CSR แนวปฏิบัติสู่การสร้างจิตสำนึก


         วันที่ 14 พ.ค.50  มีการประชุมคณะกรรมการกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคมของ SCB   มีการนำโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณาแนวทางดำเนินการต่อ

         จะไม่เล่าสาระทั้งหมด   เล่าเฉพาะการดำเนินการเพื่อผลด้านจิตใจของอาสาสมัครในโครงการนี้ที่เป็นพนักงานของ SCB

         คณะกรรมการฯ มีมติให้จัดการประชุม ลปรร. ระหว่างอาสาสมัครของ SCB และร่วมกันวางแผนการดำเนินการร่วมกัน   เพื่อให้กิจกรรมนี้มีเครือข่ายอาสาสมัครของ SCB ร่วมกันเป็นเจ้าของ

         คณะกรรมการฯ ย้ำเจตนารมณ์ของโครงการ   เพื่อการสร้างจิตอาสา (social volunteer)  มีการปฏิบัติงานอาสาสมัครแล้วเกิดความสุขใจ   ไม่ใช่เข้ามาเป็นอาสาสมัครเพราะอยากดัง (self-glorification)  คณะกรรมการฯ ย้ำว่า กิจกรรมนี้จะต้องไม่สร้างคนฉาบฉวย   แต่มุ่งสร้างคนที่มีความสุขความพอใจจากการได้ทำ community service

         การประชุม ลปรร. ระหว่างอาสาสมัครข้างบนก็เพื่อเล่าเรื่องราวแก่ผู้อื่น  เพื่อสื่อสารเรื่องราวดี ๆ ที่ได้ร่วมกันทำให้แก่สังคมและจะร่วมกันทำให้ดียิ่งขึ้น

         ผมชื่นใจที่คณะกรรมการมีมุมมองที่ลึกซึ้งเช่นนี้   ไม่เน้นที่การสร้างชื่อเสียงแบบฉาบฉวยแก่อาสาสมัครแต่ละคนและแก่ตัว SCB เอง

         ผมมองว่า เป้าหมายอย่างหนึ่งของ CSR คือการสร้างจิตสำนึกด้านอาสาสมัครเพื่อสังคมขึ้นภายในพนักงานขององค์กรเอง   ผ่านการปฏิบัติและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (ร่วมกัน) นั้น

         เป็น CSR เพื่อยกระดับจิตใจคนในองค์กร   ซึ่งจะมีผลต่อการยกระดับจิตใจคนในสังคมวงกว้างด้วย

วิจารณ์  พานิช
 15 พ.ค.50

หมายเลขบันทึก: 96320เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท