ฝายแม้ว


ฝาย (Check dam)
ฝาย (Check dam) เป็นแนวพระราชดำริ ทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้ ซึ่งปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น คือน้ำอันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดีและทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า CHECK DAM หรืออาจเรียกว่าฝายชะลอความชุ่มชื้นก็ได้เช่นกันฝาย คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่งรูปแบบและลักษณะฝายนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ
“.......
สำหรับต้นน้ำไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตามสำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก......

ฉะนั้นเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง หรือในห้วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ชะลอการไหลและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร ไม่ให้ไหลหลากอย่างรวดเร็วและทำให้น้ำซึมลงสู่ดินได้มากขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าต้นน้ำลำธาร ลดความรุนแรงของการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน และสามารถกักเก็บตะกอนและเศษซากพืชที่ไหลลงมากับน้ำในลำธารบนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งจะช่วยยืดอายุของแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง และทำให้มีปริมาณและคุณภาพของน้ำที่ดีขึ้นกักเก็บน้ำไว้เป็นแหล่งน้ำ สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่า ตลอดจนการเกษตรกรรมจึงน่าจะมีการเผยแพร่แนวคิดนี้ให้เกษตรกรรับรู้ได้อย่างแพร่หลาย

คำสำคัญ (Tags): #ฝายแม้ว
หมายเลขบันทึก: 91783เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นค่ะ ลักษณะฝายเหมือนในโฆษณาในทีวีของปูนซีเมนต์ไหมคะ

วันก่อนดูข่าวแว๊บๆ ดูเหมือนจะให้เรียกชื่อฝายเป็นอย่างอื่น ไม่ให้เรียกว่าฝายแม้ว...ตรงนี้ไม่แน่ใจค่ะ ..ไม่ทราบว่าท่านใดพอจะให้คำตอบได้น่ะค่ะ

เรียกว่าอย่างนั้นจริงๆ ครับ ลองอ่านดูจากลิ้งนี้น่ะครับ

http://www.dnp.go.th/checkdam_site/page1.htm

ขอบคุณค่ะ ...แต่ที่ลิ้งค์และเรียกว่า "ฝายแม้ว" เป็นคำที่เรียกใน ปี 2547

คือเร็วๆ นี้ (ปี 2550)ค่ะ มีข่าวออกมาว่าไม่ควรเรียกว่า ฝายแม้ว เพราะว่าฝายนี้ เป็นฝายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริและพระราชทานแนวพระราชดำริ ไม่ใช่การจำลองแบบฝายของแม้ว หรือแม้วเป็นคนคิดลักษณะฝาย

ว้า...ขอโทษค่ะ ที่ไม่สามารถให้อ้างอิงได้ว่า ได้ความรู้ส่วนนี้จากทีวีช่องไหน...เอาเป็นว่าจะช่วยๆ หา หรือช่วยกันหาดูนะคะ

คุณจันทรรัตน์ ครับ ผมตรวจสอบข่าวจากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 29 มี.ค. 50 ก็ยังใช้คำว่า ฝายแม้วอยู่น่ะครับ แต่ยังไง ก็ขอบคุณมากครับที่แนะนำมาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท