องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมนำความรู้


“คุณธรรมนำความรู้”

บทที่  2
องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมนำความรู้
ความสำคัญของคุณธรรมนำความรู้
                  ปัญหาทางสังคมได้ทวีความซับว้อนและรุนแรงขึ้นทุกขณะ  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการมีค่านิยมความฟุ้งเฟ้อ   การเลียนแบบ  การแพร่ระบาดของยาเสพติด การก่ออาชญากรรม การทำแท้ง การฆ่าตัวตาย  วึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาของเด็กและเยาวชน แม้นแต่ผู้ใหญ่ก็ไม่สามารถปรับตัวในสถานการณ์ดังกล่าวได้
    จากการสำรวจของสำนักงานเลขา
การสภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวาดุสิต “สวนดุสิตโพล” ( WWW. Saimrat.co.th )  ซึ่งได้สำรวจเมื่อ  วันที่  10 -  18  มีนาคม  2550 สรุปผลการสำรวจดังนี้
ที่ ปัญหาคุณธรรม:ด้านสภาพแวดล้อม นักเรียน/นักศึกษา ผู้บริหาร/ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง
1. ภัยจากอินเตออร์เน็ต/ซีดี/วีซีดี 14.45 % 15.09 % 14.91 %
2 สิ่งเสพติด 13.99 % 13.11 % 13.95 %
3. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 13.23 % 13.40 % 12.64 %
4. การมั่วสุมในแหล่งต่างๆเช่นโรงภาพยนตร์ ร้านสุราผับ  ห้างสรรพสินค้า 12.65 % 12.91 % 12.92 %
5. ค่านิยมการใช้สินค้าฟุม่เฟือย 12.01 % 12.37 % 12.35 %
6. เลียนแบบคนต่างชาติ 11.57 % 11.48 % 10.76 %
7. การให้อิสระเสรีแก่วัยรุ่น 10.75 % 11.65 % 10.80 %

             จากภาวะวิกฤตคุณธรรมของเยาวชนไทย   ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาเร่งด่วน  ซึ่งทุกฝ่ายควรร่วมมือกันแก้ไข  กระทรวงศึกษาธิการจึงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง การปฏิรูปการศึกษาจึงมุ่งเน้น   “คุณธรรมนำความรู้”  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขวิกฤตของเยาวชนไทยดังกล่าวข้างต้นได้
ความหมายของคุณธรรมนำความรู้
        ความหมายของคุณธรรม
                      พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตสถาน พ.ศ 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรมหมายถึง สภาพคุณงามความดี
                     ดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2543 ) ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม คือสิ่งที่บุคคลยอมรับว่าป็นสิ่งดีงามมีประโยชน์มาก และมีโทษน้อย
                     สุวิทย์  มูลคำ และอรทัย  มูลคำ ( 2546 )  กล่าวว่า  คุณธรรม  หมายถึง  สภาพคุณงามความดีไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
 สรุปได้ว่า  
           คนที่มีคุณธรรม     หมายถึง  คนที่ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น  มีความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดี และมีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
          คุณธรรมนำความรู้  หมายถึง สภาพคุณงามความดีต้องมาก่อนความรู้ ความสามารถ(คนเก่ง )

การเสริมสร้างคุณธรรม        แนวทาง   มรรค 8 แห่งการส่งเสริมคุณธรรมประกอบด้วย
 1.   ผู้ปกครองทุกระดับต้องตั้งอยู่บน ความถูกต้อง  ความสุจริต ยุติธรรม เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครอง จะกระทบกับทุกอณูของสังคม    ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม ผู้ปกครองทุกระดับ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปถึงหัวหน้าครอบครัวต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
              2.  ครอบครัวอบอุ่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าคนที่ไม่ได้อยู่กันครอบคร้ว
             3.  ชุมชนแข็งแรง     ชุมชนเข้มแข็ง  จะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าชุมชนที่ไม่เข้มแข็ง
             4.   การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่    การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข  สัมมาชีพเป็นอาชีพที่ไม่บียดเบียนตนเอง  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้  สัมมาชีพเป็นการบูรณาการของความดี
             5.  การมี สปีริตแห่งความเป็นอาสาสมัครเต็มแผ่นดิน รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ภาคเอกชน ใช้เวลาช่วงหนึ่งในแต่ละปีเป็นอาสา
สมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเมล็ดพันธ์แห่งความดีในจิตใจของแต่ละคนให้งอกงามขึ้น  และเป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ามาหากันด้วยความเมตตากรุณา
              6. ส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิต ในขณะที่จิตสามารถฝึกอบรบให้มีความสุขได้ ฝึกอบรมให้ลดความเห็นตัวได้  ฝึกอบรมให้มีสติ มีสมาธิ มีปัญญายิ่งๆขึ้นได้ คนปัจจุบันเกือบไม่มีการพัฒนาจิตเลย  ควรส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน  ส่งเสริมให้มีศูนย์พัฒนาจิต  ทั้งทางสถาบันทางศาสนา  หรือดำเนินการโดยฆารวาส
             7.  การศึกษาที่เข้าถึงความดี   การศึกษาของเราเกือบทั้งหมดเอา วิชา เป็นตัวตั้ง  จึงทำให้เข้าไม่ถึงความดี  ในขณะที่ มีคนที่คิดดีทำดีอยู่ด้วย  การศึกษาของคนเราไม่รู้จักค้นหาสิ่งเหล่านั้น  การศึกษาทุกระดับควรไปศึกษาวิจัยในพื้นที่ให้รู้จักคนดีๆ แล้วนำมาสื่อสารเรียนรู้กัน  เรื่องคนดีก็จะซึมซับเข้าไปสู่ผู้เรียน
             8.  การสื่อสารความดี   เป็นสิ่งที่มีพลังมากทั้งทางบวก และทางลบ  ควรมีการสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม
ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรม
                     คุณธรรมสามารถจะพัฒนาให้มีขึ้นในตัวบุคคลได้  โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก  การพัฒนาการของคุณธรรม หรือการกำเนิดคุณธรรมนี้  มีนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆได้สรุปเป็นทฤษฎีไว้หลายทฤษฎี ที่สำคัญคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม  ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา  และ  ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก   ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory )
                  ฟรอยด์ ( Freud )   นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้กล่าวว่า  คุณธรรมของคนนั้นอยู่ในส่วนตน  ซึ่งได้รับการขัดเกลาจากสังคม และจะคอยควบคุมพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และค่านิยมของสังคมและคุณธรรมของเด็ก  มีพัฒนาการจากความละอายในพฤติกรรม ที่เกิดจากแรงขับ  2  ตัว   คือ    แรงขับทางกามรมณ์  และแรงขับความก้าวร้าว ซึ่งแรงขับนั้นจะผสมผสานกัน การเรียนแบบโดยเด็ก จะรับเอาบุคลิกภาพ  ค่านิยมและมาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ของสังคมจากพ่อแม่และบุคคลใกล้ชิด  มาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ  เมื่อใดเมื่อตนปฏิบัติไม่สอดคล้องกับค่านิยม หรือมาตรฐานที่ตนนับถือ   คุณธรรมที่อยู่ในส่วนตนก็จะกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งในใจ  จนเกิดความวิตกกังวล  จนต้องเก็บกด หรือถูกระงับการกระทำที่ไม่ถูกไม่ดี ไม่ควร
               2.  ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม (Operent Conditioning  )
                   ทฤษฎีนี้เสนอโดยสกินเนอร์  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า มนุษย์ไม่มีเสรีภาพ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมด้วยเงื่อนไขแห่งการเสริมแรง  และเงื่อนไขแห่งการลงโทษ เงื่อนไขทั้ง  2  อย่างนี้ จะเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง ผลการกระทำของคนเราที่ได้รับจะเป็น 2 ลักษณะคือ  ผลการกระทำที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแรงเสริมให้แก่การกระทำนั้นมีต่อไป  และผลการกระทำที่ทำให้ไม่พึงพอใจจะเป็นตัวทำให้คนเรากระทำพฤติกรรมเช่นนั้นลดลง หรือหยุดไปในที่สุด
                3.ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม  (  Value Calification Theory ) ทฤษฎีนี้เสนอโดยแรทส์ ฮาร์มิน มีสาระสำคัญคือ  การทำค่านิยมให้กระจ่างนั้น คือกระบวนการที่บุคคลสามารถเลือกค่านิยมโดยอาศัยความรู้สึกและการวิเคราะห์พฤติกรรมว่าจะเลือกแสดงพฤติกรรมอย่างใด เมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องเลือกและช่วยในการกำหนดว่า การเลือกพฤติกรรมเช่นนั้นมีเหตุผลหรือไม่  ความกระจ่างของบุคคลมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
       3.1  บุคคลเลือกกระทำอย่างอิสรเสรีไม่มีการบังคับ
       3.2  บุคคลเลือกทางเลือกหลายๆทาง
       3.3  บุคคลเลือกจากการพิจารณาผลของทางเลือกแต่ละทางแล้ว
      3.4  บุคคลมีความยินดี และภูมิใจในการเลือกกระทำสิ่งนั้น
      3.5  บุคคลยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนอย่างเปิดเผย
      3.6  บุคคลกระทำตามที่ตนตัดสินใจเลือก และชักชวนผู้อื่น เมื่อมีโอกาส
      3.7  บุคคลกระทำพฤติกรรมนั้นเป็นประจำ แม้นว่าผู้อื่นจะไม่กระทำตาม
4.    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ( Social Learning  Theory )        
ทฤษฎีนี้เสนอโดย แบบ ดูรา ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานว่า คุณธรรมเป็นความเข้าใจเพฃกี่ยวกับกฎเกณฑ์
สำหรับการประเมินความถูกผิดของพฤติกรรมการเรียนรู้ มี 3  ส่วน ได้แก่  ประสบการณ์ตรงของบุคคลจากการสังเกตผู้อื่น  จากการฟัง  และจากคำบอกเล่าของผู้อื่น  การเกิดคุณธรรมแบ่งเป็น  4  ประการ  คือ
                    4.1   สิ่งที่เรียนรู้
                    4.2  วิธีการเรียนรู้
                    4.3  ความเชื่อ
                    4.4  การควบคุมพฤติกรรม
              5.  ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ( Cognitive Development  Theory    )
 เพียเจท์ มีความคิดว่า พัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความฉลาด ในการที่จะรับรู้กฏเกณฑ์ และได้แบ่งขั้นของพัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ เป็น  3  ขั้น
1. ขั้นก่อนคุณธรรม  เป็นขั้นที่เด็กจะเชื่อฟังตามคำสั่งของคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. ขั้นยึดคำสั่ง  เป็นขั้นที่เด็กจะปฏิบัติตามกฎเกรพ์ต่างๆ
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กจะมีพัฒนาการในใจเขา  สำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง  รับผิดชอบในพฤติกรรมของตนเอง
6. ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก
              เมื่อบุคคลมีโอกาสได้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ได้รับฟังคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในทัศนะใหม่  โดยเฉพาะจากบุคคลที่มีระดับพัฒนาการทางคุณธรรมที่สูงกว่า ก็จะช่วยให้เกิดการพัฒนาการทางคุณธรรมในขั้นที่สูงขึ้นได้  การพัฒนาคุณธรรมเกิดจากการผสมผสานความรู้ที่ได้จากการปรับตัว เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น  บุคคลจะเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น บทบาทของบุคคลอื่นๆ  และข้อกำหนดจากกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม  มาผสมผสานกันเกิดเป็นความเข้าใจใหม่ที่สามารถอธิบายสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด รู้จักใช้เหตุผลในขั้นที่สูงขึ้นได้
                ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้นั้นอกจากครูผู้สอนได้เห็นความตระหนักในการปรับการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้แล้ว  ครูผู้สอนควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยให้สอดแทรกคุณธรรมในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จัดประกวดสื่อการเรียนการสอนด้านคุณธรรม  ยกย่องเชิดชูผู้มีคุณธรรม  จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามความเหมาะสมในบริบทของสถานศึกษา   และครูผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
 ดังคำกล่าวที่ว่า  “ เป็นแบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน “

 

ผู้รับผิดชอบ      1.  นางวาสนา   เขตกัน   2.  นายทน  เขตกัน       3.  นางสาวรัตนาภรณ์ สิงห์ท้าว

หมายเลขบันทึก: 91211เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ คุณวาสนา

       น่าสนใจมาก ..........

        ครอบครัวมาอันดับหนึ่ง   แล้วต้องมีโรงเรียนมาช่วยเป็นแรงเสริมอีกทาง 

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  ขอบคุณที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
ถูกต้องที่สุดคะครู  บ้านสร้าง  โรงเรียนเสริม  สังคมเติม  วัดแต่ง 
รุ่งกิติยา นิ่มมาศ

คณุครูสวยมากค่ะจากเด็กนักเรียนชั้น ม3 ตอนนี้หนูอยู่โรงเรียวเขาสมอดอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท