เป็น "ทันตแพทย์" แล้ว ต้องเป็น "บัณฑิต" ด้วย (ตอนที่ ๒)


ในฐานะบัณฑิต เราต้องเป็น “ที่พึ่งทางปัญญา” ให้กับชุมชน และสังคมที่เรารับผิดชอบอยู่

ในฐานะทันตแพทย์ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ สำหรับการจัดการโรคในช่องปากและขากรรไกร ทั้งการรักษาโรค, ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพในช่องปาก 

แต่เรายังมีศักดิ์ฐานะอีกประการ คือ การเป็นบัณฑิต 

ในฐานะบัณฑิต เราต้องเป็นที่พึ่งทางปัญญาให้กับชุมชน และสังคมที่เรารับผิดชอบอยู่ 

เป็นหนึ่งในสมองของชุมชน  

ในสังคมชนบทโบราณพระ, ครู และหมอเป็นสมองหลัก ของชุมชน  สังคมปัจจุบันปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำตามธรรมชาติเป็นสมอง ของชุมชน และยังมีที่ว่างอีกมากมายสำหรับสมองของบัณฑิต 

ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์รุ่นพี่ รุ่นพ่อ ทันตแพทย์หลายท่านซึ่งเป็นที่พึ่งทางปัญญาของชุมชน และสังคม ที่ท่านเหล่านั้นสังกัดอยู่ 

ทุกท่านเห็นตรงกันว่า ความสามารถที่จะจัดการปัญหาในคลินิกทันตกรรมได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย เป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการก้าวไปสู่ขั้นถัดไป คือ การพัฒนาตัวเองด้านปัญญาและการเปิดตัวเองออกสู่โลกกว้าง 

ทันตแพทย์หลายท่านทำหน้าที่เป็นกระบวนกรผู้ขับเคลื่อนกลุ่มทำงานเชิงประเด็นสุขภาพต่างๆ เช่นเรื่องการออกกำลังกาย การอดบุหรี่ หลายท่านช่วยสังคมด้วยการเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย และผู้ชี้นำด้านสุขภาพ  หรือแม้แต่การเป็นผู้ที่เห็นและเข้าใจโลกอย่างรู้เท่าทัน สามารถเป็นที่พึ่งพา เป็นคนที่ช่วยคิด ให้กับองค์กร หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งชาวบ้าน 

การเป็นที่พึ่งทางปัญญาน่าจะเป็นคำตอบของคำถามว่า ทันตแพทย์ทำอะไรได้อีก นอกจากทำฟันครับ 

ตอนที่สามจะลองเสนอว่า ขั้นตอนการพัฒนาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตไปสู่การเป็นที่พึ่งทางปัญญาของชุมชนและสังคม มีอะไรบ้างนะครับ   

 

หมายเลขบันทึก: 97565เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท