครับ  คุณป้า 2 คนนี่เวลาอยู่ที่บ้าน เขาจะฉีดยากันอย่างไร  จนกว่าเราจะได้ไปรู้จักแกจริง ๆ   แต่ทุกเรื่องเป็นเรื่องสนุกครับ
P
สวัสดีครับ อาจารย์ศิริรศักดิ์   คงเป็นเพราะบทเรียนที่เราเคยพลาดมาแล้ว  ในบางเรื่องครับ ทำให้เราคิดบางอย่างได้  มาถึงวันนี้ที่ออกไปทำงาน ไม่เคยเขียนโครงการ เพื่อขอเงินเลยครับ ออกไปจัดระบบบริการตามที่ควรจะเป็น เลย  เพราะมันก็คือสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้ว  ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมครับ
P
ผมก็ว่า เภสัชเอนกมีพลัง มีไฟในการทำงาน ยังไปเล่าเรื่องของ คุณเอนก ให้ เภสัชที่ ร.พ.ฟังเลย
ชื่นชมอาจารย์ที่มีความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนางาน primary care ผมคิดว่าอาจารย์จะเป็นแบบอย่างให้กับน้องๆได้เดินตามทางที่อาจารย์ได้นำมาแล้วครับ

-ขอปรบมือดังๆให้ อาจารย์หมอจิ้นค่ะ

ยอดเยี่ยมทุกบล็อก อาจารย์ ตั้งใจ เขียน และเขียนสื่อดีมาก

อาจารย์ มีพรสวรรค์ทางจูงใจคนอ่านจริงเลยค่ะ

P
โรจน์
เมื่อ ส

ก็เหมือน ชื่อ blog ของโรจน์นั่นแหละครับ รัก primary care

P
พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล
เมื่อ อา. 03 มิ.ย. 2550 @ 19

ได้ยินเสียงปรบมือ มาถึงอุบลเลยครับ ขอบคุณครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท