AAR – OM Workshop ของ สคส.


เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เหล่าสมาชิกของ สคส.พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.ปรอง , ดร.เลขา และคุณทรงพล ไปรวมตัวกันด้วย 2 วัตถุประสงค์คือเพื่อเรียนรู้เครื่องมือที่เรียกว่า Outcome mapping และประยุกต์ใช้เครื่องมือตัวนี้ในการวางแผนทิศทางการทำงานของ สคส.อีกด้วย


Outcome mapping เป็นเครื่องมือที่ทาง สสส.แนะนำให้ผู้รับทุนของ สสส.ได้ใช้ จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือการวัดผลสำเร็จ ของการทำงานและโครงการต่างๆ โดยพิจารณาที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคีหุ้นส่วนหลักที่ทางคณะทำงาน หรือ โครงการเข้าไปมีส่วนรวมหรือทำงานด้วย โดยหวังว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคีหลักจะไปส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม


ประเด็นหลักและของเครื่องมือตัวนี้อยู่ที่ต้องหา ภาคีหุ้นส่วนหลัก ให้ได้เสียก่อน โดยภาคีหลักนี้ต้องมีคุณสมบัติที่ทางคณะทำงาน หรือ โครงการสามารถเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ส่งเสริม หรือสนับสนุนต่างๆได้ มีภาระรับผิดชอบผูกผันกันอย่างแนบแน่น ทางทีมงานของ สคส.เองในตอนแรกคิดว่า เรามีภาคีหลักชนิดนี้มากมายตลอด 5 ปีในการทำงานที่ผ่านมา

 แต่พอมาถึงขั้นตอนการทำ Workshop ที่ต้องกำหนดภาคีหุ้นส่วนหลักนี้ ตอนแรกเรากำหนดรายชื่อออกมาได้เยอะมาก แต่พอเอาเข้าจริง ปรากฏว่ามีภาคีที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็น ภาคีหุ้นส่วนหลักจริงๆ เรียกว่าน้อยมาก ต้องขอบอกว่าน้อยมาก ชนิดเรียกได้ว่า หนึ่งเดียว จึงมีการตกลงกันสมมติ ภาคีหลักขึ้นมาเป็นแบบเอาภายในกันเอง เพื่อลองทำให้ครบตามขั้นตอนของ Outcome mapping ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาตกลงกันอีกครั้งถึงการกำหนด ภาคีหุ้นส่วนหลักของ สคส.


ทางอ.วิจารณ์เองก็มีบันทึกอกมาแล้วว่า ทาง สคส.คงต้องใช้ Outcome mapping แบบใหม่ที่เป็น Modified Outcome mapping ที่ต้องมีการปรับวิธีการระบุ ภาคีหุ้นส่วน ใหม่


เราจึงได้บทเรียนที่สำคัญหลายข้อจากการทำ Workshop ครั้งนี้
-ทาง สคส.ยังต้องการผู้ร่วมพัฒนา KM ของประเทศไทย ที่จะมาร่วมมือกันอย่างจริงจัง แต่คงต้องมีการคุยรายละเอียดค่อนข้างมากกับทางองค์กรที่จะมาร่วม เพราะทาง สคส.เองผมคิดว่ามีลักษณะและวิธีคิดที่เป็นแบบเฉพาะอย่างยิ่ง (ข้อนี้ผมคิดเอง และยังไม่ได้คุยกับใครใน สคส.เลย อาจจะผิดก็ได้นะครับ)


-การทำงานหากเราไม่ลงมือทำ ก็ไม่รู้ ข้อนี้ได้มาจากทาง สคส.เองมีสมาชิกส่วนหนึ่งได้ไปสัมมนาและอบรมเรื่อง Outcome mapping มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เป็นการอบรมในลักษณะที่ไม่ได้ลงมือทำ จึงยังไม่เห็นภาพและสิ่งที่ต้องหาข้อสรุปให้ได้ก่อนที่จะชวนสมาชิกท่านอื่นมาร่วมทำ Workshop ในครั้งนี้

แต่ก็เป็นผลดี เนื่องจากการทำงานแบบ สคส.นั้นทุกคนมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และก็ออกมาเป็นเช่นนั้นจริงๆ เต็มที่แบบพูดคุย สนับสนุนข้ามกลุ่มอย่างอิสระมาก และที่สำคัญคือ ถึงแม้ความเห็นจะไม่ตรงกัน แต่ไม่มีการเถียง หรือ ทะเลาะกันเลยตลอดWorkshop 2 วัน บรรยายดีมาก ยกเว้นบางช่วงที่ทุกคนรู้สึก งง งง แบบไม่รู้จะไปทางไหนดีบ้างเท่านั้น


-การงง งง ของเราก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน เพราะต่อไปหากมีการจัดลักษณะนี้อีก อาจต้องทำโครง หรือ ระบุภาคีหุ้นส่วนหลัก ให้ได้ก่อนซึ่งจะทำให้งานในขั้นตอนต่อไปค่อนข้างง่ายขึ้นมาก


ผมเสียดายที่ไม่ได้อยู่รวมการประชุมประจำสัปดาห์ของทาง สคส.ในสัปดาห์นี้ เพราะจะมีการพูดคุยกันต่อถึงทิศทางการทำงานและการเตรียมการทำแผนของ สคส.ในระยะต่อไป เนื่องจากติดภารกิจ ต้องไปต่างจังหวัดหลายวัน กลับมาคงมีความคืบหน้าถึงการประยุกต์ใช้ Outcome mapping ในแบบ สคส.เองที่ท่าน อ.วิจารณ์เรียกว่า MOM - Modified Outcome mapping ผมว่าต้นตำรับมาดูต้องชื่นชอบกับวิธีคิดและการปรับใช้ของทาง สคส.แน่ๆ

คำสำคัญ (Tags): #aar#om#kmd#outcome_mapping
หมายเลขบันทึก: 95124เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 06:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท