เมื่อกระทบอารมณ์ที่ไม่ดี


อารมณ์ภายนอก คือ สิ่งที่ใจของเรารับรู้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันทุกคนได้พบกับอารมณ์ทั้งภายนอกเข้ามากระทบ และอารมณ์ภายในใจ (ได้แก่ความรู้สึก นึกคิด)ของตนเองตลอดเวลา

อารมณ์ภายนอกที่ไม่ดี สามารถนำพาให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวภายในใจ คือความโกรธได้ง่าย เพราะธรรมชาติของใจ มักนิยมอารมณ์ที่ดีๆอยู่เสมอ ซึ่งเนื้อแท้ก็ คือ ความโลภ ทั้งความโกรธและความโลภนี้ เกิดมาด้วยความหลงไหลไปตามอารมณ์ ไม่รู้เท่าทันความเป็นจริงของใจ มีสาเหตุมาจากขาดการฝึกฝนสติ อันเป็นกิจพึงกระทำบ่อยๆ ควบคู่ไปกับการทำความดีต่างๆ

สติสัมปชัญญะ มีอาหารที่ทำให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี คือ การทำบุญกริยาวัตถุ 10 ประการ และกุศลกรรมบถ 10 ประการ
(จับต้นถึงปลาย จบปลายถึงต้น)

สติ ที่กล่าวถึงในที่นี้ มิใช่ สติตามธรรมดา อย่างเช่น การเดินไปมา หรือ การเจรจาพูดคุยกับผู้คนในสังคมอย่างเข้าใจกัน เท่านั้น แต่่เป็นสติที่ประกอบไปในการเจริญสติปัฐฐาน 4 ประการ ประกอบด้วยการพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม ของตนเองเป็นหลัก โดยมีประโยชน์ คือ ความสุขใจ เป็นผลในเบื้องแรก และที่สุด

การเริ่มต้นเจริญสติไม่ง่ายสำหรับคนไม่ตั้งใจ และไม่ยากสำหรับผู้ที่มีความใส่ใจ

ขอให้ท่านประสบกับความสุขดังที่มุ่งหวังโดยทั่วหน้ากันครับ 

หมายเลขบันทึก: 92156เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอาแค่สติธรรมดาก่อนก็ได้ครับ แค่สำนึกรู้ว่าอารมณ์เป็นอย่างไร กำลังทำอะไร มีอะไรเกิดขึ้น อะไรตั้งอยู่ แล้วก็อะไรดับไป

บางคนไม่เคยประสบพบพานสติธรรมดา ๆ นี้ด้วยซ้ำ

ขอบคุณกับข้อแนะนำครับคุณอุทัย

แต่่ว่า สติที่เข้าไปรู้ ไตรลักษณ์ที่คุณกล่าว ไม่ธรรมดาแล้วล่ะ เป็น สติปัฐฐาน ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท