การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550


การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
              จากการที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจประชากรสูงอายุมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกดำเนินการสำรวจในปี พ.ศ.2537 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2545 พบว่าในปี  2537 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ประมาณ 4.0 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการวางแผนครอบครัว ทำให้อัตราเกิดลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องขณะที่ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้ประชากรตายช้าลง และจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมาณการว่าในปี พ.ศ. 2553 และ 2563 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 และร้อยละ 15 ตามลำดับ
               ดังนั้นในปี พ.ศ. 2550 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้สำนักงานสถิติจังหวัดในทุกจังหวัดดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับให้รัฐบาลและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนปรับเปลี่ยน แผน รวมทั้งติดตามการประเมินแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ได้จัดทำไปแล้ว หรือกำลังจะจัดทำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับผลกระทบที่จะเกิดจากประชากรในวัยสูงอายุที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
              ขณะที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติจังหวัดชุมพร ออกปฏิบัติงานสำรวจข้อมูล ทำให้ได้ทราบว่า การปฏิบัติงานโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยนั้น วิธีการปฏิบัติงานจะต้องสำรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอน  การทำงานต้องเป็นไปทีละขั้นตอน โดยผู้สูงอายุบางคนไม่ยอมให้ความร่วมมือ  ด้วยเหตุผลที่แบบสำรวจสอบถามเรื่องส่วนตัวละเอียดเกินไป ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากตอบเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาล ผู้สูงอายุบางคนเข้าใจว่าจะต้องเสียภาษีของบุตรหลานในครัวเรือน จึงต้องใช้เวลาในการอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการสำรวจเป็นเวลานาน และถ้าถามถึงรายได้จากทุกแหล่งในการเลี้ยงชีพตนเองหรือครอบครัว โดยเฉลี่ยปีละเท่าใด (ด้วยเหตุผลดังกล่าว)  ผู้สูงอายุจะบอกว่า ไม่เท่าไร ไม่กี่บาท และจะบอกเรื่องหนี้สินแทน จึงได้คำตอบที่ไม่ตรงกับคำถาม ทำให้การสำรวจข้อมูลในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยเจ้าหน้าที่ได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการสำรวจแบบสอบถาม   ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
              1. ข้อมูลลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม ภาวะสุขภาพ สภาพที่อยู่อาศัย และลักษณะการอยู่อาศัย
              2.   ความมั่นคงในการดำเนินชีวิต การมีหลักประกันยามชราภาพ ความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
              3.   ความรู้สึกที่มีต่อบุตรหลาน การเกื้อหนุนและการเยี่ยมเยียน
              4.   ความรู้และการเตรียมตัวก่อนเข้าวัยสูงอายุ การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ
               5.  ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในผู้สูงอายุ
               6.  ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ
ประโยชน์ที่จะได้รับ  
               1. เพื่อให้มีข้อมูลสถิติสำหรับให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการติดตาม ประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564)     
               2. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการรองรับผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะประชากรสูงอายุ

 

คำสำคัญ (Tags): #ผู้สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 96105เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้ว่าประเทศไทย  อินโดนีเซีย   จีน   อังกฤษ        สหรัฐอเมริกา           

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท