การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การวิจัย


ประสิทธิผลการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ชุมชนดารุลนาซีอะห์

การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ชุมชนดารุลนาซีอะห์ 
                                                
*ดร.ขวัญตา  บุญวาศ                            
  การวิจัยนี้เป็นประเภท Quasi experimental research             
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 
  1.  ศึกษาสภาพปัญหาด้านจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 
  2.  ศึกษาประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 
ขอบเขตของการวิจัย เป็นการศึกษาประชากรผู้ประสบภัยน้ำท่วม   ณ ชุมชนดารุลนาซีอะห์หมู่ 8 แขวงลำผักชี  เขตหนองจอก  กรุงเทพมหานคร ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านไป 1 เดือน    ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 46 คน  กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)  โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ด้วยความสมัครใจ 
การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่                              1. ขั้นเตรียมการ เป็นการศึกษาข้อมูล ประชากร และพื้นที่  การเตรียมเครื่องมือ และเตรียมทีมงาน
2. ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย        
     2.1 การสำรวจและประเมินปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 
     2.2 การฟื้นฟูสภาพจิตใจโดยการให้คำปรึกษา การให้ความรู้ คำแนะนำการปฏิบัติตนตามคู่มือการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม                    
3. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 
 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 
1. แบบประเมินปัญหาทางด้านจิตใจ 
2. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม
3. คู่มือผู้ประสบภัยน้ำท่วม   
ผลการวิจัย
1. ปัญหาด้านจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วม พบว่า อยู่ในระดับน้อย
(X = 1.80, S.D. = .22) โดยเรียงลำดับปัญหาทางด้านจิตใจจากคะแนนมากไปน้อยได้แก่ นอนไม่หลับ  รู้สึกตื่นเต้นตกใจง่ายกว่าปกติ  หงุดหงิดโมโหง่ายกว่าแต่ก่อน มักจะคิดถึงประสบการณ์เลวร้ายที่ผ่านมา  มีปัญหาสุขภาพกายเมื่อคิดถึงประสบการณ์เลวร้ายที่ผ่านมา เช่น เหงื่อออกมาก มือสั่น หัวใจเต้นแรง ปวดศีรษะ ปวดท้อง หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ ท้องเสีย เป็นต้น  ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้  และไร้อารมณ์  มึนชา ไม่เศร้า ไม่โกรธ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.54-2.11
2. ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ภายหลังการฟื้นฟูสภาพจิตใจ พบว่าปัญหาทางด้านจิตใของผู้ประสบภัยน้ำท่วมลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
และผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีความพึงพอใจต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจอยู่ในระดับ มาก (X = 3.92, S.D. = 0.18) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.71-4.14                                       
  ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจจึงมีประสิทธิผลและเหมาะสมต่อการนำไปใช้และพัฒนาให้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ต่อไป

             

 

หมายเลขบันทึก: 92754เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นไงบ้างคะ เหนื่อยหรือเปล่า ไม่ได้เข้าไปฟังอาจารย์นำเสนอเลย

ได้ลองทำ slide.com หรือยังคะ

มาม่ายังไม่ได้แนะนำครูเลยว่าจะนำเข้ามาใช้อย่างไร และเพลงด้วย

เข้าไปใน slide.com เลือกรูปแบบที่ชอบได้เลยคะ หลังจากเสร็จ save แล้วจะมี code ให้ copy code มาวางไว้ที่ แก้ไขบล็อก เหมือนตอนที่เราตกแต่งหน้าบล็อกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท