KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (316) ตัวช่วย (17) Knowledge Mapping


         แผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เป็นภาพแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้  ได้แก่ กระบวนการ,  แหล่ง,  ขุมความรู้ (assets), การไหลเวียน,  ช่องว่าง,  และตัวปิดกั้นการไหลเวียนความรู้ภายในองค์กรและการไหลเวียนข้ามพรมแดนองค์กร

         ไม่มีวิธีการและรูปแบบมาตรฐานของการทำแผนที่ความรู้   ต้องดำเนินการให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมด้านความรู้ขององค์กร  โดยเน้นที่คน,  ขีดความสามารถ (expertise),  การสื่อสาร,  ความสัมพันธ์,  กระบวนการทางธุรกิจ,  ระบบ,  ผลิตภัณฑ์และเอกสาร

วิธีการรวบรวมสารสนเทศเพื่อทำแผนที่ความรู้ประกอบด้วย
   - การสังเกต
   - การตรวจสอบบริบท
   - การสัมภาษณ์, focus group, การอภิปราย
   - การติดตามกระบวนการ (process tracking)
   - แบบสอบถาม, แบบสำรวจ

         แผนที่ความรู้ช่วยบอกขีดความสามารถ  ความเชื่อมโยงระหว่างคนทั่วทั้งองค์กร  และช่วยบอกช่องว่างของความรู้  เมื่อสภาพเหล่านี้แสดงออกมาเป็นภาพ  เป็นเป้าสายตา  จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้าน การใช้ การแลกเปลี่ยน และการส่งต่อความรู้

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 3 เม.ย.50

หมายเลขบันทึก: 96323เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท