BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๒๐ : ตัวแทนทางศีลธรรม


ปรัชญามงคลสูตร

คาถาที่ ๖ ในมงคลสูตร คือ

การงดเว้นจากบาป. การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา. และการไม่เมามัวในธรรมทั้งหลาย. สามอย่างนี้จัดเป็นมงคลอันสูงสุด

ก่อนจะขยายความคาถานี้ ผู้เขียนจะทบทวนแนวคิดพื้นฐานนี้อีกครั้ง....กล่าวคือ ในสามคาถาเบื้องต้นจะเป็นความสำคัญในช่วงปฐมวัย โดยในคาถาแรกจะเป็นการวางหลักความเจริญก้าวหน้า... คาถาที่ ๒ จะเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ นั่นคือ ตั้งแต่แรกเกิดควรจะเป็นอย่างไร... คาถาที่ ๓ จะว่าด้วยการเตรียมตัวเองเพื่อจะได้ดำรงชีวิตที่ดีต่อไปในภายภาคหน้าว่าควรจะเป็นอย่างไร...

คาถาที่ ๔-๖ จะเป็นความสำคัญในช่วงมัชฌิมวัย ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มทำงานมีครอบครัว... โดยในคาถาที่ ๔ จะเป็นการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ...  และคาถาที่ ๕ จะเป็นการกระทำบางอย่างเพื่อสังคม อันเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำตามความเหมาะสม...

ผู้เพิ่งแรกเข้ามาอ่านหรือต้องการทบทวนสามารถย้อนรอยไปดูของเก่าได้ตามลำดับ....

ในคาถาที่ ๖ นี้ เป็นธรรมสำหรับผู้ที่กำลังจะสู่ปัจฉิมวัย คือเริ่มจะเข้าสู่บั้นปลายชีวิต... ซึ่งช่วงนี้อาจเทียบอายุประมาณ ๓๕-๔๕ ปี.. นั่นคือ คนวัยนี้ จะผ่านสิ่งต่างๆ มามากแล้ว เริ่มมีลูกหลาน หรือมีลูกน้องลูกศิษย์ ตามสถานภาพ.... บางคนอาจประสบความสำเร็จบ้างแล้ว บางคนก็อาจยังไม่ประสบความสำเร็จเลยก็มี...อีกนัยหนึ่ง สุขภาพของคนวัยนี้ก็เริ่มอ่อนแอ ร่างกายบางอย่างก็อาจเสื่อมไปตามสภาพ หรือบางคนก็อาจกลายเป็นผู้พิกลพิการมิได้สมประกอบดังเช่นสมัยก่อน...เป็นต้น....

บรรดาคนในวัยนี้...ผู้ประสบความสำเร็จในทรัพย์สินเงินทองและยศถาบรรดาศักด์ ก็อาจหลงระเริง มัวเมา ไม่เกรงกลัวสิ่งหนึ่งสิ่งใด... บางคนมีปัญหาประแดประดังเข้ามา ไม่สามารถยืนหยัดกับความเป็นจริงได้ก็อาจเข้าหาสิ่งเสพติดหรืออบายมุขต่างๆ เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นมาคอยหลอกหลอนเพียงเพื่อหลีกหนีจากความเป็นจริงไปวันๆ... ประมาณนี้

ดังนั้น ในคาถานี้จึง กำหนดว่า ให้งดเว้นจากบาป ให้รู้จักสำรวมจากการดื่มน้ำเมา และไม่เป็นผู้มัวเมาในสิ่งต่างๆ....

อนึ่ง เพราะมีลูกมีหลาน มีลูกน้องลูกศิษย์... นั่นคือ คนวัยนี้จะมีสถานภาพเป็นพ่อแม่ หัวหน้า หรือครูบาอาจารย์ ซึ่งก็ต้องประพฤติตัวเพื่อเป็นแบบอย่างต่ออนุชนเหล่านั้น ดังนั้น การงดเว้นจากบาป การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา และการไม่มัวเมาในธรรมทั้งหลาย จัดว่าเป็นคุณธรรมเบื้องต้น ที่คนวัยนี้จะต้องประพฤติให้ได้เพื่อเป็นแบบอย่างต่ออนุชนเหล่านั้น....

ดังนั้น คาถานี้ ผู้เขียนจึงให้ชื่อว่า ตัวแทนทางศีลธรรม ซึ่งเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญที่สุดในคาถานี้....

ส่วนรายละเอียดจะนำมาเล่าในครั้งต่อไป...    

หมายเลขบันทึก: 92537เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบนมัสการหลวงพี่ BM.chaiwut ค่ะ

รู้สึกว่าจะมีการเขียนในส่วนนี้ผิดใช่ไหมคะ ไม่มัวมัว ดิฉันอ่านดูในเนื้อความ น่าจะเป็น "มัวเมา"

ถ้าแก้แล้วหลวงพี่ลบความเห็นนี้ได้เลยค่ะ

P

ขออนุโมทนาต่อความละเอียดรอบคอบของคุณโยมอาจารย์...

อาตมาได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว...

คำว่า มัวเมา หรือ เมามัว อาตมาแปลมาจากคำว่า อัปปะมาโท ซึ่งเรามักแปลกันทับศัพท์ว่า ความไม่ประมาท...

กำลังนึกเล่นๆ ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี... พออาจารย์ทักท้วง ก็มีบางอย่างแว๊บขึ้นมาในคลองความคิด... จะเสนอคำว่า ประมาท ในเรื่องเล่าภาษาบาลี...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท