สรุปงาน3 ปี..ที่ครองบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN)


สรุปผลงาน 3 ปี ที่ครองบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ของอุบล จ๋วงพานิช

จากปี พ.ศ. 2547-2550    3 ปี  ที่ครองบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง  หรือบทบาทพยาบาลพยาบาลผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

  ดิฉันเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530   

 ในปี พ.ศ.2536  ดิฉันจบการศึกษาระดับปริญญาโท  พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

ในปี พ.ศ. 2542  ดิฉันได้รับแต่งตั้งเป็น พยาบาลชำนาญการระดับ 8  

ในปี พ.ศ.2547 ดิฉันสอบได้วุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลเป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง สาขาอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ (ว.พย.)

อยู่ในกลุ่มของพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ(Clinical Nurse Specialist)ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด 

 รับวุฒิบัตรพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ปี พ.ศ. 2547

บทบาทพยาบาลผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด   6 บทบาท  

บทบาทที่ 1   ด้านการปฏิบัติการพยาบาล  

เป็นการปฏิบัติการพยาบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทีมีปัญหาซับซ้อน

ประเมินและวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยครอบคลุมทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ  ทั้งในระยะก่อนและหลังให้ยาเคมีบำบัด  

ติดตามความก้าวหน้าของโรคและการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  

 ริเริ่มและกำหนดแผนการดูแลที่เฉพาะและเหมาะสม  ตามปัญหาที่พบโดยบูรณาการความรู้ทางการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based nursing) มาตัดสินให้การพยาบาลอย่างอิสระ

มีระบบการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษาและป้องกันอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด  

สรุปผลการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ดิฉันดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีปัญหาซับซ้อนภายในหอผู้ป่วย ซึ่งมี ร้อยละ  43.90   เป็นมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายเฉพาะที่    ร้อยละ 6.09 มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ร้อยละ 6.09  ผู้ป่วยที่มีแขนบวม(lymphedema) ร้อยละ 4.88 มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก ร้อยละ 4.88 มีความกลัวอย่างรุนแรง ร้อยละ 4.88 มะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอด ร้อยละ 3.66 มีปัญหาเม็ดเลือดต่ำ ร้อยละ 3.66 มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย (ความดันโลหิตสูง hypothyroid) และปัญหาอื่นๆเช่น มีการแพร่กระจายต่อมน้ำเหลือง ขาอ่อนแรง  มีความคิดจะฆ่าตัวตาย  และมะเร็งเต้านมชาย ร้อยละ 1.22         

สรุปปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด        

 ปัญหาทางด้านร่างกาย   ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาจากการมีอาการข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัดและจากโรคแพร่กระจาย เช่น  ผมร่วง อาการเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ช่องปากอักเสบ และเม็ดเลือดต่ำ แขนข้างเดียวกับที่ผ่าตัดยกได้ไม่สุด แขนติดและแขนบวม   คลื่นไส้และอาเจียน  ขาอ่อนแรงและมีแผลกดทับ   

ปัญหาทางด้านจิตใจ  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและการรักษา กังวลเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้จิตใจท้อแท้ ซึมเศร้า มีความคิดจะฆ่าตัวตาย   ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง บางคนมีปัญหาครอบครัว และปัญหาเพศสัมพันธ์         

ปัญหาทางด้านจิตวิญญาณ  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ กลัวไม่หาย  กลัวโรคกลับเป็นซ้ำ  หมดหวัง  รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า     ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ไม่มีรายได้ต้องพึ่งพาผู้อื่น    บทบาทในสังคมเปลี่ยนแปลง   เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเหมือนเดิม  

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจและจิตวิญญาณ แบบองค์รวม         

 การดูแลกรณีผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสูง  

ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาเคมีบำบัดได้  โดยใช้วิธีให้ผู้ป่วยที่ปรับตัวได้ดีมาพูดคุยด้วย

ให้ความรู้เรื่องยาเคมีบำบัด    ผลข้างเคียงของยาและวิธีป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งประสานกับแพทย์เจ้าของไข้ ในการรักษาเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนให้ยาเคมีบำบัด 

 สอนเทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation) หรือการทำสมาธิ (Meditation)

ให้ฟังดนตรีบำบัด (Music therapy)  

มีมุมการบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy) ทำให้ผู้ป่วยสามารถลดความวิตกกังวลได้   

นอกจากนี้ยังใช้วิธีปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อยาเคมีบำบัดในเชิงบวก ขณะให้ยาเคมีบำบัดให้ผู้ป่วยบอกตนเองให้สงบ (Claming self-talk) และคิดว่ายาเคมีบำบัดกำลังไปช่วยกำจัดเนื้อร้ายที่อยู่ในร่างกาย 

 การดูแลกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์      ปัญหาครอบครัว  และปัญหาเพศสัมพันธ์ 

จากการสูญเสียเต้านมและจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยผมร่วงทุกรายที่มารับยาเคมีบำบัด  ผิวหนังมีสีดำคล้ำลง  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด รูปร่างซูบผอม   มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์ ยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ในทางลบมากขึ้น 

ใช้วิธีให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยให้สามารถปรับตัวกับภาพลักษณ์ใหม่   ก่อนให้คำปรึกษาจะต้องประเมินปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์  

ให้คำแนะนำการดูแลแขน ดูแลผม  การใช้วิก  ผ้าโพกผม   การใช้เสื้อชั้นในที่เหมาะสม

 การดูแลกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาปวด

 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีปัญหาปวดจากภาวะแขนบวม (Lymphedema) ถึงแม้จะให้ยาแก้ปวด แต่ผู้ป่วยบางคนความปวดไม่ลดลง ความทุกข์ทรมานมาก 

แนะนำผู้ป่วยให้ออกกำลังแขนทุกวัน 

นำดนตรีบำบัดมาใช้ เพื่อลดความปวด    มีการประเมินความปวดผู้ป่วยก่อนและหลังให้ยาแก้ปวด 

การดูแลเพื่อป้องกันคลื่นไส้ 

สอนการใช้เทคนิคผ่อนคลายหรือการทำสมาธิ เพื่อป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ก่อนให้ยาเคมีบำบัด

มีการจัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน  เพื่อผู้ป่วยที่สามารถปฏิบัติตัวได้ดีและปรับตัวได้มาบอกเล่าประสบการณ์ที่ดีให้ฟัง  

จากผลการวิจัย พบว่า   ขิงมีสารGingerol & Shogoal ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้กรดในระบบย่อยอาหารมีฤทธิ์เป็นกลาง ยับยั้งศูนย์อาเจียนในสมอง   ทำให้ลดคลื่นไส้ อาเจียนได้   จึงจัดให้มีน้ำขิงต้มไว้ให้ผู้ป่วยดื่มทุกครั้งที่ต้องการ  

 การดูแลเพื่อป้องกันการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก (mucositis)

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  จะเกิดแผลในปากหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดประมาณ 7-14 วัน

ดังนั้นการดูแลเพื่อป้องกันการเป็นการอักเสบของเยื่อบุช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ

จึงนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด

ประกอบด้วยการประเมินภาวะสุขภาพช่องปากตามหลักของ WHO

การให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการอักเสบของเยื่อบุช่องปากด้วยและให้การพยาบาลเพื่อป้องกันช่องปากอักเสบ   

การดูแลเพื่อป้องกันอาการเหนื่อยล้า (fatigue)    

ได้นำแนวปฏิบัติเรื่องการป้องกันและลดอาการเหนื่อยล้า

และจัดทำคู่มือสำหรับการดูแลตนเองที่บ้านสำหรับผู้ป่วย

ให้คำแนะนำผู้ป่วย  ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-6 ครั้ง 

ติดตามประเมินผลการปฏิบัติของผู้ป่วยเมื่อมารับการรักษาครั้งต่อไป       

การดูแลผู้ป่วยกรณีมีปัญหามีความคิดจะฆ่าตัวตาย (Suicidal idea)   

ประเมิน  Suicidal idea  และPatient Round ร่วมกับจิตแพทย์

conference กับพยาบาล

สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์   

ให้กำลังใจและเสริมพลังอำนาจให้ผู้ป่วยควบคุมตัวเองได้

ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและญาติอย่างต่อเนื่อง แนะนำการทำสมาธิ 

แนะนำให้รับประทานยาที่จิตแพทย์ให้อย่างสม่ำเสมอและมารักษาตามนัด   

การดูแลผู้ป่วยที่ให้การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care)

หรือระยะสุดทาย (End of life)  

เป็นผู้ประสานระหว่างแพทย์เจ้าของไข้กับผู้ป่วยและญาติ 

ให้ข้อมูลเรื่องโรคและแผนการรักษาเป็นระยะ

ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษา 

เปิดโอกาสให้ญาติดูแลอย่างใกล้ชิดและตอบสนองความเชื่อทางศาสนา 

มีโครงการวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ   มีพระสงฆ์มาจัดทำกลุ่มให้ผู้ป่วยทำวิปัสสนาและเยี่ยมผู้ป่วยหนักที่เข้ากลุ่มไม่ได้ที่ข้างเตียงทุกวันพุธบ่าย 

กรณีที่ผู้ป่วยต้องการกลับไปดูแลต่อที่บ้าน จะเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติ  โดยการให้ข้อมูลแก่ญาติและสอนวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เขียนใบส่งต่อให้ศูนย์อนามัยชุมชนใกล้บ้าน  เพื่อติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง    

บทบาทที่ 2   ด้านการให้ความรู้  

จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based nursing) อย่างต่อเนื่อง   

มีการปรับปรุงแก้ไขสื่อในการให้ข้อมูล ทั้งสื่อวิดิทัศน์ คู่มือในการดูแลตนเองและคู่มือในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด 

สอนและจัดโปรแกรมการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด   

สอนและให้ความรู้เรื่องประเด็นปัญหาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัดแก่นักศึกษาปริญญาโทที่มาดูแลผู้ป่วย   

มีการจัด Conference, Interesting case ร่วมกับพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ 

บทบาทที่ 3   ด้านการให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและครอบครัว     เมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติต่างๆ เช่น มีปัญหาครอบครัว ปัญหาเพศสัมพันธ์  หรือโรคกลับเป็นซ้ำ  

ให้คำปรึกษาและแนะนำแหล่งประโยชน์ 

ให้คำปรึกษาที่บ้านโดยการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Telephone interpersonal counseling for cancer project)    

ให้คำปรึกษาแก่พยาบาลหรือนักศึกษาพยาบาล  ที่ดูแลผู้ป่วยกรณีที่มีปัญหาซับซ้อน

ให้คำปรึกษาในการทำเอกสารการเลื่อนระดับ

เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนางานในหอผู้ป่วย แผนกฯและระดับงานบริการพยาบาล  

ช่วยงานพัฒนาคุณภาพของคณะแพทยศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมาย 

บทบาทที่ 4   ด้านบริหาร 

มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระดับโรงพยาบาล  โดยจัดทำเป็น Care map ในการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ  

นำเสนอปัญหาที่พบจากระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัดต่อผู้บริหาร 

จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ของกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

เป็นผู้ประสานกลุ่ม Excellence Center กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จัดทำสมุดบันทึกการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมร่วมกับทีม  

วางแผนร่วมกับพยาบาลภายในหอผู้ป่วยในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วย

มีการประสานงานกับแพทย์และทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  

จัดระบบการบริหารยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยให้บุคลากรได้รับความปลอดภัยในการทำงาน   

จัดให้บุคลากรมีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 

เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาผลงานของพยาบาลที่ขอชำนาญการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

บทบาทที่ 5   ด้านวิจัย      

ทำวิจัยและนำผลงานวิจัยมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด เช่น ระบบการให้ข้อมูล การให้ข้อมูลโดยใช้กระบวนการกลุ่ม การทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน  การวางแผนจำหน่าย  การลดอาการคลื่นไส้อาเจียน  การบรรเทาอาการเหนื่อยล้า 

มีการนำความรู้เชิงประจักษ์ (Evidence - Based Practice) ไปใช้ในการปฏิบัติกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัด จนได้รูปแบบการปฏิบัติที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อความเป็นเลิศ (Excellent Center)   

เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

ปี พ.ศ. 2550 จะไปนำเสนอผลงาน EBP   ในวันที่ 25 พฤษภาคม ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2550  ที่เมือง Yokohama   ประเทศญี่ปุ่น

เป็นที่ปรึกษาวิจัยและเป็นวิทยากรในการอบรมกระบวนการวิจัย

เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจเครื่องมือวิจัยและการสอบวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษา

ปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ความเห็นในการสร้างเครื่องมือวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใน ปี พ.ศ. 2549 เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนางานวิจัยของงานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์   

จัดโครงการอบรมกระบวนการวิจัยให้แก่พยาบาล

โครงการRoutine to research:  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การวิจัย 

โครงการนำผลการวิจัยมาใช้โดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  (Evidence- Based Practice: EBP) 

โครงการประเมินผลลัพธ์การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การใช้สารละลายน้ำเกลือหล่อหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อค

เป็นคณะกรรมการปฏิบัติงานประจำให้เป็นงานวิจัย(R2R)

เป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัยของ งานบริการพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

เป็นผู้นำในการทำ Research club และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการเสนอแนะในการทำ Research club    

บทบาทที่ 6    ด้านคุณธรรม จริยธรรม   ปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดหลักคุณธรรม  จริยธรรม จรรณยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง    เป็นข้าราชการดีเด่นของงานบริการพยาบาล และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2545

ได้รับรางวัลพยาบาลดีเด่นของสภาการพยาบาล ประจำปี พ.ศ. 2548    สาขาการบริการพยาบาล ประเภทผู้ปฏิบัติการพยาบาลในระบบบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ

หมายเลขบันทึก: 94641เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ผมเห็นด้วยที่การบำบัดแบบองค์รวม ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ

             ผมว่ามันทำให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ดูแลรักษามากขึ้น มีชีวิตชีวา มีพลัง  ไม่ใช่สถานที่แห่งการมาเยือนของพยายม น่ากลัว ขลึมขลัง และเฉยเมย

               เป็นกำลังใจให้คนทำงาน ครับผม

  • การเป็นพยาบาลนี้ต้องเสียสละมากเหมือนกันน่ะครับ
สวัสดีค่ะคุณ
P
  • ตั้งแต่ดิฉันได้ทำหน้าที่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
  • เราให้การดูแลแบบองค์รวมและคิดเสมอว่าผู้ป่วยเป็นญาติของเราเอง
  • พยายามจัดสิ่งแวดล้อมเหมือนบ้านค่ะ
Pสวัสดีค่ะ
  • การเป็นพยาบาลด้วยใจรัก
  • จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข
  • และเสียสละมากจริงๆค่ะ

มีผลไม้รสเปรี้ยวไว้ ลดคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

มีโครงการวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งและญาติ ทุกวันพุธบ่าย

  • เยี่ยมเลยครับ
  • เป็น AAR ที่น่าทึ่งมากครับผม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณขจิต

  • การทำงานในบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง (APN)  จะได้รับวุฒิบัตร ซึ่งมีอายุ 5 ปี
  • จะต้องสรุปและมีผลงาน เช่น เขียนบทความได้รับการตีพิมพ์  จะต้องเป็นวิทยากร  ฯลฯ
  • ซึ่งสภาการพยาบาลจะประกาศให้ทราบ
  • ดังนั้นAPN ทุกคนจะต้องมีผลงาน จึงจะได้ต่ออายุวุฒิบัตรได้ค่ะ
  • ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ

 

การทำงาน2บทบาทในฐานะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงและหัวหน้าหอผู้ป่วย  
จากการทำงานมาครบ 3 ปี ใน 2 บทบาท
เชิญอ่านคลิกที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/ubolAPN/66458

Smiley Grad 3

สู้สู้....ต่อไปค่ะ APN

Computer

เผยแพร่ผลงาน

 

Don't cry

 เราจะได้ร้องเพลงร่วมกัน สักวันค่ะ

Smiley Grad 4

อนาคตของพยาบาลไทยสดใสถ้าเราร่วมมือกันค่ะ

 อย่าลืมใส่ใจเพื่อนร่วมทีม

ถึงแม้ว่าเราอาจรู้สึกแบบนี้  แต่เรามีสภาพยาบาลฯคอยใส่ใจ

ขอมอบดอกไม้ให้ APN ทุกคนค่ะ

เพิ่งจบปริญญาโททางเด็กมา กำลังจะปฏิบัติงาน จะต้องเป็น APN อย่างพี่ให้ได้ จะพยายามค่ะ

สวัสดีค่ะน้องปริญญาโทเด็ก

ดีค่ะแล้วเรามาปฏิบัติภาระกิจ เพื่อวิชาชีพกัน

ขอต้อนรับว่าที่ APN เด็กค่ะ

พี่ไปประชุมวิชาการที่ Yokohama Japan

ได้เข้าประชุม APN network ซึ่งมีหลายประเทศสนใจเข้าประชุมเต็มห้อง

มีนักศึกษาเกาหลีลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นว่าประเทศเขายังไม่มี APN ในประเทศเกาหลี เขาอยากเป็น APN มาก เขาจะทำอย่างไร

แล้วเราล่ะ  สภาฯได้จัดให้มี APN ในประเทศเราแล้ว เราแค่รับผิดชอบต่อตนเอง ให้ไปสอบและทำงานให้ได้

แล้วเรารออยู่ทำไมละคะ

คนที่สนใจที่จะเป็น APN

จะต้องสามารถเข้าใจบทบาทของ APN

จะต้องประเมินตนเองว่า ทำงานครอบคลุม 6 บทบาทหรือไม่

ควรมีกลุ่มประชากร(Population based) ชัดเจน มีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มของเรามาระยะหนึ่งแล้ว มีการนำผลงานวิจัยมาใช้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

มีความรู้เรื่องกฏหมายและจริยธรรม

IT

มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและแผนพัฒนาเศรฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 10

และวิชาเฉพาะ

พยาบาลที่จะไปสอบปีนี้ขอให้โชคดีนะคะ

ยังไม่ได้เรียน APN ค่ะ จบเวชปฏิบัติทั่วไป อยู่สอ. ขอบคุณค่ะสำหรับข้อความที่พี่ตอบคนอื่นๆ อยากพัฒนาตนเอง สภาการพยายาลเปิดกว้างให้เราแต่เราคิดว่าแค่นี้ก็พอ มีกำลังใจแล้วค่ะ

ต้องขอชื่นชม เก่งมากเลยค่ะ ดิฉันยังไม่ได้เรียนเวชปฏิบัติ ป. โท แต่จบปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร ( วิชาเอก บริหารสาธารณสุข ) และเวชปฏิบัติทั่วไป แต่มีความสนใจในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพื่อประชาชนและศรัทธาในวิชาชีพการพยาบาลค่ะ

ยินดีค่ะคุณสุดา เราร่วมกันทำเพื่อวิชาชีพกันต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

น้องกำลังทำการศึกษาอิสระ เรื่องพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนรับเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จึงขอคำแนะนำและคำปรึกษาจากพี่แก้วเรื่องรูปแบบที่นำมาใช้ในการพัฒนา ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท