เรื่องเล่าจากดงหลวง 90 มุมมอง


ภาพความเป็นจริงต่างๆในสังคมเราก็เป็นเช่นนั้น ทุกท่านคงคุ้นกันกับคำว่ามองต่างมุม หากเราฝึกการมองต่างมุม เราจะพบความพิศวง ว่าโลกนี้หลากหลายมากกว่าที่เรารู้จักอีก และหลายมุมเป็นสิ่งที่ช่างแตกต่างจากที่เราเคยรู้ เคยเห็น เคยได้ยิน แม้เคยสัมผัส

   วันนั้นผมขับรถคนเดียวจากกรุงเทพฯไปขอนแก่น โดยปกติผมจะพกกล้องถ่ายรูปด้วยเสมอเวลาเดินทาง เผื่อเห็นอะไรที่น่าสนใจก็จะได้ไม่พลาดเก็บรูปนั้นๆไว้ 

 เวลา 7 โมงเช้าผมมาถึงลำตะคอง หยุดรถสูดอากาศสดชื่นตอนเช้าสัก 10 นาทีแล้วขับต่อไป เลยลำตะคองมานิดเดียวก็ถึงบริเวณที่มีช่างนำหินมาแกะสลักพระพุทธรูปในปางต่างๆเพื่อจำหน่าย มองไปข้างหน้าเห็นพระอาทิตย์กำลังขึ้นโผล่ยอดเขา  ผมเล่นกล้องถ่ายรูปมาหลายปีนึกถึงซ้อตสวยๆของพระพุทธรูปที่แกะสลักนี้ได้ทันที น้องเบิร์ดหรือเพื่อนเชษฐ์ อาจจะเรียกสิ่งนี้ว่า จินตนาการ"ก็ได้ครับ ผมจะเรียกมันว่า มุมมอง  

รูปที่ สาม 

ลองดูรูปที่หนึ่งนะครับ ผมถ่ายรูปนี้เมื่อเวลา 7.45  และรูปที่สองเมื่อเวลา 7.46 รูปเดียวกัน แต่มองคนละมุม หรือมองต่างมุม มันให้ความแตกต่างมากมายทีเดียวทางด้านคุณสมบัติของรูปที่เห็น ความรู้สึกที่มีต่อรูปทั้งสองต่างกัน  อาจจะหมายถึงคุณค่า และมูลค่าของมันอีกด้วยที่ต่างกัน หากเราเอาสองรูปที่ไปวางขาย  ผมเชื่อว่าคนจะซื้อรูปที่สองไปเพื่อความสวยงาม แต่คนที่ซื้อรูปที่หนึ่งเพื่อเคารพสักการะ ทั้งที่เป็นรูปเดียวกัน  

ในทำนองเดียวกัน ดูรูปที่สามสิครับ ผมชอบรูปนี้มาก เพราะให้ความรู้สึกและคิดว่ามีศิลปะ และเกิดอารมณ์ศรัทธา และเลยไปไกลถึงความยิ่งใหญ่ขององค์พระพุทธเจ้า  

ทั้งที่รูปจริงๆก็เหมือนรูปที่หนึ่ง หากเราขับรถผ่านและมองพระพุทธรูปนี้แค่ผ่านสายตาไป ก็จะรู้สึกเฉยๆ ก็เหมือนกับพระพุทธรูปอื่นๆทั่วไปที่เราเห็นมามากมาย  แต่เมื่อเปลี่ยนมุมมองดังกล่าวมันให้ความแตกต่างมากมายครับ  

 

ภาพความเป็นจริงต่างๆในสังคมเราก็เป็นเช่นนั้น ทุกท่านคงคุ้นกันกับคำว่ามองต่างมุม  หากเราฝึกการมองต่างมุม เราจะพบความพิศวง ว่าโลกนี้หลากหลายมากกว่าที่เรารู้จักอีก  และหลายมุมเป็นสิ่งที่ช่างแตกต่างจากที่เราเคยรู้ เคยเห็น เคยได้ยิน แม้เคยสัมผัส    

บางมุมเราอาจจะรู้สึกว่าไม่น่าเชื่อจริงๆ  ผู้บันทึกทำงานกับชนบท เรามักจะมีมุมมองที่เป็นคนมาจากภายนอก เป็นคนที่มาจากระบบการศึกษาสมัยใหม่ มาจากวิถีชีวิตแบบเมือง มีวิธีคิดที่ถูกหล่อหลอมมาจากระบบสังคม Civilization ทุกอย่างนั้นแตกต่างจากชุมชนชนบทอย่างสิ้นเชิง  แรกๆเราจะมองเขา ต่ำกว่า สกปรก ล้าหลัง ไม่ทันสมัย ด้อย .... นั่นคือการมองชนบทเหมือนกับคนที่ขับรถผ่านองค์พระพุทธรูปที่ลำตะคองแบบผ่านไปเฉยๆ  แต่ไม่เคยหยุดลงไปมองอีกมุมหนึ่งเลย    

เมื่อผมเริ่มเปลี่ยนมุมมองชนบทจากเดิมมาเป็น คนใน มากขึ้น(แค่มากขึ้น แต่ไม่มีทางที่จะมองแบบคนในอย่างสิ้นเชิง) ผมก็พบอะไรซ่อนอยู่มากมายที่สวยงาม ที่มีคุณค่า เข้าใจมากขึ้น เพราะมุมมองเหล่านี้ผมไม่เคยมองมาก่อน ไม่เคยพบมาก่อน  การมีมุมมองเพิ่มมากขึ้นทำให้เรามีภาพแบบองค์รวมมากขึ้น   และเป็นประโยชน์ต่อการติดสินใจ หรือการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มทำกิจกรรมที่ชุมชนต้องการจริงๆมากขึ้น     

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็เกิดประเด็นตามมาว่า

  • เราควรจะมองจากมุมไหน
  • จำเป็นไหมที่ควรจะมีมุมมองแบบองค์รวม 
  • หรือ ฯลฯ
คำสำคัญ (Tags): #มุมมอง
หมายเลขบันทึก: 94599เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2007 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

อ่านตามก็เข้าใจความรู้สึกเลยครับ...ยังไม่เห็นภาพนะครับ...มองต่างมุมทำให้มุมมองคนเรากว้างขึ้น...หัวใจก็กว้างขึ้นครับ...

โอชกร

  • อิอิ  มาไวไปหน่อย เลยยังไม่เจอ มุมมอง  สักรูปเลยค่ะพี่บู๊ท  อิอิ
  • เช่นเดียวกันกับพี่หนิงครับ
  • จะตามมาดูภาพใหม่ที่หลัง
  • แต่ทิ้งรอยไว้ก่อน เดี๋ยวง่วงแล้ว

รูปมาแย้ววว

ขอบคุณโอชกร - ภาคสุวรรณ

ขอบคุณDSS "work with disability" ( หนิง )

ขอบคุณออต

 

ทั้งสามท่านมาเร็วกำลังขึ้นรูปครับ

ตอนนี้รูปมาแล้วครับ

  • อย่างนี้ต้องเลือกมองมุมดีดี เพื่อให้เรารุ้สึกดีรึเปล่าค่ะ
  • แต่รูปหมูนี่ เห็นแล้วหดหู่จังเลยค่ะ
  • ความเชื่อกับเหตุผล พุทธศาสนาสอนให้มีเหตุผล คิดเป็น ตาม อริยสัจ 4 แต่ ลัทธิต่างๆ สอนให้......?? (ฆ่าหมู) รึเปล่านะ

สวยครับ  งามด้วย

        ผู้สร้างสรรค์อาจใช้จินตนาการ หรือมุมมองกระมังครับ   แต่ผมขอคิดด้วยคนว่า เป็นเรื่องราวที่สะเทือนใจด้วยครับ  ผมว่าเรื่องของพี่บางทรายอย่างเรื่องพระพุทธรูปและ มุมมองชีวิตผู้คนที่นำเสนอนั้นสะเทือนใจครับ  หรือว่ามีแรงบันดาลใจ มีพลัง   ครับผม

กลับมาแล้วครับ

  • ออตว่ามันต้องมีมุมมองที่หลากหลาย
  • เพราะทุกอย่างที่เราเห็นมันมีความหลากหลาย
  • ยิ่งความเชื่อแม้นับถือศาสนาเดียวกันก็เชื่อต่างกัน
  • ขอให้เคารพความแตกต่างอะนะครับ
  • อันนี้ความคิดของออตนะครับ

 

  • รูปที่ 3 คุ้นๆอ่ะค่ะพี่บู๊ท คลิกที่นี่ ที่จำได้เพราะเป็นรูปที่หนิงชอบมากเลยค่ะพี่  
  • เป็นมุมมอง ที่สวยงามมากค่ะ

สวัสดีครับ แก่นจัง

  • พี่เองทานมังสวิรัติ และเกือบทนไม่ได้ที่เห็นชาวบ้านเอาหมูมาแล้วตี ทุบ แทงเขาจนตาย พี่ถ่ายรูปไว้ทุก ซ๊อก และทำเป็น Power point เรื่อง พิธีก๊วบของชาวเผ่า บรู หรือไทโซ่
  • แต่เป็นพิธีกรรมของเขา นี่แหละมุมนี้มันพูดไม่ออก แต่ชนเผ่าบรูนี้ "นับถือผีมากกว่าพระ" เป็นคำพูดของเขาเองนะครับ  พิธีนี้จะทำทุกครั้งที่มีคนต่างถิ่นเข้ามาพักในหมู่บ้านเป็นเวลานานๆ เช่นครูย้ายมาสอนที่โรงเรียนในหมู่บ้านนี้ จะต้องล้มหมู ทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่
  • เมื่อศึกษาลึกๆพบว่า เป็นพิธีที่บอกให้ทุกคนในหมู่บ้านรู้ ทราบว่า มีคนนอก (ซึ่งเขาเรียกคนนอกที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านนี้ว่าไก่ป่า) เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านของเรานะ  หากเป็นสมัยใหม่ทั่วไปคือ ทำหนังสือแจ้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือประชุมชาวบ้านแล้วแจ้ง  แต่เขาใช้วิธีล้มหมูแล้วเชิญผู้เฒ่าทุกคนที่เป็น "เจ้าโคตร" ของแต่ละสายสกุลมาร่วมงาน เท่ากับมารับรู้ว่ามีคนเข้ามาเป็นลูกหลานบ้านเรานะ การบอกเจ้าที่ก็คือบอกทุกคนนั่นเอง โดยเอาหมูเป็นผู้สังเวย แล้วเลี้ยงกัน กินกัน
  • ที่น่าประทับใจคือ ผู้เฒ่าทุกสายสกุลจะมาร่วมงานและมาอวยพรให้ผู้มาใหม่อยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ
  • เรื่องมันยาวครับ
  • ขอบคุณมากครับน้อง

น้องหนิงครับ เป็นภาพที่พี่แสดงในตอน Blog tag นั่นแหละครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง

เป็นการหยิบเอารูปมาใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้ครับ  ภาษานักการศึกษาเขาเรียกว่า เอารูปมานำเข้าสู่เรื่อง

และเป็นคนชอบรูปแบบนี้เลยหยิบเอามาครับ

  • แค่ของสิ่งเดียว  แล้วมองในมุมที่ต่างกัน  กลับให้ความรู้สึกที่แตกต่าง
  • คนเราที่ทะเลาะกัน  ฆ่าฟันกันก็ด้วยเหตุนี้กระมังครับ
  • มองอยู่มุมเดียว  ไม่ลองมองอีกมุม  แล้วด่วนสรุปว่ามุมของฉันดีสุด  ถูกสุด
  • ตัวกู  ของกู

ธรรมะสวัสดีครับ

สวัสดีครับ ออต

พี่เห็นด้วย ต้องหลากหลาย และเคารพในความหลากหลายด้วย เพราะโลกเรามีหลายมิติอยู่แล้ว ยิ่งคนยิ่งทั้งหลาก ทั้งหลาย ครับ

สวัวดีครับ น้อง ธรรมาวุธ

พี่เองก็เข้าใจเช่นนั้นด้วย ยึดมั่นติดมั่นมากไปเลยวุ่นวายไม่หยุด ครับ

ทำให้เห็นกว้างขึ้นครับ เมื่อเราเปลี่ยนมุมมอง เวลาเปลียนไป ความคิด  การมองเห็น และความคิดความเห็นที่จะให้คุณค่าก็อาจแตกต่างกันไป....ดีครับ

สวัสดีครับชาญ รูปสม

ใช่ครับ เกี่ยวกับเวลาด้วย เมื่อเปลี่ยนเวลาไป ความคิดเห็นอาจจะเปลี่ยนผ่านไปด้วย

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ได้มาอ่านและเห็นรูปในมุมมองที่แตกต่างกันแล้วทำให้คิดอะไรได้หลายๆ อย่าง อย่างที่หลายๆ ท่านได้ให้ข้อคิดไว้แล้ว

เห็นด้วยกับคุณธรรมาวุธ ว่าพอมองต่างมุมแล้ว มุมนั้นๆ ก็กลายเป็นมุมของเรา หรือ มุมของเรา

พอมี"ของเรา" "ของเขา" ก็เลยเข้าข่าย "ตัวกู" "ของกู" ทันที

แต่คำถามที่ว่าเราควรจะมองจากมุมไหน?

ดิฉันคิดว่าเราก็คงเห็นจากมุมของเราก่อน แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุป ให้รู้ก่อนว่าเรากำลังมองจากมุมของเรา แล้วลองอ้อมไปรอบๆ มองหลายมุม มองในมุมของคนอื่นๆ บ้าง เพื่อพยายามทำความเข้าใจ ทุกคนคงมีความเชื่อและเหตุผลของเขา

เคยไปคุยกับหลวงพ่อรูปหนึ่ง ท่านสอนว่า ทุกอย่างที่เห็นนั้นเป็นเพียงสภาวธรรม ถ้าเราหลับตา สิ่งนั้นก็หายไปแล้ว ... เพราะฉะนั้นถ้าเรายังลืมตาอยู่ เราต้องเข้าใจในสภาวธรรมของสิ่งที่เราเห็นนั้นๆ ว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาค่ะ เราน่าจะตัดสินใจได้ดีขึ้นถ้าเราเข้าใจในไตรลักษณ์ค่ะ

เขียนไปเขียนมา กลายเป็นเรื่องธรรมะ ไปเสียแล้ว ขอบคุณค่ะ ; )

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

กลับมาอีกรอบ พอดีนึกได้ว่ากำลังเขียนเรื่อง เรากับเขา แล้วเมื่อคืนได้อ่านบันทึกนี้ "ตัวเรา...ของเรา...มีจริงหรือ??? ตอน ทะเลาะกับตุ๊กแก"

ถ้ามีเวลา ลองอ่านดูนะคะ อ่านแล้วอารมณ์ดีค่ะ ; )

สวัสดีอาจารย์กมลวัลย์ครับ

"คงเห็นจากมุมของเราก่อน แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุป ให้รู้ก่อนว่าเรากำลังมองจากมุมของเรา แล้วลองอ้อมไปรอบๆ มองหลายมุม มองในมุมของคนอื่นๆ บ้าง เพื่อพยายามทำความเข้าใจ ทุกคนคงมีความเชื่อและเหตุผลของเขา"

ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่อาจารย์กล่าวครับ หมายความว่าเราต้องรอบด้านมากขึ้น ลูกจ้างก็ต้องพยายามเข้าใจนายจ้างบ้างว่ามีเงื่อนไขอะไรอย่างไรจึงตัดสินใจอย่างนั้น นายจ้างก็ต้องพยายามเข้าใจเงื่อนไขลูกจ้างด้วยว่ากำลังอยู่ในรสภาวะอย่างไร หากสองฝ่านมานั่งคุยกัน หาความพอดี แบบ พอรับได้ทั้งสองส่วนก็น่าที่จะไปด้วยกันได้

ส่วนอันนี้  "เคยไปคุยกับหลวงพ่อรูปหนึ่ง ท่านสอนว่า ทุกอย่างที่เห็นนั้นเป็นเพียงสภาวธรรม ถ้าเราหลับตา สิ่งนั้นก็หายไปแล้ว ... เพราะฉะนั้นถ้าเรายังลืมตาอยู่ เราต้องเข้าใจในสภาวธรรมของสิ่งที่เราเห็นนั้นๆ ว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาค่ะ เราน่าจะตัดสินใจได้ดีขึ้นถ้าเราเข้าใจในไตรลักษณ์ค่ะ" เป็นหลักสูงสุดที่คนเราพึงฝึกปฏิบัติ การที่เราขลุกอยู่กับโลกธรรม เลยเวียนว่ายกับความรู้สึกของตนเองที่ยึดตัวกูของกูจริงๆ พยายามฝึก เผลอๆไปอีกแล้ว นี่ละมั๊งที่ทำให้สังคมวุ่น โลกวุ่น  ผมชอบที่อาจารย์กล่าว มันเตือนสติเราดีจริงๆ

P

สวัสดีค่ะ

สวยทุกรูปที่มีพระพุทธเจ้า แต่ไม่ชอบรูปที่ฆ่าหมูค่ะ

อาจารย์กมลวัลย์ครับ

ผมตามไปอ่านของคุณซันซันแล้ว ชอบมากครับ มันตรงใจเลยทีเดียวแหละ

ตอนผมบวชและปฏิบัติธรรม 1 พรรษานั้นก็ได้รู้จักชีวิตมากขึ้น และมีส่วนกล่อมเกลาตัวตนมากทีเดียว

แต่เมื่อเราหลุดออกมาอยู่วันทั้งวันเดือนทั้งเดือน ปีทั้งปีกับปัญหา และวิถีปุถุชน หลักธรรมที่เคยเรียนรู้กลับมาเป็นสามัญสำนึก ต้องย้อนกลับไปทบทวนและเรียนรู้ โดยเฉพาะฝึกตนเพิ่มเติมอีก คราวนี้เป็นของ Supreme Master Shing Hai แล้วก็กลับมาขลุกอยู่กับชนบทอีก ก็วิ่งกลับไปกลับมา ตราบใดที่จิตเรายังเป็นปุถุชนอยู่ ก็คงเป็นเช่นนี้  เพียงแต่เราพอมีหลักยึดคือหนทางธรรม ฝึกใช้มุมมองนี้ สะท้อนออกไปกับคนรอบข้าง และขยายสัจธรรมให้เขาเท่าที่สติปัญญาเราจะพอมีอยู่

ขอบคุณอาจารย์ที่แนะนำดีๆ

สัวดีครับ
ผมเองก็หดหู่ครับ และก็เกิดขึ้นเป็นปกติในสังคมทั่วไป
ขอบคุณครับ

เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากๆครับ

เพราะคุย คุ้ยลึกถึงมุมมองก้นบึ้งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

  •                    คำว่า "องค์รวม" เป็นคำที่ใช่กันเกร่อมาก ไปไหนๆก็องค์รวมๆ ไปๆมาๆกลายเป็นเหมารวมกันไปหมด ว่าองค์รวมคือ "ภาพรวม" ทั้งๆที่ผมคิดว่ามันเป็นคนละความหมายกันนะครับ
  •                      ผมกำลังอ่าน "สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) อยู่ ก็สะดุดใจอยู่คำหนึ่ง คือ คำว่า "องค์รวม"

                   "ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ได้กล่าวในหนังสือว่า เวลาดูองค์รวมต้องมองให้เห็นว่ามันมีองค์ร่วมประกอบที่ทำหน้าที่ต่างๆสอดประสานกันอย่างเป็นพลวัต"

  •                     ผมสรุปเอาจากข้อเขียนของท่านมามองในแบบนักวิจัยว่า จะเห็นเป็นองค์รวมได้ เราต้องมองเห็นองค์ร่วมก่อน นั่นหมายความว่าต้องมองอย่างแยกแยะได้  และต้องมองให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบร่วมเหล่านั้น หมายความว่าต้องมองอย่างเชื่อมโยงได้ด้วย
  •                     วิธีการมองภาพปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยการแยกแยะ และเชื่อมโยงองค์ประกอบร่วม จึงจะสามารถมองเห็นเป็น "องค์รวม" ได้

          และผมอยากจะเสริมว่า ถ้ามองเชิงลึกขึ้นไปอีก ต้องมองให้เห็นด้วยว่า ตัวเราไปเชื่อมโยงอย่างไรกับภาพปรากฏการณ์เหล่านั้น

 

  •               มองต่างมุมนั้นดีครับ แต่มองแบบ "องค์รวม" นั้นต้องอาศัยการวิเคราะห์มาเพิ่ม และถ้ามองให้เห็นว่าตัวตนของเราไปสัมพันธ์อย่างไรกับสิ่งนั้น อันนี้ก็จะไปถึงระดับการสังเคราะห์ คือเกิดความรู้ชนิดใหม่ที่ตกตะกอนมาจากของเดิมหลายๆอันมาเล่นแร่แปรธาตุกัน

  •                 สังคมไทยยังขาด มุมมองต่างระดับอย่างนี้มาก ชนชั้นกลางบ้านเรามักจะเห่อข้อมูลครับ ชอบที่จะมีข้อมูลข่าวสารเยอะๆ แต่พอได้ข้อมูลมาก็จำกัดวิธีการมองด้วยกรอบแคบๆ  หรือได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับของที่ตัวเองต้องการ ก็มักจะโยนทิ้ง ไม่รู้จะมองข้อมูลที่แตกต่างอย่างไร อันนี้เป็นปัญหามากๆ  

                           

                    แวะมาช่วยกันขบคิดนะครับ

  • สวัสดีค่ะพี่บางทราย
  • เห็นด้วย 100% เลยค่ะในเรื่องมุมมอง บางครั้งฟังเรื่องเดียวกัน แต่ยังคิดไปคนละอย่าง คนเรามีมุมมอง หรือทัศนคติแตกต่างกันไปจริง ๆ  อยู่ที่ความคิดจริงๆ ค่ะ
  • ราณีก็ชอบรูปที่ 3 มันดู ขลังและน่าศรัทธาดีค่ะ
  • การมองบางครั้งต้องคิด และวิเคราะห์ สิ่งที่เรามองให้ดี บางครั้งสิ่งที่เราเห็น อาจไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำรูปสวย ๆ มาให้ดูค่ะ

เข้ามาสาธุและเห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ

P
P

สวัสดีครับพี่บางทราย

 รูปทุกรูปสื่อได้ความหมายทั้งหมดครับ เพียงแต่เราจะเอาความรู้สึก นึกคิดของเราเข้าไปใส่แบบไหน ...

เป็นการมองต่างมุม จริงๆๆค่ะ

มองคนละมุม เห็นคนละอย่าง คิดคนละอย่าง และ รู้สึกกันไปคนละอย่างจริงๆค่ะ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเดียวกันก็ตาม

และเห็นด้วยนะคะว่า เรามักเรียกคนเมืองว่า คนศิวิไลซ์มีอารยธรรม

และเรียกชุมชนห่างไกลว่าคนไม่มีอารยธรรม

แต่ความจริงแล้ว ความงดงามการเติบโตด้านจิตใจ

คนในเมืองสู้ไม่ค่อยได้เลยนะคะ

เลยไม่รู้ว่าใครกันแน่ ที่ไร้อารยธรรม ค่ะ

 

 

สวัสดีครับยอดดอย

  • ขอบคุณที่ยกประเด็นที่สำคัญนี้มาอภิปรายขยายความกัน
  • พี่อาจจะไม่ได้ขยายความเรื่องภาพขององค์รวม ในความเข้าใจของพี่นั้นมิใช่ภาพรวม บังเอิญเอาเรื่องภาพมานำเข้าสู่เรื่อง พี่ได้เขียนบันทึกไว้บ้างว่า เด็กสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยเท่าที่พบเห็นไม่มีการวิเคราะห์เจาะลึกเท่าไหร่ ไม่มีการสังเคราะห์แตกแยกแยะปรากฏการณ์ต่างๆ เหมือนถูกฝึกมาอย่างนั้น เมื่อเห็นอะไร พบอะไรก็อาจจะหยิบเฉพาะภาพที่เห็น ปรากฏการณ์ที่เห็นมา หรือหยิบมา อันนี้จึงมีส่วนที่เราไปเอา ไปรับของใคร มาอย่างผิวเผิน แล้วก็ส่งผลไปถึงกลุ่ม พวก หากจำแนกแยะแยะ วิเคราะห์ สังเคราะห์ก็จะเห็นและเข้าใจ และสามารถที่จะใช้สิ่งนั้นๆได้ถูกต้องตามกาลเทศะ
  • อย่างเช่น มุมมองของลูกจ้างต่อนายจ้าง ก็มักจะออกมาแบบนายจ้างกดขี่ ขูดรีด เอาเปรียบแรงงาน ฯลฯ พวกนายจ้างก็มองว่าลูกจ้างอู้งาน ไม่มีประสิทธิภาพแต่เรียกค่าแรงสูง ไม่รับผิดชอบการอยู่รอดของบริษัท หรือความยากเย็นแสนเข็ญของการออกไปขายสินค้าที่มีคู่แข่งทั่วโลก ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากกิจการล้มใครเจ็บที่สุด นายจ้างก็ว่าเขาเจ็บที่สุด ฯลฯ ทางนักกฏหมายแรงงานก็มองมาตราฐานสากล นักการศึกษาก็อาจจะมองไปอีกแบบ นักแรงงานสัมพันธ์ก็อาจจะมีมุมมองของเขา ฯลฯ หากวิเคราะห์จำแนกแยกแยะออกมาก็จะเห็นส่วนต่างๆที่มีตัวตนมีสาระมีเงื่อนไข มีเหตุมีผลของเขาอยู่ เหล่านี้แหละที่พี่เรียกว่าส่วนขององค์รวม การเข้าใจองค์รวมก็คือต้องเข้าในทั้งหมดของแต่ละเสี้ยวส่วนเหล่านี้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น ซึ่งตรงนี้แหละที่มักขาด ลูกจ้างก็ไม่เข้าใจเงื่อนไขของนายจ้าง นายจ้างก็มักละเลยส่วนของลูกจ้าง ฯลฯ เลยขัดแย้งกัน เวลามีปัญหาก็ต่างเอามุมของตัวเองมาพูดมากล่าว ไม่ได้เอาทั้งหมดมา  วางแผ่บนโต๊ะ แล้วหาข้อสรุปว่าตรงส่วนที่พอรับร่วมกันได้อยู่ที่ตรงไหน
  • หากบันทึกไม่ชัดตรงไหนก็ขออภัยด้วย หากคำอธิบายนี้ไม่ใช่ก็โปรดชี้แนะด้วยครับ

สวัสดีครับธรรมาวุธ

ข้อดีของการเกิดประเด็นคือการขยายความคิดออกไปให้กว้างและลึกมากขึ้น เกิดประโยชน์ในการเข้าใจมากขึ้นครับ ผู้บันทึกก็เรียนรู้มากขึ้นจริงๆ

ขอบคุณทุกท่านครับ

สวัสดีครับ ภูคา กล้วยไม้สวย

  • พี่เอารูปมาเป็นสื่อนำเข้าประเด็น แต่รูปเองก็บอกอะไรได้หลายอย่าง
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีคุณหมอซันซัน

วันนี้แวะมาเยี่ยมถึงบ้าน ขอต้อยรับด้วยคำว่า ยินดีต้อนรับครับ

การมองต่างมุมผมว่าเป็นเรื่องดี และจำเป็นในทุกเรื่องด้วย แต่การเอารมุมมองที่หลากหลายไปใช้ประโยชน์ น่าจะสำคัญที่สุดนะครับ 

เรื่องนี้เป็นหลักคิดของหลายสังคม แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันออกไปกระมังครับ  ผมเองก็เป็นผู้เรียนรู้

ผมเห็นด้วยกับ "ความงดงามการเติบโตด้านจิตใจ คนในเมืองสู้ไม่ค่อยได้เลยนะคะ"  ผมทำงานชนบท หลายครั้งต้องไปนอนกับบ้านชาวบ้าน ซึ่งเขาดูแลเราอย่างดี แม้ว่าจะพยายามบอกว่าทำอะไรเป็นปกติเถอะ อย่างจัดอะไรเป็นพิเศษเลย เราเองก็เตรียมทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ไปด้วย  แต่ความมีน้ำใจสุดยอด หมาเห่าสองสามทีเจ้าของบ้านต้องลุกไปดูใต้ถุนบ้านว่าขโมยจะมาลักรถของเราไปหรือเปล่า  เวลาเราผ่านไปในชุมชนที่ใหม่ยังไม่รู้จักซึงกันและกัน เขาเป็นผู้ทักทายเราก่อน มาทำอะไร มาจากไหน ฯ ซ้ำเชื้อเชิญไปบ้านกินน้ำกินข้าว  แต่คนเมืองเดินผ่านหน้าบ้านแค่นันรีบปิดประตูบ้านเกรงว่าจะคนไม่ดีมาในคราบแต่งตัวดี จึงป้องกันภัน ระแวงไว้ก่อน ความมีน้ำใจจึงหดหายไปหมด  หากเอาคนเมืองไปอยู่ในชนบทสักพักใหญ่ๆ ก็อาจจะทำตามชนบท และตรงข้ามเอาคนชนบทไปอยู่ในเมืองสักพักก็อาจจะทำอย่างที่ทุกคนทำ  ดังนั้นมุมมองจึงกว้างไกลมาก ที่ต้องเข้าใจก่อนด่วยตัดสินใจ ผมคิดอย่างเนี้ยนะครับ

  • ตามมาอ่านครับพี่ชาย
  • ชอบมุมมองมากเลยครับ
  • บางทีเรามีมุมมองต่างจากคนอื่นเหมือนเหรียญที่มีสองด้านครับผม
  • ขอบคุณมากครับ
ตามมาอ่าน รอบที่สองค่ะ  เพราะชอบบันทึกนี้เพราะรูปสวยมาก ๆ ค่ะ ตอนแรกลืมเขียน

ขอบคุณครับน้องราณี ความจริงถ่ายไว้เยอะ เลือกเอามาเฉพาะแสดงเท่านั้นครับ

สวัสดีครับ  P บางทราย

ภาพ1-3 ช่วยอธิบาย "มุมมอง" ได้อย่างลึกซึ้งมากเลยครับ  

มุมมอง ที่หลากหลาย ยิ่งมีหลายมุมมอง ยิ่งทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เรามองมากขึ้น  แต่ใครจะเห็นอย่างไรคงเป็นอีกเรื่องนึง...

อย่างเช่นเรื่อง ฆ่าหมู นั้นตอนอ่านทีแรกก็สลดครับ(เพราะได้เห็นหมูตัวนั้นจากรูปด้วย) แต่พออ่านจบ  ผมคิดว่าคนสมัยก่อนเค้าจำเป็นต้องหาทางทำให้ ผู้คนที่ร่วมพิธีรู้สึกว่า มีค.จริงจัง มีค.ศักดิ์สิทธิ  และเกิดความยำเกรงขึ้นต่อการกระทำผิดในหมู่คนส่วนใหญ่ที่มาร่วมพิธี    ส่วนการฆ่าหมูเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความขลัง ของพิธีมากขึ้นเท่านั้น...นี่ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งครับ

(ทั้งนี้ไม่มีเจตนาที่จะลบหลู่พิธีกรรมหรือสิ่งศักดิ์สิทธิใดๆทั้งสิ้นครับ)

สวัสดีครับ join to know

ผมเห็นด้วยว่าแล้วแต่มุมมอง  หากว่าด้วยเรื่องนี้มันมีหลายประเด็นที่จะคุยกันต่อในวงกว้างเช่น

  • มุมมองของนักการเมืองต่อสังคมชุมชน จริงๆ แท้จริงเป็นอย่างไร  ทำไมมองอย่างนั้น อะไรสร้างให้เขามองอย่างนั้น เขาควรจะมองมุมไหนบ้าง ฯลฯ
  • มุมมองของชาวบ้านต่อสังคมประเทศเป็นอย่างไร ทำไมต้องมองอย่างนั้น อะไรทำให้เขามองอย่างนั้น มุมมองไหนเขายังไม่ได้มอง ฯลฯ
  • ภาพของสังคม มีมุมไหนบ้างที่ไม่ค่อยมีใครมอง เพราะอะไร จะสร้างให้เขามองได่อย่างไร ฯลฯ
  • ทำไมคนเราจึงยึดมุมมองของตนเอง มองหลายๆด้านแล้ววิเคราะห์ดู องค์รวม น่าจะเป็นวิธีที่ถูกไหม ทำไม ฯลฯ

อีกร้อยแปดคำถามที่จะเอามาถกกันได้  ผมเพียงนำเสนอประเด็นให้ได้คิดกันน่ะครับ  และภาพแรกๆนั้นเป็นการเอารูปธรรมมานำเข้าสู่ประเด็นการนำเสนอน่ะครับ

ส่วนเรื่องพิธีกรรมของชาวบ้านนั้น นักมานุษยวิทนามักจะมองแบบคนใน แบบพยายามเข้าใจเขา และยอมรับเขา ซึ่งมันอาจจะสอดคล้องต่อยุคสมัยหนึ่ง ต่อมาอาจจะไม่เหมาะกับอีกยุคสมัยหนึ่งก็ได้

เราเพียงศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่มีอยู่ อย่างเข้าใจ ส่วนจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย จะเปลี่ยนไม่ควรเปลี่ยนคงเป็นประเด็นใหญ่ที่จะถกกันครับ

ผมพยายามศึกษาสิ่งที่มีอยู่ และความหมารยของการมีอยู่ครับ เพื่อเข้าใจและปฏิบัติตนได้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของเขา (แน่นอนลึกๆเราไม่ต้องการเห็นการฆ่าสังเวยพิธีกรรมแบบนั้นแน่นอน..)

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท