คุณรู้ไหม ใครชอบเดาคนนั้นเก่ง (งง)


การเดาคือทักษะที่ถูกลืมและมองในแง่ลบ

เพลงคุณโต๋ ศักดิ์สิทธิ์  เพลง...

ฟังเพลง คลิก   รอหน่อยนะครับ 

อ่านปากของฉันนะ ว่า ... อยากจะพูดอีกครั้ง ว่า ...
และจะเป็นอย่างนี้กับเธอ ไม่ว่านานสักเท่าไหร่
ไม่ต้องกลัวว่าฉันจะรักใคร ไม่ต้องห่วงว่าฉันเปลี่ยนหัวใจ
ฉันจะเป็นอย่างนี้ จะ ... ตลอดไป

ครู:เอาล่ะ  หลังจากที่นักเรียน ฟังเพลงแล้วนักเรียนรู้ไหมว่า      “...” คืออะไร

นักเรียน : รักเธอ  ครับครู

ครู: เธอรู้ได้ไง เขาไม่เห็นพูดว่า รักเธอ เลย

นักเรียน:  ไม่รู้ครับ   ผมรู้เอง

ครู : ไม่หรอก เธอกำลังใช้ทักษะชั้นสูงนะ

นักเรียน :อะไร ครับ

ครู :ก็ เดาไง หรือเรียกให้ดีหน่อย คือการทราบจากบริบท

ตอนเด็กๆ คงเคยได้ยิน คำเสียดสี verb to be นั้นคือ verb to เดา พร้อมกับการประณามว่าถ้าใครใช้ verb นี้ ในการสอบเพื่อนๆจะว่า ไม่ฉลาด  อ่อน (ปัญญา)  พอเรียนขึ้นมาสูงๆ คำนี้มันก็ ถูกขัดสี ให้ดูดี มีระดับ เป็นทักษะ (guessing skills) เชียวนะครับแล้วกลับบอกว่าใครใช้ทักษะนี้เป็นคนฉลาด (อะไรอ่ะ)เดาเก่งก็เปลี่ยนเป็น assume เก่ง พอพูดก็ผมขอตั้งสมมุติฐานว่า (แต่มีหลักการนะไม่ได้มั่ว)  หรือ contexualize เก่ง ภาษาไทยประมาณว่า....ดูจากบริบทแล้ว น่าจะหมายถึง (ดูเดาดีมีเหตุผลเป็นเรื่องเป็นราว) มันก็เดาทั้งนั้นแหละ ทำไมไม่บอกว่าผมขอเดาว่า ง่ายๆ ชัดเจน  ไม่รู้ว่า โลกนี้มันเป็นอะไร บางทีผมก็สับสนมาก เจออย่างนี้ประจำ สิ่งที่เป็นของเลว นั่นแหละของดี สิ่งที่ทุกคนว่ามันยาก บางทีคำตอบมันติงต๊อง ยังไงพิกล อย่างนี้เองท่านว่าแม้แต่ขยะก็ทำให้คนเราเป็นเจ้าของโรงงาน recycle ที่ใช้เทคโนโลยีสูงได้   การเดานี้มันสำคัญมากเลยนะครับ เห็นตอนที่เริ่มจะสื่อสารได้ไหมครับ ฟังไม่ออก ก็เดาไปเดามาทั้งนั้น ถูกๆผิดๆ พูดก็ ยำทั้งคำเก่าคำใหม่ ไวยกรณ์ ใส่เข้าไป จนเรียนรู้หลักการเดาได้ถูกต้องด้วยตัวเอง ศัพท์ยากๆ เราต้องเดา จาก บริบท (มีหลักการหน่อย) การอ่าน ก็ต้องดูประโยคข้างบน บ้าง หรือมีทักษะการเดาให้ เช่น scanning คือหาคำหรือตัวเลขเพื่อเข้าใจเนื้อเรื่อง (text)   การเขียนก็ต้องเดาเหมือนกัน เราเคยให้สำนวนอย่างนี้ ก็ใส่คำใหม่บางตัวเข้าไปน่าจะแปลได้ แม้เราอาจไม่เคยเห็นมันมาก่อน การเรียนภาษา ทุกอย่างก็เหมือนเพลงคุณโต๋   คุณรู้เอง โดยไม่มีใครบอกคุณ แต่คำตอบมันโผล่ขึ้นมาเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าคำตอบนั้นจะถูก มันก็เหมือนเล่นเกมที่ใครเดาได้เร็วกว่าและถูกต้องกว่าคือผู้ชนะ แต่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และบางทีก็มีตัวช่วย(หลักการต่างๆ)เพื่อเข้าถึงคำตอบที่ถูกต้องเพราะเดานี่เดามั่วได้ แต่เดาถูกนี่เป็นของยาก   

 

คำสำคัญ (Tags): #guessing
หมายเลขบันทึก: 97286เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

d(^_~) เขียนได้น่าติดตามและน่าเห็นดีด้วยจริง ๆ

การมั่ว ๆ เดา ๆ มันเกิดก่อนการวิวัฒนาการ การเรียนรู้ของมนุษย์รึเปล่าหนอ?

ภาษาไทยเราก็มีคำแบบที่อะไรเหรอมากมาย เช่น เดา มั่ว สุ่ม (มั่วกับสุ่ม มิใช่ มั่วสุม) กำกวม ไม่รู้ สับสน แฝง คาดเดา สมมติ นั่งเทียน ฯลฯ (ที่ไม่อยากใส่เพราะเดี๋ยวไปกันใหญ่๗
อ่า..คำเดา ๆ ของภาษาไทยก็เยอะเหมือนกันนะเนี่ย

ใครมีประสบการณ์(ข้อมูล+ความรู้) และปัญญา ที่ใช้เดาให้ถูกต้องเร็วกว่า จะเป็นผู้ชนะ ก็เป็นจริงดั่งที่ท่านว่าฉะนั้นแล

อนึ่ง..มากมายในโลกนี้ ที่ไม่อาจคาดเดา

 ตอบ

P
คนข้างฝา
เมื่อ อา. 20

เชื่อไหมครับ เรียนมาแทบตาย สุดท้ายให้เรียนทักษะการเดาความจริง ถ้าอย่างนั้นคงไม่มีวิชา สถิติ การหา regression มันก็เดาหมดนั้นแหละ แต่เป็นการเดาที่ผลลัพธ์มันใช้ได้จริงแฮะ นำข้อมูลไปสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้ แล้วการทำวิจัยก็มีพื้นฐานจากวิชานี้เสียด้วย นึกถึงคำพระท่านสอน ความจริงมันเป็นเช่นนั้นเอง แต่ต้องระวังเพราะคนบนโลกนี้เขารังเกียจ คนเดามั่ว คนไม่มีเหตุผล  แต่อยากให้อย่าลืมว่า การเดานั่นแหละคือรากฐานการเรียนรู้อันดับแรกๆของมนุษย์

สวัสดีค่ะ

  • "ดูจากบริบทแล้ว น่าจะหมายถึง"  บอกให้เด็กๆ ใช้บ่อยเลยค่ะ  เพราะเวลาที่เค้าสอบเค้าไม่สามารถเอา Dictionary เข้าไปได้  ครูอย่างเราๆ ก็ต้องฝึกทักษะ (วิทยายุทธ์) กระบวนท่านี้ให้เด็กบ้างล่ะค่ะ  เพื่อผลประโยชน์ของเค้า  
  • แต่ก็อย่างว่าล่ะค่ะ  มันก็คือการเดา  แต่เราก็ควนจะเดาให้เข้าเค้ามากที่สุดก็ดีที่สุดสำหรับการเดาไม่ใช่หรือคะ 

 

สวัสดีครับ  อาจารย์ไม่ค่อยเขียน blog เลย 

 

P
Lioness_ann
เมื่อ อา. 20 พฤษภาคม

นั้นนะสิครับ แต่อย่าเผลอบอกว่านี่คือการเดาเดี๋ยวจะกลายเป็นเดามั่ว 5555 ต้องบอกว่าใช้บริบทหาคำตอบ เด็กก็ไม่รู้หรอกว่าเขานั้นแหละกำลัง ใช้ verb to เดาอยู่ ที่จริงอาจารย์น่าจะเรียงลำดับกระบวนท่าด้วยนะครับ จากง่ายไปยาก และให้เด็กแข่งขันกันว่าใครจะแสดงท่าได้เร็วสุดแม่นสุด (ประลองยุทธ) นี่แหละภาษาฝรั่งเรียกการฝึก cognition

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท