R2R ศิริราช พบ ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก อิ่มเอมกันถ้วนหน้า


“การดูแลคนไข้ที่ดี คือการทำงานวิจัย”
วันที่ 11 เมษายน 2550 บ่ายวันนี้โครงการ R2R ที่ศิริราชเราได้รับเชิญจากภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก ไปเล่า concept ของการทำงานแบบ R2R ให้กับบุคคลากรภายในภาควิชาทั้งแพทย์ นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการต่างๆ และเพื่อพิจารณาโอกาสที่จะสร้างความรู้จากงานประจำที่ทำอยู่ ตอนแรกต้องเรียนครับว่าผมก็กล้าๆกลัวๆเหมือนกันครับเพราะภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิกของศิริราชเป็นภาควิชาที่มีผลงานด้านการพัฒนาคุณภาพในระดับแนวหน้าเลยทีเดียว และห้องปฏิบัติการก็ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO แล้วด้วย  แต่ผล……. กลับออกมาตรงข้ามกันมากๆครับ เกินความคาดหมายจริงๆ หลังจากที่ผมเล่า concept และตัวอย่างโครงการที่เป็น R2R แล้ว เราก็พูดคุยกัน ปรากฏว่าแพทย์และเจ้าหน้าที่หลายๆท่านยกประเด็นปัญหาหน้างานขึ้นมาคุยกันเป็นจำนวนมาก และยังเล่าเรื่องเสริมกัน ช่วยกันร่วมคิดหาทางแก้ปัญหา ปัญหาหลักๆคงเป็นเรื่องที่เคยคุ้นๆกัน คือ turn around time และ การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจเป็นต้น ซึ่งหลังจากคุยกันแล้วท่านหัวหน้าภาคฯ อ.นิสารัตน์ ก็เลยโชว์ให้เห็นขนาดของปัญหาและจุดคอขวดต่างๆที่มีการบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบดียิ่ง สามารถแสดงเป็น graph ในมิติและช่วงเวลาต่างๆอย่างชัดเจน ทีนี้พอบุคคลากรที่เข้าร่วมเห็นภาพรวมร่วมกันแล้วก็ร่วมกันแสดงแนวทางปรับปรุง และที่สำคัญมีคนขอรับผิดชอบเป็นเจ้าของโครงการและขอเป็นคนช่วยกันมากเลยครับ ประเด็นที่สำคัญมากๆเลยครับ 2 ประเด็นในความเห็นของผมนะครับ
  1. ผมคิดว่าความสำเร็จของการทำงาน R2R ต้องไม่เริ่มคิดถึงงานวิจัยเป็นอันดับแรก แต่คิดถึงการทำงานที่ทำอยู่ ว่าทำยังไงให้ดีที่สุดเป็นสำคัญ จะดูแลคนไข้ให้ดีต้องทำอย่างไร ผมขอ Quote คำพูดของท่านอาจารย์จรัส สุวรรณเวลาที่กรุณามาปาฐกถาช่วงค่ำในการประชุมทำแผนโครงการต่อเนื่องของ R2R ที่ศิริราชว่า การดูแลคนไข้ที่ดี คือการทำงานวิจัย ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะพบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ การดูแลคนไข้ที่ดี ผู้ดูแลก็ต้องมีการทบทวนและศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะทำให้คนไข้ได้รับการดูแลดีที่สุด ซึ่งผมขอต่อครับว่า เป็นการทำบุญ ด้วยไปในตัว
  2. อันนี้สำหรับ คุณเอื้อ และคุณอำนวยนะครับ ต้องไม่ทำให้คุณกิจเห็นว่าเป็นงานใหม่ เอางานอะไรมาเพิ่มเติมให้ทำอีกแล้ว ต้องทำให้เห็นว่าจริงๆเป็นงานเดิมแต่ทำยังไงให้ดีขึ้นและทำยังไงให้ทำงานแล้วไม่เหนื่อย หรือเหนื่อยก็ต้องได้ประโยชน์ทั้งต่อผู้ป่วย ต่อองค์กร และก็ต้องผู้ทำงาน R2R เองด้วยครับ
 จากการพบกันสั้นๆครั้งนี้เกิดจุดประกายให้มีผู้อยากทำงานและอยากร่วมทำงาน เป็นจำนวนอย่างน้อย 4 โครงการ ผมต้องเรียนว่าทึ่งกับผลการประชุมครั้งนี้มากๆครับ และท่านหัวหน้าภาคฯเองก็ยัง endorse เพิ่มเติมอีกว่าจะจัดให้มีรางวัลด้วย เบื้องต้นบอกว่าจะให้มีทุก 3-4 เดือนเลยครับ ผมว่าคงมีเรื่องน่าสนุกให้เราได้ทำงานร่วมกัน และคงมีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังอีกมากเลยครับ ตอนนี้งาน R2R เอาขยายการสนับสนุนไปนอกส่วน Patient Care Team อย่างชัดเจนไปยังทุกกลุ่มที่มีการทำงานประจำแล้วครับ (ปัจจุบันมีโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนไปแล้วกว่า 40 โครงการ)  ต้องขออภัยด้วยที่ไม่มีรูปภาพมาให้ดูกัน ผมลืมเอากล้องไปครับ ไม่งั้นคงได้เห็นพระเอก นางเอกของงานนี้กันเพียบเลยครับ ฝันลึกๆว่าคงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างพยาธิคลินิกที่ศิริราชและ Patho-OTOP ที่สงขลากันด้วยครับ 
หมายเลขบันทึก: 89810เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจ R2R ขอร่วมวงสนทนาด้วย นอกจากการทำงานไม่เหนื่อยแล้ว ต้องทำให้เกิดความกลมกลืน เสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตทำงานช่วยทำให้ลดความกดดัน เพราะบางคนกลัวเรื่องตัวเลข (ยกเว้นวันที่ 16 และสิ้นเดือน) การเก็บข้อมูล หรืองานเอกสารครับ

เพิ่งได้อ่านบันทึกนี้  ยังไงก็คงไม่เชยที่จะแสดงความยินดีกับอาจารย์ กับความคึกคักที่ได้สัมผัสนะคะ  พี่อ่านบันทึกแล้วรู้สึกได้จริงๆ ว่าอาจารย์มีความสุขมากๆ

พยาธิคลินิคศิริราช มีต้นทุนทางวิชาการอยู่มาก แค่อาจารย์จุดประกายนิดเดียว ก็ไปโลดแน่นอน

ตอนนี้ Patho OTOP3 ก็กำลังจะเริ่มเช่นกันค่ะ ที่นี่ 

ฝันเช่นกันค่ะ และมากกว่านั้นไปอีก ว่าชาวแล็บ จากหลายๆ โรงพยาบาล เขาจะมีเวทีนำผลงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ตอนนี้ ยังไม่ได้ทำอะไรกับฝันนั้นเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท