กำลังคนทางด้านสุขภาพ(Health Workforce) ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นกว่า 12%ในช่วงปี 1996-2001 แม้แพทย์จะทำงานน้อยชั่วโมงแต่การสนับสนุนกำลังคนในภาพรวมก็ยังคงเพียงพอ โดยในภาพรวมจะเพิ่ม 10.5% กำลังคนด้านพยาบาลไม่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 1999 แต่ลดลงจากปี 1995 (อัตราต่อแสนประชากร) การเพิ่มของพยาบาล 6% เพิ่มเมื่อทศวรรษที่แล้ว อัตราการเพิ่มจำนวนของบุคลากรทางด้านสุขภาพเริ่มลดลงในปี 2001 ปัญหาที่เริ่มเห็นได้ชัดก็คือกำลังคนทางด้านสุขภาพมีอายุมากขึ้น 39% มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะพยาบาลที่มีอายุเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วมีถึง 42% ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปในปี 2001 ในส่วนของแพทย์เกือบครึ่งของแพทย์ทั้งหมด ทำงานอย่างน้อย 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือมากกว่า โดยมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าวิชาชีพด้านสุขภาพสาขาอื่นๆ อัตราการเพิ่มของกำลังคนด้านสุขภาพที่ลดลงโดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และลดลงอย่างมากในพื้นที่ชนบทห่างไกล สภาพที่เกิดขึ้นนี้ทั้งอัตราการเพิ่มจำนวนที่ลดลงและกำลังคนมีอายุมากขึ้นนี้จะกลายเป็นปัญหาในระดับสากล(Global phenomena)
การบริหารระบบริการสุขภาพ(Health services Management) จะเผชิญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพและผู้บริหารได้แก่พลังของแนวคิดใหม่ๆ การปรับตัวของผู้บริโภค การปรับเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี แรงกดดันทางด้านการเงิน ความซับซ้อนของระบบและการปรับตัวต่อระบบที่ซับซ้อน ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงและการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ
เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพของคนในรัฐ จึงต้องมีการร่วมมือกันทั้งรัฐบาลกลาง รัฐและท้องถิ่นเพื่อร่วมกันเป็นเจ้าของและควบคุมคุณภาพบริการ ไม่ให้เงินเป็นตัวปิดขวางการเข้าถึงบริการ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการโดยเฉพาะในชนบทห่างไกล ที่ยังคงมีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่แย่กว่าในเมือง
New Public Management & Global Economy จะมุ่งเน้นที่ตลาด การลดต้นทุน การบริหารผลการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพที่ควบคู่ไปกับประสิทธิผล และกำลังคนทางด้านสุขภาพจะมีความสำคัญในระดับโลกที่ต้องมีระบบที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารระบบสุขภาพ จะมีกรอบแนวคิดที่มองได้ 6 ปัจจัย คือ
- ทฤษฎีการออกแบบการบริหารและองค์การ(Management & Organization Design Theory)
- Systems Theory ทฤษฎีเชิงระบบ
- Professional Subcultures วัฒนธรรมย่อยของการเป็นมืออาชีพ
- Community Dynamics ความเป็นพลวัตของชุมชน
- Public Policy นโยบายสาธารณะ
- Adult Learning Theory ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
กล่าวโดยสรุป
ระบบบริการสุขภาพจะมีความซับซ้อนมากขึ้นพร้อมทั้งมีความท้าทายที่สำคัญจากการเพิ่มความต้องการ
ความคาดหวังและความจำกัดของทรัพยากร
ความซับซ้อนและความท้าทายนี้จะกินขอบเขตกว้างกว่าประเทศ
จะต้องมองในบริบทระหว่างประเทศ
ผู้บริหารระบบบริการสุขภาพจึงต้องพัฒนาความสามารถในการจัดการกับความซับซ้อน
ความเปลี่ยนแปลงขององค์การและเรียนรุ้บริบทระหว่างประเทศ
โดยการพัฒนาเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องมีองค์กรที่เป็นมืออาชีพมาดำเนินการ