แนะนำบทความดี Dare to Dream จงกล้าที่จะฝัน


มีเหตุผลหลายประการที่คนไม่กล้าฝัน ...กลัวความผิดหวัง ...ข้อแก้ตัวสารพัด ...ผมแก่เกินไป หนูเด็กเกินไป ผมไม่หล่อ บ้านผมไม่รวย ไม่มีเส้น ข้อแก้ตัวเหล่านี้มีคนเอาชนะมาแล้ว เด็กหนุ่มอเมริกันคนหนึ่งเกิดมาไม่มีแขนไม่มีขาเลย แต่สามารถเอาชนะข้อจำกัดทุกอย่าง เป็นนักกีฬามวยปล้ำที่เป็นเลิศ เอาชนะคนที่มีแขนมีขาครบและตัวใหญ่กว่าด้วยซ้ำ ถ้าคนอย่างเขาทำได้ ผมไม่คิดว่าคนส่วนใหญ่มีข้อแก้ตัวอะไรอีก

เมื่อเช้านี้ผมอ่านหนังสือพิมพ์มติชน คอลัมน์ คนไทยทำได้ บทความของบัณฑิต อึ๊งรังษี (คนไทยที่ประสบความสำเร็จ เป็น Conductor ของวงซิมโฟนีออเคสตราระดับโลก) ชื่อบทความคือ Dare to Dream ความกล้าที่จะฝัน ยกคำพูดของเกอเต้ (กวีที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมัน แบบเดียวกับสุนทรภู่ของบ้านเรา) มาโปรยนำว่า "Whenever you do, or dream you can, begin it." ในบทความมีข้อความหลายอันที่ผมอดจดบันทึกไว้ไม่ได้ เช่น

  • "ในโลกนี้ไม่มีคนขี้เกียจหรอก มีแต่คนที่ยังหาความฝันที่แท้จริงของตนเองยังไม่เจอเท่านั้นเอง" ผมก็เลยคิดต่อว่า ในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่พี่น้องหรือลุงป้าน้าอา หรือครูบาอาจารย์ของใคร หน้าที่หนึ่งของเราคือ ช่วยให้ลูกหลานหรือลูกศิษย์หาความฝันของแต่ละคนให้เจอ ไม่ใช่คอยด่าว่าเขาขี้เกียจ
  • "ประเด็นใหญ่ในบทความนี้ไม่ได้อยู่ที่คำว่า ฝัน แต่อยู่ที่คำว่า กล้า"
  • "มีเหตุผลหลายประการที่คนไม่กล้าฝัน ...กลัวความผิดหวัง ...ข้อแก้ตัวสารพัด ...ผมแก่เกินไป หนูเด็กเกินไป ผมไม่หล่อ บ้านผมไม่รวย ไม่มีเส้น ข้อแก้ตัวเหล่านี้มีคนเอาชนะมาแล้ว เด็กหนุ่มอเมริกันคนหนึ่งเกิดมาไม่มีแขนไม่มีขาเลย แต่สามารถเอาชนะข้อจำกัดทุกอย่าง เป็นนักกีฬามวยปล้ำที่เป็นเลิศ เอาชนะคนที่มีแขนมีขาครบและตัวใหญ่กว่าด้วยซ้ำ ถ้าคนอย่างเขาทำได้ ผมไม่คิดว่าคนส่วนใหญ่มีข้อแก้ตัวอะไรอีก"
  • "การที่คุณตั้งเป้าไว้ที่ดวงดาว แต่ไปได้แค่ภูเขา ก็ยังดีกว่าที่พื้นดินตอนนี้มากมายนัก ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นความล้มเหลวเลยด้วยซ้ำ"
  • "สิ่งเดียวที่ผมมี ที่ช่วยให้ความสามารถอย่างอื่นตามมา ก็คือความกล้าที่จะฝัน"
  • "เมื่อใดที่เราแค่กล้าเดินตามความฝัน ความสามารถต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่าเราเคยมี ก็ปรากฏออกมาเอง"
  • "ทุกอย่างเริ่มต้นจากความกล้าฝันและกล้าลงมือทำ เท่านั้นเอง" 

คนอื่นพูดคำเหล่านี้อาจไม่น่าเชื่อถือเท่าคุณบัณฑิตที่เขียนจากประสบการณ์ความสำเร็จของตัวเอง

เขาเป็นคนไทยไม่กี่คนที่ไปยืนอยู่ในเวทีอินเตอร์ได้ขนาดนั้น เท่าที่ผมนึกออกมีคนเอเชียไม่กี่คนที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้กำกับหรือผู้อำนวยเพลง(conductor)การแสดงดนตรีของวงออเคสตราระดับโลก มีเกาหลีคนหนึ่ง ญี่ปุ่นคนหนึ่ง และอินเดียอีกคนหนึ่ง ตอนนี้มีคนไทยแจ้งเกิดแล้ว คือ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี

หมายเลขบันทึก: 93301เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
อีกอย่างหนึ่งที่อยากฝากไว้ให้คิดครับ คือว่าไม่ผิดที่เราจะมีฝัน แต่การไล่ตามความฝันนั้น ขั้นแรกเริ่มต้นจากการตื่นก่อน
quote ข้างบนนี้ ของผมเองครับ

ผมได้อ่านเหมือนกัน และก็ชอบมาก อ่านแล้วสกิดใจ สกิดต่อมคิด ให้ตั้งประเด็นอีกยาวไกลเลยครับ เช่น ทำไมคนเราถึงไม่เกิดกระบวนการคิดแบบดังกล่าว แต่รอให้คนอื่นคิดแล้วเราก็เอามาอ่านแล้วเกิดสกิดใจ (อย่างผม)  จะหมายถึงระบบการศึกษา หรือ ระบบอะไรดีล่ะ หรือเราต้องสร้างด้วยตัวเอาเอง

ที่สำคัญคือ เมื่อเกิดสกิดใจแล้ว สานต่อความคิดนั้นอย่างไรบ้าง  หรือแค่ได้คิดเล่นๆ แล้วผ่านไป..(ผมมองตัวเอง..) คำตอบอยู่ที่ตัวเองครับ..

สวัสดีค่ะ

คนที่มีความฝัน ที่สามารถ จะกลายเป็นความจริงได้ ดีที่สุดค่ะ

P
Conductor เมื่อ จ. 30 เม.ย. 2550 @ 01:32

คุณ Conductor ครับ

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

เห็นด้วยครับว่าถ้าฝันขณะหลับ และฝันดีก็ควรตื่นขึ้นมาไล่ตามความฝัน

แต่ถ้าฝัน "ขณะตื่น" ก็ดีนะครับ จะได้ "begin it" เลยทันที

ตามมาอ่านค่ะอาจารย์ และเห็นด้วยที่จะกล้าทำตามฝันค่ะ
P

สวัสดีเพื่อนบางทราย (ขอเรียกตามนามแฝงนะ)

  • ทำไมต้อง "เข็น" ครกขึ้นภูเขาด้วย ทั้งเข็นทั้งลากจะเบาแรงไปได้ครึ่งหนึ่ง แต่ก็ขอเอาใจช่วยให้ทำสำเร็จ เอาครกขึ้นไปอยู่บนเขาให้ได้ตามที่ "ฝัน" นะ
  • คำถามที่ตั้งดีมากเลย ที่ว่า "ทำไมเราจึงไม่เกิดกระบวนการคิดแบบดังกล่าว" แล้วที่สงสัยว่า "เป็นเพราะระบบการศึกษาหรือเปล่า"
  • ผมคิดว่าการศึกษามีส่วนสำคัญในกรณีทั่วๆไป เพราะระบบโรงเรียน โดยวิธีการเรียนการสอนไม่ได้กระตุ้นให้นักเรียนฝันอะไร ตรงข้ามให้ "ท่องจำ" ความรู้สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว คนสอนเองก็เข้าใจว่าการศึกษาคือ การถ่ายทอดความรู้ (transfer of knowledge) จากครูหรือตำรา ลูกผมตอนยังเล็กร่าเริงสดใส พอไปเข้าโรงเรียนกลับบ้านมาหงอยทุกวัน เป็นหน้าที่ของครอบครัวอย่างเราๆ ที่ต้องปกป้องเอาเองไม่ให้จินตนาการของเด็กถูกบดขยี้ไปโดยระบบการเรียนกาสอนแบบนั้น เพื่อนเราหลายคนก็เลยไม่ให้ลูกเข้าโรงเรียนไปเลย วิศิษฐ วังวิญญู ก็ทำ Home Made School (คนละอันกับ Home School) ดูหนังสือที่วิศิษฐ เขียน เพิ่งออกไม่นานมานี้ ชื่อ "โรงเรียนทำเอง" ล่าสุดเพิ่งได้ข่าวว่าสวิง (ตันอุด) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เอาลูกออกจากโรงเรียนเหมือนกัน
  • นอกจากเรื่องระบบการศึกษาแล้ว ผมคิดว่าปัญหาของ "คนร่ำรวยจินตนาการ" (อย่างผมก็หนึ่งในนั้น) คือ ทั้งคิดทั้งฝันเรื่องใหม่ๆ แล้วก็เริ่มแต่ไม่ "กัด" เพราะไปฝันเรื่องอื่นต่อ เลยทำอะไรไม่ค่อย "เสร็จ" พอสะสมความ "ไม่เสร็จ" ในแต่ละเรื่องเล็กๆ ได้ถึงระดับหนึ่งก็พัฒนาขึ้นเป็นความ "ไม่สำเร็จ" ของเรื่องใหญ่ แต่จะให้หยุด "ฝัน" ทันทีก็ไม่ได้  สิ่งที่ทำได้ก็คือการต่อสู้กับความ "จับจด" ของตัวเอง และพยายาม "จดจ่อ" กับเรื่องที่มีความสำคัญ "ต้องทำ" ไม่ใช่ "ควรทำ" หรือ "น่าทำ"
  • เรื่องที่ฝัน(ฝันกลางวันนะ เพราะที่ฝันกลางคืนไม่เคยจำได้ ไม่รู้เพราะเหตุใด)มักจะเป็นเรื่องที่ "น่าทำ" ซึ่งหมายถึงไม่ทำก็ไม่เป็นไร แต่ผมก็มักใช้ "เวลา" ส่วนใหญ่อยู่กับเรื่องที่ "น่าทำ" ทั้งหลายแหล่นี้มาก รวมทั้งบางเรื่องที่เขียนใน g2k (จริงๆ ควรเป็น g4k นะ คือ go FOR knowledge คือการสร้างความรู้ใหม่ ไม่ใช่ go TO knowledge ที่ไปหาความรู้ที่มีอยู่แล้วอย่างเดียว - นี่ก็ฝันอีกแล้ว เป็นโรค "ความคิดวิ่งปรู๊ดปร๊าด" จับไม่ค่อยอยู่) 
  • ปีที่แล้วได้ไปเข้าคอร์สอบรมนพลักษณ์(เอนเนียแกรม)มา โดยการชักชวนของน้องจิง (บรรณาธิการสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล) ซึ่งมีประโยชน์มาก ต้องขอบคุณน้องที่ทำให้เราได้เห็นภาพตัวเองที่เป็น "ความจริง" บางอย่างของชีวิตเรา ที่เราไม่ได้สังเกต หรือเห็นอยู่แว๊บๆ แต่มองข้ามไป การเข้าร่วมในกระบวนการกลุ่มที่เราต่างก็เป็นกระจกให้กันและกันอย่างจริงจังจริงใจ (ไม่ทะเลาะถกเถียงกัน) พร้อมๆ กับสังเกตตัวเองไปด้วยนี้ทำให้ผมพบว่าตัวเองเป็นคนลักษณ์เจ็ด นักผจญภัย (วิทยากรเขาไม่บอกครับว่าใครลักษณ์ไหน เป็นจรรยาบรรณของเขา ทุกคนต้องวิเคราะห์ตัวเองค้นพบตัวเองเอาเอง จากการเข้าร่วมกิจกรรมและการอ่านเอกสาร-หนังสือที่เขาแจก เพราะบอกไปอาจไม่ใช่ก็ได้ เขาบอกว่าแม้แต่ตัวเขาเองก็เข้าใจว่าตัวเองเป็นคนลักษณ์นั้นอยู่เป็นปี ก่อนที่จะมาพบว่าไม่ใช่ในภายหลัง)
  • จุดแข็งของพวกลักษณ์เจ็ด หรือ คนเจ็ด อย่างผมคือ คิดเก่ง เชื่อมโยงเก่ง เชื่อมสิ่งที่ดูเหมือนไม่สัมพันธ์กันให้สัมพันธ์กันได้ จึงสร้างความทึ่งความประหลาดใจให้คนรอบข้างได้เสมอ ทำให้มีเสน่ห์ แต่จุดอ่อนคือทำไม่เก่งเพราะ "จับจด" 
  • เป็นปีแล้วครับที่พยายามฝึกตนเองให้ "จดจ่อ" กับเรื่องที่ "ต้องทำ" ไม่ใช่ "น่าทำ" ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการครับ ยังไม่สำเร็จ แต่ดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ไม่ได้โฆษณาเอ็นเนียแกรมว่า "เจ๋ง" ที่สุดนะ แต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยาก "รู้จักตัวเอง" จากประสบการณ์ของผมที่ไปมาแล้ว ตอนนี้มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาเปิดบล็อกร่วมแลกเปลี่ยนอยู่ใน g2k แล้วครับ คุณวาจาสิทธิ์ ลอเสรีวาณิช ลองเข้าไปเยี่ยมเยียนดูก็ได้ครับ ที่ http://gotoknow.org/blog/epicure
1. ผมฝันที่จะได้เวลาไปถ่ายภาพในวันหยุดพักผ่อน

2. ผมฝันที่จะมีผลงานภาพถ่ายเป็นที่ยอมรับของทุกๆคน

ทุกวันนี้ผมข้อ 1 ทำได้แล้ว  เหลือก็แต่เพียงข้อ 2   เพียงอย่างเดียว

เข้าไปคลิ๊กบล็อก เอ็นเนียแกรม ของคุณวาจาสิทธิ์ ตามลิงค์ที่ให้ไว้แล้ว ไม่เจอคะ ค้นไปค้นมา จึงพบว่า เป็นอันนี้คะ http://gotoknow.org/blog/enneagram

ชอบบทความของคุณจังเลยค่ะ

ชอบหลายๆๆประโยค

เช่น "มีเหตุผลหลายประการที่คนไม่กล้าฝัน ...กลัวความผิดหวัง"

 "การที่คุณตั้งเป้าไว้ที่ดวงดาว แต่ไปได้แค่ภูเขา ก็ยังดีกว่าที่พื้นดินตอนนี้มากมายนัก ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นความล้มเหลวเลยด้วยซ้ำ"

"เมื่อใดที่เราแค่กล้าเดินตามความฝัน ความสามารถต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่าเราเคยมี ก็ปรากฏออกมาเอง"

"ทุกอย่างเริ่มต้นจากความกล้าฝันและกล้าลงมือทำ เท่านั้นเอง" 

โดนใจมากเลยค่ะ และทำให้มีพลังก้าวไปได้ดีจังค่ะ

 

ขอบคุณนะคะ

  • แม้แต่ฝันที่ออกแค่แรงสมองยังไม่กล้า แล้วจะออกแรงทำอะไรได้



Play

คนโบราณทิ้งร่องรอยไว้บนหิน  แต่ผาหินอันสูงชันกลับไม่มี
ดวงจันทร์ทอแสงงามยามราตรี     วอนอยากมีวอนอยากได้แต่ไม่ทำ

 

 


  • ผมฝันไว้มากครับ
  • บางครั้งก็เหนื่อยที่จะตามหาฝัน
  • บางครั้งก็ท้อว่าเมื่อไหร่จะถึงฝันซ่ะที
  • แต่ดีใจอยู่อย่างหนึ่งครับ "ผมรู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อ แต่ไม่เคยยอมแพ้มัน ที่จะเอาความฝันของผมมาให้ได้ครับ"
  • เพิ่งเคยเข้ามาอ่านครับ
  • แต่ละบันทึกอ่านแล้วดีจังครับ ได้ความรู้มาก

ขอบคุณ คุณนก ที่ช่วยแก้ Link ไปบันทึกคุณวาจาสิทธิ์

 

ขอบคุณครับคุณ  P ซันซัน 

ผมก็ชอบบันทึกเรื่องสไปเดอร์แมน ๓ ของคุณซันซันเช่นกันครับ

ท่าน P  Man In Flame ครับ
  • พยายามคลิก Play เพื่อไปดูการ์ตูนปริศนาธรรมของท่าน แต่ไม่สำเร็จครับ วันก่อนคลิกไปดูเรื่องอะไรที่ปิดบังตาได้ครับ (คลิกลิงก์จากบันทึกคุณหมอมาโนช)
  • "ดวงจันทร์ทอแสงงามยามราตรี วอนอยากมีวอนอยากได้แต่ไม่ทำ" อ่านแล้วชวนให้นึกถึง บทอ่านสมัยเรียนชั้นประถมแต่ก่อน (เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว) "จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงให้น้องข้าใส่ ขอช้างขอม้าให้น้องข้านั่ง ..." ครับ ขอได้แต่ต้องทำด้วยครับ อยากได้ข้าวก็ต้องลงมือไถหว่านครับ
คุณ P  นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า ครับ
  • ผมก็ยังเหนื่อยกับฝันของตัวเองอยู่หลายเรื่อง แต่ไม่ท้อครับ
  • ขอเป็นกำลังใจครับ

คุณ  P  ออต ครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมครับ ผมก็ได้แง่คิดและความรู้จากข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านเขียนต่อท้ายแต่ละบันทึกมากครับ

  • "ทุกอย่างเริ่มต้นจากความกล้าฝันและกล้าลงมือทำ เท่านั้นเอง"
  • บางครั้งกล้าฝันแต่ไม่ลงมือทำ
  • หรือทำไม่ตามฝันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะข้อคิดดี ๆ
  • มาทักทายพี่ครับ
  • เชื่อว่าถ้าเราฝันแล้วไปให้ถึงฝัน
  • จะประสบความสำเร็จครับ
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ P

สวัสดีครับ P

ขอบคุณสำหรับการทักทายและความเห็นของทั้งสองคน

ความเห็นของทั้งคู่ดึงมาสัมพันธ์กันได้ คือของคุณพิชชา ต้องบอกว่า "ยังดีที่กล้าฝัน" คือดีกว่าไม่กล้า เพียงแต่ต้องก้าวต่อไปอีกหน่อย ส่วนของคุณขจิตที่ "เชื่อว่า" ถ้าฝันแล้วไปให้ถึงได้ก็เท่ากับสำเร็จ อาจต้องเตรียมใจไว้บ้างว่า ๑.ไปถึงแล้วอาจพบว่าไม่ใช่ก็ได้(ฝันผิด) ๒.แม้จะไม่ถึงฝันร้อยเปอร์เซ็นก็ถือว่าสำเร็จขั้นหนึ่ง (หรือจะ 2 ขั้น 3 ขั้น ไปจนถึง n ขั้น) ชวนให้คิดเล่นๆ นะครับ

ที่คุณพิชชาว่าบางครั้งเราก็ "กล้า" ฝัน แต่ยังไม่ลงมือทำ ผมคิดว่าก็ยังดีที่ยังกล้าที่จะฝัน(ใฝ่ฝันนะครับ ไม่ใช่เพ้อฝัน)อยู่ ถือว่ามาครึ่งทางแล้ว ถ้าได้แรงบันดาลใจอีกหน่อย กำลังใจอีกนิด บวกกับแรงฮึดจากข้างใน ก็อาจเดินทางต่อไปได้ แม้จะไปไม่ถึงสุดทางแต่ก็ไม่ถือว่าล้มเหลว ดังที่คุณบัณฑิต อึ๊งรังสี บอกว่า "การที่คุณตั้งเป้าไว้ที่ดวงดาว แต่ไปได้แค่ภูเขา ก็ยังดีกว่าที่พื้นดินตอนนี้มากมายนัก ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นความล้มเหลวเลยด้วยซ้ำ"

 

 

สวัสดีครับคุณอา

P

ถ้าให้ดีต้องฝันแบบรู้ตัวด้วยครับ '(^----^)'

Morpheus:Have you ever had a dream, Neo, that you were so sure was real. What if you were unable to wake from that dream. How would you know the difference between the dream world and the real world?

ยังไงเรียนเชิญคุณอา มาร่วมสร้างฝันกับผมด้วยนะครับ concept idear การเผยแพร่ธรรมะในเชิงรุก

 

ขอบคุณ man in flame ไม่มีรูป มากครับ ผมคลิกลิงก์ไปอ่านฝันของท่านแล้วครับใน concept idear การเผยแพร่ธรรมะในเชิงรุก แต่เสียใจจริงๆ ครับที่ไม่อาจ "ร่วมสร้างฝัน" อันนั้นตามที่ชวนได้ ส่วนสาเหตุที่ไม่อาจร่วมได้นั้นเขียนโดยละเอียดไว้แล้วใต้บันทึกhttp://gotoknow.org/blog/forEarth/94856

ส่วนบันทึกเรื่อง ฝันแบบรู้ตัว ของคุณ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ นั้น เป็นเรื่องของการศึกษาปรากฏการณ์เกี่ยวกับการฝันที่เป็นฝันจริงๆ (dream) บันทึกของผมใช้คำว่า "ฝัน" ก็จริง แต่ในความหมายของการตั้ง "เป้าหมาย" และ "แผนชีวิต" (Life Goal & Plan Setting) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ร่วมด้วย(ในทางปฏิบัติ) แต่"ฝัน"ของคุณ man in flame ก็เป็นฝันดีครับ เราอาจจะได้เห็นอะไรดีๆ หากฝันนั้นเป็นจริง ก็ขอเอา(แต่)ใจช่วยแล้วกันครับ

dreams are control us.

 
นำ code กล่อง medition song มาฝากครับผม

http://gotoknow.org/blog/awakened

copy ไปใส่ในส่วนสำหรับใส่โค๊ดสำหรับ web blog ได้เลยครับ

สวัสดีเจ้า..อ.สุรเชษฐ

ในชีวิตนี้อย่างน้อยก็ยังมีความฝันที่เป็นของของเราเอง...

ฝันให้ไกล  ไปให้ถึง.

มยุรา เชียงใหม่.

"เมื่อใดที่เราแค่กล้าเดินตามความฝัน ความสามารถต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่าเราเคยมี ก็ปรากฏออกมาเอง"

จริงค่ะ อ่านแล้วคิดถึงหนังสือเรื่อง "ขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน" ที่อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ แปลเลยค่ะ ชอบมาก

ขอบคุณสำหรับคุณความเห็นครับ

สุรเชษฐ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท