แนวคิดและประสบการณ์ของนักวิจัยระดับโลก ศ.นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์


อยากทำวิจัย ที่ได้ใช้ประโยชน์

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม  ทางหน่วยส่งเสริมวิจัยของคณะฯ ได้รับเกียรติจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยของศิริราช  มาเล่าประสบการณ์ในการทำวิจัยของอาจารย์ให้พวกเราฟัง 

อาจารย์ปรีดา ได้รับรางวัลผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่นประจำปี 2548 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ในหัวข้อวิจัยเรื่อง “โครงข่ายวิจัยเพื่อความเป็นเลิศของไวรัสไข้เลือดออก และพันธุศาสตร์จีโนมิกส์ ของโรคที่พบบ่อยในประเทศ

ผลงานของชุดโครงการดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากมาย และ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ Nature Medicine ซึ่งเป็นวารสารที่มี impact factor สูงมาก  ผลงานที่ค้นพบของคณะผู้วิจัยชุดนี้ เป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้คณะวิจัยกำลังพัฒนาชุดทดสอบที่สามารถนำไปใช้วินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยต่อไป

จึงนับเป็นโอกาสที่ดียิ่ง ที่พวกเราชาวคณะแพทย์ มอ. ได้รับฟังประสบการณ์ของอาจารย์ โดยเฉพาะแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้………

ที่มาทำงานชิ้นนี้ ความคิดก็คือ อยากทำวิจัยอะไร ที่ได้ใช้ประโยชน์
เวลาที่เราดูคนไข้  เราสามารถนำข้อมูลของคนไข้ มาสร้างประโยชน์ได้มาก
ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลจากคนไข้ให้ดีที่สุด
ผมมีความเชื่อว่า ไม่ว่า จะทำวิจัยหรือไม่  แต่หากคุณเป็นหมอที่ดี  คุณต้องเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ  นั้นเป็นฐานวิจัยที่ดี
ที่ต้องทำ คือ เก็บข้อมูล (จากคนไข้) ที่เป็นระบบ
แต่ก็ต้องมีทีมงานที่ดี

จึงเกิด Dengue Clinical Database
กรอบแนวคิดก็คือ   Good database ,  Good cohort,  Good specimen
มีคำถามว่า ขอทำ database ก่อนแล้วค่อยทำวิจัยได้หรือไม่
ตอบว่า ไม่ได้  ต้องสร่าง key question ก่อน (ขอเตือน)
เพราะ database และ specimen ราคาแพงมาก
โดยเฉพาะ การ maintenance ตู้เย็น -70๐ C  แพงมากๆ

เพราะฉะนั้น ระบบบริหารจัดการที่เป็น infrastructure สำคัญมาก  คนที่เคยทำวิจัยร่วมกับบริษัทยานั้น อาจรู้สึกดูเหมือนง่ายมาก  แต่ลึกๆ แล้ว พวกเขาสร้างระบบที่อยู่เบื้องหลังมากมาย  แต่เสียดาย พวกเราไม่ได้เรียนรู้ 

อีกตัวอย่างที่แสดงว่า ระบบบริหารจัดการที่อยู่เบื้องหลังสำคัญมาก ก็ที่เรามักจะพบว่า อาจารย์ที่ได้ไปเรียนเมืองนอก มีผลงานตีพิมพ์ออกมาได้ง่ายๆ  แต่พอกลับเมืองไทย ทำอย่างไรไม่ทราบ ก็ไม่มีผลงานไปเลย

อีกอย่างที่สำคัญของการทำงานวิจัย คือ เพื่อน
เราไม่ได้เก่งไปหมด
ความคิดผม คิดว่าไม่จำต้องทำให้แพทย์ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ (หมายถึงที่ทำแล็บในงานวิจัยพื้นฐานได้) เสมอไป
งานวิจัยชุดไข้เลือดออก ก็ใช้เครือข่าย ในการสร้างงาน
ตั้งแต่การเก็บข้อมูลผู้ป่วยและตัวอย่างเลือด ก็ได้โรงพยาบาลขอนแก่นและสงขลาเป็นเครือข่าย  ในส่วนการพัฒาในห้องปฏิบัติการ ก็ได้เครือข่ายจากต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (Oxford University) ในประเทศอังกฤษ, Pasteur Institute ในฝรั่งเศส, มหาวิทยาลัยไมส์ (Mainz University) ในเยอรมนี เป็นต้น

เครือข่ายที่เกิด เกิดจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยาย 
ประเด็นสำคัญของเครือข่ายคือต้องเป็น win-win  ซึ่งตรงนี้ ต้องพูดคุย รวมไปถึงการต่อรอง 

สุดท้ายที่อยากจะฝาก…..
หาเพื่อนเถอะ
“ในโลกนี้ มีคนที่จะแก้ปัญหาของคุณได้
โลกใบนี้เล็กนิดเดียว
ค่าเครื่องบินก็ถูกกว่า เครื่องมือราคาแพงๆ มาก
พยายามปรับปรุงตนเอง
ให้เวลามากๆ ในการตกผลึกคำถาม
หากัลยาณมิตร ที่จะช่วย อย่าคิดคนเดียว
หาเวลามานั่งคุยกัน
คิดไปให้ไกล และ ให้ใหญ่กว่าตัวเรา
จะเอาพระมาเทศน์ก็ไม่สำเร็จ
ต้องช่วยเหลือตัวเอง เริ่มที่ตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 99879เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2007 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบพระคุณอาจารย์ที่นำเรื่องดีๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้ มาบอกเล่าต่อนะคะ พวกเราหลายๆคนอยากไปฟังแต่ภาระงานมากเหลือเกินค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท