แง่งาม ยามค่ำคืน


Idea from Leaders of Faculty of Medicine ,Naresuan University
ข้อคิดจากผู้บริหาร คณะแพทย์ มน.รุ่นใหม่จากการพบปะหารือถึงการทำงานที่ผ่านมาในช่วงเกือบ เดือนหลังการปรับโครงสร้าง เมื่อ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐โดยนัดประชุมในช่วงค่ำคืน ของวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐แม้จะเป็นการมองภาพรวมๆ สำหรับการดำเนินงานของคณะฯแต่ก็น่าจะเป็นข้อคิดให้กับบุคลากรคณะแพทย์ ทุกคน ได้เป็นอย่างดีผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์: ผู้เรียบเรียง            คณบดี(.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย)กล่าวในที่ประชุมหลังการรับประทานอาหารร่วมกัน ด้วยบรรยากาศแบบเป็นกันเอง และ Informal อย่างแท้จริง โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า
เมื่อนอนไม่หลับเพราะมีปัญหาการทำงานกับบางเรื่อง ก็จะได้พบกันแบบนี้(อธิบายว่า...อันที่จริงเราควรมาพบเจอกัน พูดคุยกันบ่อยๆ แบบนี้แหละ informal แบบนี้ work กว่าเป็นไหนๆ (ผู้เรียบเรียง))

                        จากนั้นจึงเริ่มให้พวกเราทุกคน ได้แสดงความในใจ แสดงความคิดเห็น แบบอิสระเต็มที่ ก็สรุปออกมาได้ดังนี้ครับ 

***หมายเหตุ ตำแหน่งของแต่ละท่านดูได้จากภาคผนวกด้านล่างครับ 

   ผศ.พญ.ดร.สุธาทิพย์  พงษ์เจริญ  :  การเดินทางไกลหากมีของหนักแบกอยู่(อธิบายว่า...จุดหมายปลายทาง ตั้งเอาไว้สูง อีกทั้งมีข้อจำกัดต่างๆมากมาย) จงค่อยๆเดินอย่างมั่นคง(เดี๋ยวล้ม!) การจัดสรรบุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆให้กับหน่วยงานต่างๆ ให้คิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก และมีความเป็นมิตรต่อกัน มีความสามัคคี รักใคร่ปองดองกัน

   นพ.สธน  ธรรมอำนวยสุข  :  การได้มีโอกาสได้เข้าไปทำงานใดๆ เมื่อมีความตั้งใจจริงในการที่จะมุ่งไปสู่ผลสำเร็จของงาน จะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างมหาศาล แม้ว่าในครั้งแรกจะไม่ได้คาดคิดว่าจะได้มาทำงานบริหาร แต่เมื่อได้เข้ามาทำจริงๆแล้ว จึงได้เรียนรู้หลายๆอย่างจากการได้มีโอกาสเข้ามาทำงานนี้

   นพ.วิทวัส  จิตต์ผิวงาม  :  พวกเราทุกๆคน ควรมองเรื่องส่วนรวมเป็นสำคัญ คณะแพทย์แห่งนี้เป็นของพวกเราทุกคน ที่เราจะต้องรักและหวงแหนคณะฯ ต้องเร่งรีบสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริหารรวมถึงบุคลากรทุกคนให้มีจิตสำนึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันและ งานคณะฯเป็นเรื่องส่วนรวม

   นพ.เอกวีร์  ศรีปริวุฒิ  :  แม้คณะแพทย์ มน. จะยังเป็นน้องใหม่ในวงการสถาบันผลิตแพทย์(เมื่อเทียบกับที่อื่นๆ)แต่คณะฯมีจุดแข็งที่มีอาจารย์รุ่นใหม่ มีบุคลากรวัยหนุ่มสาวอยู่มาก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานได้ง่ายกว่าสถาบันเก่าต่างๆ ที่  บุคลากรมีความอาวุโสมาก โดยส่วนตัวแล้วมีความยินดีที่ได้มาช่วยงานบริหาร ขอให้ยึดคติเตือนใจตามแบบอย่างรุ่นพี่ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า(อธิบาย...หมายถึงข้อคิดจาก นพ.ธีรยุทธ หยกอุบล และ ผศ.นพ.พีระพล วอง)นพ.ธีรยุทธ หยกอุบล:อย่าดูถูกดวงไฟดวงเล็กๆ สักวันอาจลุกโชติช่วงชัชวาลได้ ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต ขึ้นกับความมุ่งมั่นพากเพียรในปัจจุบันแม้ว่าในวันนี้จะยังตัวเล็กอยู่...ผม(ผู้เรียบเรียง)ตีความและผศ.นพ.พีระพล วอง : จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด สักวัน(ข้างหน้า)ทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

   นพ.สุวิทย์  เลิศขจรสิน  :  การทำงานใดๆ เปรียบเหมือนการที่ต้องแสดงบทบาทให้ถูกต้องเหมาะสม เหมาะควรแก่ กาละและเทศะ หากจะเปรียบเป็นการเล่นฟุตบอล เราก็จำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ในตำแหน่งของเราให้ดีที่สุด เพื่อสุดท้ายแล้ว เป้าหมายคือทีมชนะ เวลาทีมชนะ ทุกคนก็ชนะไปด้วย เป็นการเหนื่อยร่วมกันในทีม ให้คิดว่าเราเป็นคนหนึ่งในทีมที่ควรต้องคิดว่าจะช่วยทีมได้อย่างไร

   ผศ.(พิเศษ) พญ.พิริยา  นฤขัตรพิชัย  :  การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย หลายครั้งหลายครา ในชีวิตคนๆหนึ่ง เช่นครั้งนี้ชีวิตเปลี่ยนหลังเข้ามาทำงาน แต่คิดเสมอว่าเป็นโชคดีที่ได้เข้ามาทำงานนี้ มีโอกาสได้เป็นผู้นำงานหลายอย่าง แม้จะเหนื่อยมากๆแต่ก็ไม่ท้อ โดยมีครอบครัวเป็นกำลังใจให้ตลอดเวลา คุณสามี((อธิบายว่า...อาจารย์มีแฟนเป็นทหาร:ยศระดับผู้พัน)ให้คิดว่าทำเพื่อชาติ ซึ่งครั้งแรกที่ได้ฟังอาจรู้สึกขำ แต่แฟนพูดว่าเพื่อชาติซึ่งหมายความตามนั้นจริงๆ ก็มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ที่สร้างบัณฑิต เพื่อรับใช้ชาติ คิดว่าจะอยู่ไปเรื่อยๆ ยึดหลัก slow but sure”  คิดว่าจะใช้เกียร์ 2-3ให้เหมาะกับบริบทของเรา 

   ผศ.พญ.จุลินทร  สำราญ  :  เวลาเลือกทำงานใดๆ จงพร้อมที่จะรักในสิ่งที่ตัวเองทำ งานการศึกษาที่รับผิดชอบอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย เมื่อมาทำแล้ว รู้สึกทำให้ได้อะไรหลายๆอย่าง แม้จะมีปัญหาเข้ามาตลอดเวลา(เพราะต้องทำกับนิสิตจำนวนมาก) แต่นั่นย่อมหมายถึงการพัฒนาตลอดเวลาเช่นกัน ทุกครั้งที่ท้อจะนึกถึง .ศุภสิทธิ์(.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย)ที่ยังกล้าเข้ามาทำงานตรงนี้ ซึ่งคิดว่าไม่มีใครกล้ามาลองทำ เนื่องจากคณะแพทย์ มน. มีเรื่องท้าทายมาก แต่คิดว่าต่อจากนี้ไปคณะแพทยศาสตร์ มน.จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 

   พญ.ดารณี  ลิ้มรุ่งยืนยง  :  ครั้งแรกคิดว่า อ.ศุภสิทธิ์   จะให้มาเป็นเด็กหิ้วกระเป๋า ทำงานเล็กๆน้อยๆ กลับเป็นว่าได้มาเป็นผู้ช่วยคณบดี ที่ต้องทำงานรับผิดชอบมากกว่าที่คิดเอาไว้ (ทั้งที่ยังมีงานบริการเดิมอยู่มาก ในช่วงแรกจึงต้องนั่งลงทบทวนตัวเองอยู่หลายเพ-ลา ซึ่งก็คิดถึงเรื่องที่จะขอทุนไปเรียนต่อด้วย) แต่เมื่อรับปากแล้ว จึงคิดว่าต้องสู้และทำวันนี้ให้ดีที่สุด สิ่งที่อยากขอและอยากเห็นคือ...ขอวัฒนธรรมองค์กรที่มีความรัก สามัคคี ช่วยเหลือกัน เมื่อไหร่ที่หัวใจประสานกันได้แล้ว งานยากก็จะง่ายลง (ไม่อยากให้ใครก็ตาม เมื่อทำงานแล้วถูกต่อต้านมาก งานใดๆก็จะพัฒนาได้ช้า     อยากให้สื่อกันตรงๆอย่างสร้างสรรค์

   นพ.วิโรจน์  วรรณภิระ  :  ได้มาอยู่คณะแพทยศาสตร์ มน.ได้ประมาณ 2 ปี เมื่อก่อนที่ทำงานอยู่ รพ.พุทธชินราช ก็ผ่านงานมามาก โดยเฉพาะงานบริการ(อธิบาย...สูติ-นรีแพทย์มือทองในวงการ(ผู้เรียบเรียง))ปัจจุบันได้มาร่วมมือ ร่วมงานกับน้องๆ(ด้วยความอาวุโส แพทย์ส่วนใหญ่ รวมถึงบุคลากรอื่น จึงเป็นน้องพี่วิโรจน์กันทั้งนั้น) ในภารกิจของหัวหน้าภาค อันที่จริงก็ทำตามเจ้านายสั่งแต่เนื่องจากเป็นหัวหน้าภาคที่มุ่งหวังพัฒนาภาคอย่างเต็มที่ ทำให้มีภารกิจมากขึ้นกว่าเดิมมาก เคยได้กลับบ้านไปหาภรรยาได้ตรงเวลาก็ทำไม่ได้แล้ว คิดว่าจะทำงานเกินร้อย อยากเห็นความร่วมมือในระยะปีแรกๆ ให้มาก เพราะหาก ตั้งใจดีตั้งแต่เริ่มต้น ความสำเร็จก็จะเกินครึ่งไปแล้ว 

   ผศ.นพ.เทิดศักดิ์  ผลจันทร์  :  งานการศึกษามีปัญหาเยอะ มีเรื่องสำคัญๆมากมายโดยเฉพาะ ยังมีนิสิตแพทย์ที่ต้องผลักดันให้สอบผ่าน National License ทุกคน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ไม่ท้อใจ สิ่งหนึ่งที่ทำให้มีกำลังใจ เพราะมีความศรัทธาในตัว .ศุภสิทธิ์ เป็นเรื่องหลัก และมีร่มเงาต้นไม้ใหญ่อย่าง .สุภรณ์ (รศ.นพ.สุภรณ์พงศะบุตร)ทำให้อุ่นใจได้มาก( Role Model เป็นสิ่งสำคัญและเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ของบุคลากร จริงๆ(ผู้เรียบเรียง)) คิดว่าจะพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์ที่สุด ชีวิตการทำงานขณะปัจจุบัน รู้สึกมีความสุขกับการทำงาน หลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว บรรยากาศดูเป็นหนึ่งเดียว น่าจะทำงานได้ดีขึ้น หากว่าภายใน 5-10 ปี ข้างหน้า ถ้ายังมีบรรยากาศเป็นแบบนี้ คณะแพทยศาสตร์ มน.น่าจะก้าวหน้าได้ อย่างแน่นอน

   นพ.มณฑล  กาฬสีห์  :  ประชุมยามค่ำคืนลักษณะนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว  (ตอนแรกคิดว่าจะไม่พูด แต่ถ้าไม่พูดอะไรก็อาจจะดูเหมือนไม่ให้ความร่วมมือ) ตนเองเป็นคนพูดตรงๆ (อาจถูกมองเป็นคนมีปัญหา) แต่จริงๆแล้วอยากให้จบในที่ประชุม เมื่อพูดแล้ว Clearแล้วก็จบ ไม่ต้องคิดต่อ เนื่องจากเคยอยู่โรงเรียนแห่งหนึ่งมา 11 ปี มีแต่ผู้ชาย และถูกฝึกมาอย่างนี้ เล่าย้อนไปถึงตอนมาสัมภาษณ์เป็นแพทย์สังกัด มน. ขณะนั้นเป็นแพทย์ใช้ทุน ปี 3 มอ. ขับรถผ่านมาจะไปเที่ยวเชียงใหม่ (เรียกว่าความบังเอิญที่จะได้มาอยู่ที่นี่ )ได้แวะเข้ามาเที่ยวใน มน. ต่อมาจึงตัดสินใจมาสัมภาษณ์ จากวันนั้นถึงวันนี้ เปลี่ยนไปมาก พัฒนาไปมาก โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่(วันหนึ่งที่ลุกฮือขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในคณะแพทยศาสตร์ มน. เมื่อปี ๒๕๔๘) ปัจจุบัน รพ.มีความพร้อมในระดับหนึ่ง มีคนไข้มากขึ้นมาก มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เชื่อว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า จะเจริญก้าวหน้าอีกเยอะ อยากให้อาจารย์และบุคลากรทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  

   รศ.นพ.สุภรณ์  พงศะบุตร  :  ได้อยู่ที่นี่มา 3 สมัยคณบดีแล้ว ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง จะเจ็บปวดทุกครั้ง คณะแพทยศาสตร์ มน.มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด (เฝ้ามองมา 12-13 ปีแล้ว) ความรู้สึกส่วนตัวแล้ว โตเร็วมาก ปัญหาต้องมีตามมาเป็นธรรมดา ขอให้พวกเราได้ช่วยกันมากขึ้น ขอให้ทุกคนมีส่วนช่วย มีความคิดว่าสิ่งดีที่สุดคือปัจจุบันเรามีคณบดีที่จะทำให้คณะแพทยศาสตร์ มน.เจริญก้าวหน้าได้ เนื่องจากเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ ไม่อยู่ใต้บังคับใคร จึงหวังว่า คณะแพทยศาสตร์ มน. จะรุ่งเรืองแน่นอน 

ภาคผนวก

</stro

หมายเลขบันทึก: 94645เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เรื่องของหมอนี้ก็ปวดหัวดีเหมือนกันน่ะครับ
...Idea from Leaders of Faculty of Medicine ,Naresuan University... *ขอสรุปดังนี้ค่ะ* - ผศ.พญ.ดร.สุธาทิพย์ พงษ์เจริญ : การเดินทางไกลหากมีของหนักแบกอยู่ จงค่อยๆเดินอย่างมั่นคง - นพ.สธน ธรรมอำนวยสุข : เมื่อมีความตั้งใจจริงในการที่จะมุ่งไปสู่ผลสำเร็จของงาน จะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างมหาศาล - นพ.วิทวัส จิตต์ผิวงาม : ให้มีจิตสำนึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันและ งานคณะฯเป็นเรื่องส่วนรวม - นพ.เอกวีร์ ศรีปริวุฒิ : คณะฯมีจุดแข็งที่มีอาจารย์รุ่นใหม่ มีบุคลากรวัยหนุ่มสาวอยู่มาก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานได้ง่ายกว่าสถาบันเก่าต่างๆ ที่ บุคลากรมีความอาวุโสมาก - นพ.สุวิทย์ เลิศขจรสิน : เป็นการเหนื่อยร่วมกันในทีม ให้คิดว่าเราเป็นคนหนึ่งในทีมที่ควรต้องคิดว่าจะช่วยทีมได้อย่างไร - ผศ.(พิเศษ) พญ.พิริยา นฤขัตรพิชัย : ยึดหลัก “slow but sure” คิดว่าจะใช้เกียร์ 2-3 ให้เหมาะกับบริบทของเรา - ผศ.พญ.จุลินทร สำราญ : เวลาเลือกทำงานใดๆ จงพร้อมที่จะรักในสิ่งที่ตัวเองทำ - พญ.ดารณี ลิ้มรุ่งยืนยง : เมื่อไหร่ที่หัวใจประสานกันได้แล้ว งานยากก็จะง่ายลง - นพ.วิโรจน์ วรรณภิระ : ตั้งใจดีตั้งแต่เริ่มต้น ความสำเร็จก็จะเกินครึ่งไปแล้ว - ผศ.นพ.เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ : ( Role Model เป็นสิ่งสำคัญและเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ของบุคลากร จริงๆ - นพ.มณฑล กาฬสีห์ : อยากให้อาจารย์และบุคลากรทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด - รศ.นพ.สุภรณ์ พงศะบุตร : ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง จะเจ็บปวดทุกครั้ง *ขอขอบคุณท่านคณบดีและผู้บริหารทุกท่าน ที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันพร้อมที่จะพาคณะแพทย์ฯ และบุคลากรทุกคนก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงค่ะ และต้องขอขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ ที่มีให้กับบุคคลากรคณะแพทย์ทุกคนด้วยค่ะ* ^ขอบคุณ ผศ.นพ.ศิริเกษม ที่สละเวลาเพื่อมาถ่ายทอดเรื่องราวพร้อมทั้งเรียบเรียงข้อคิดดีๆ จากผู้บริหารมาฝากกันค่ะ ขอบคุณค่ะ^ ....ด้วยความเคารพอย่างสูง....

อยากให้บุคลากรทุกท่านได้เข้ามาอ่านจัง เพราะอย่างน้อยที่สุดก็จะได้แง่คิดดี ๆ จากผู้บริหารของเรา  อีกทั้งยังได้ทราบถึงความคิดของแต่ละท่านในอีกแง่มุมหนึ่ง 

ผมชอบและชื่นชม กิจกรรมนี้ และบันทึกนี้ มากจริง ๆ ครับ จะคอยติดตามเอาใจช่วยและคอยแสดงความยินดีในความสำเร็จที่ยิ่ง ๆ ขึ้น จากพลังสามัคคีครับ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์วิบูลย์ มากครับ

ท่านอาจารย์ช่วยเป็นกำลังใจให้กับพวกเรา

และชาว มน. โดยทั่วถึงมาโดยตลอด

     ชื่นชมในความมุ่งมั่นทำสิ่งดีๆและมองโลกในแง่บวกสม่ำเสมอของอาจารย์

                           ด้วยความเคารพครับ

                                     ศิริเกษม

รู้สึกดีที่ได้อ่านข้อคิดดีๆ จากผู้บริหารแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมองเหมือนกันก็คือ อยากให้คณะแพทยศาสตร์ ม.น. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และอยากให้ทุกคนมีความรักความสามัคคีในองค์กร หากทุกคนเกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อว่า คณะแพทย์ แห่งนี้จะเจริญก้าวหน้าไม่แพ้คณะแพทย์อื่นๆ แน่นอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท