หลังจากดำเนินกิจกรรมด้านกรดูแลผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้าในโรงพยาบาล มาตลอดช่วงเวลา ปีเศษ สิ่งที่สำคัญที่เกิดจากการแสวงหาความรู้ ทั้งจากประสบเหตุการณ์ตรงที่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวางในบล็อกเครื่อข่าย(http://gotoknow.org/dmcommune) การร่วมเล่าเรื่องผ่าน Best practice ในตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน(peer assist )กับโรงพยาบาลเทพธารินทร์ กระบวนการต่างๆเหล่านี้ซึ่งล้วนแต่เป็น ความรู้ปฏิบัติ ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของทีมรักษาพยาบาล และนำไปสู่การดูแลที่ดียิ่งขึ้นในผู้ป่วย โดยเฉพาะการได้มุมมองนอกเหนือการการตั้งรับรักษา ไปสู่กระบวนการในเชิงรุกให้มากขึ้นนั่นเองครับ
ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลจึงกำหนดให้การประเมินเท้าเป็นอีกิจกรรมหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาในปีงบประมาณนี้(2549) นอกเหนือจากการประเมินโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
สัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเป็นสัปดาห์แห่งการเริ่มต้นที่ ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จะได้ลงมือทำจริงๆซะที ได้กำหนดการลงชุมชนเป็นครั้งแรก เพื่อร่วมประเมินเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โดยกำหนดให้ในปี 2549 ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนต้องได้รับการประเมินเท้า ร่วมกับการตรวจประเมินโรคแทรกซ้อนประจำปีอื่นๆ โดยขั้นแรก ทีมได้กำหนด แบบฟอร์มการตรวจประเมินเท้า เพิ่อใช้บันทึก และกำหนดความเสี่ยงในระดับต่าง หลังจากนั้นได้อบรมการตรวจประเมินเท้าให้แก่ทีม 2 ครั้ง และกำหนดแผนการประเมินเท้าดังนี้ครับ
1.ในเขตตำบลธาตุพนม (14 หมู่บ้าน) ในเขตรับผิดชอบของ PCU เขตโรงพยาบาล ร่วมประเมินเท้าในระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม โดยแบ่งเป็น 4 ทีมทีมละ 3 คน ใช้เวลา 9.00 น - 12.00 น. โดยประสานให้ผู้ป่วยในแต่ละหมู่บ้านมารวมกันตามจุดนัดหมายที่ อสม.ประสานงานไว้
2.ผู้ป่วยในเขตตำบลอื่นๆ นัดที่สถานีอนามัยเดือนละ 1 ตำบล โดยใช้ทีมในโรงพยาบาล ร่วมกับพยาบาลใน สอ. ร่วมกันประเมินเท้า เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม 2549 เป็นต้นไป
ผลการทำงานของทีมที่เข้าไปประเมินเท้าเป็นอย่างไร จะไปสอบถาม ผล แล้วรีบนำมาเล่าครับ
ภก.เอนก ทนงหาญ ผู้เล่าเรื่อง
![]() |
![]() |
น.พ.ประกาศิต จิรัปปภา ผู้สอนการประเมินเท้า |
ทีมประเมินเท้า |
![]() |
![]() |
คุณสุภาวดี บุตรไชย ตรวจประเมินเท้าผู้ป่วย หมู่11 |
คุณประเพิญศรี เนตรไลย์ ประเมินเท้าผู้ป่วยที่ หมู่2 |