Erdős & Ramanujan เรียนรู้ชีวิตสองขั้วของนักคณิตศาสตร์


อ่านหนังสือแปล 2 เล่ม ที่แปลโดยคุณ นรา สุภัคโรจน์ แล้วจะเห็นสองขั้วชีวิตนักคณิตศาสตร์ที่น่าเรียนรู้

เล่มแรก "ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข" เล่าถึงชีวิตของแอร์ดิช นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ซึ่งถึงแก่กรรมไปเมื่อสิบกว่าปีนี้เอง

อีกเล่ม "รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ" ซึ่งเป็นคนในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย

ทั้งคู่เหมือนกันตรงที่มีความหมกมุ่นในวิทยายุทธคณิตศาสตร์ ใช้ชีวิตแบบลืมกิน ลืมนอน และใช้ชีวิตเยี่ยงสันยาสี ไม่คิดหาเงินเพื่อสะสม แต่เพียงเพื่อใช้ปูเส้นทางเดินแบบวันต่อวัน เพื่อมีเวลาเล่นกับตัวเลขต่อ

แตกต่างตรงที่ ชีวิตของรามานุจัน เป็นชีวิตที่บีบคั้นรันทด ส่วนชีวิตของแอร์ดิช กลับเต็มไปด้วยความครึกครื้นเฮฮา

ทั้งคู่สร้างสรรค์ผลงานในระดับที่ทัดเทียมกับออยเลอร์ ใครสนใจคณิตศาสตร์ มิอาจเพิกเฉย

"ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข" น่าอ่านเพราะเล่าเรื่องคณิตศาสตร์ให้ผู้อ่านได้บันเทิงใจเป็นระยะ และชีวิตก็แอร์ดิชนี่ก็ ...ต้องใช้คำว่า .. สุดยอด

เช่น...แอร์ดิชโม้ว่า...

ตอนเขาเป็นเด็ก นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกนี้อายุสองพันล้านปี

พอเขาแก่ตัว นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกนี้อายุสี่พันห้าร้อยล้านปี

4500Myr - 2000 Myr = 2500 Myr

ดังนั้น เขาจึงมีอายุสองพันห้าร้อยล้านปีแล้ว

ไดโนเสาร์เรอะ ? เช้อะ..เด็ก ๆ เกิดทีหลัง อย่ามาแข่งเชียว

เป็นไงครับ ? มันส์เขาละ

แต่ชีวิตรามานุจันต่างกัน คือเป็นชีวิตที่ด้อยโอกาสทุกอย่าง แม้แต่โอกาสในการเข้าถึงตำราเรียน !

เขาเปิดชีวิตทางคณิตศาสตร์ของตัวเองด้วยการทำแต่โจทย์คณิตศาสตร์ที่ได้ตอนวัยเด็ก สรรค์สร้างวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะตัวที่นักคณิตศาสตร์ร่วมยุคต้องทึ่ง โดยนักคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่สามารถตามความคิดของเขาได้ทัน !

อ่านชีวิตของรามานุจันแล้วจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ว่าหนังสือดี ๆ มีพลังมหาศาลต่อชีวิตเด็กขนาดไหน และทำให้เราต้องตระหนกเมื่อฉุกคิดว่า มีรามานุจันในบ้านเราจำนวนเท่าใดที่กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน เพราะขาดโอกาสเข้าถึงหนังสือตำราดี ๆ ? 

เสียดายนิดเดียว ในหนังสือเล่าชีวิตของรามานุจัน แทบไม่มีตัวอย่างทางคณิตศาสตร์เลย อาจเป็นเพราะผู้แต่งไม่ถนัดเรื่องคณิตศาสตร์ แต่ถ้าในเรื่องลำดับและวิธีการเล่าเรื่อง ก็สละสลวย เหมือนอ่านนวนิยายเล่มหนึ่ง เพราะผู้แต่ลงทุนค้นคว้าอย่างละเอียด เดินทางไปดูสถานที่จริงตามรอยเท้ารามานุจัน เพื่อให้เห็นภาพทางเดินชีวิตรามานุจันอย่างละเอียด

ส่วนหนังสือชีวิตของแอร์ดิช จะเห็นภาพตรงกันข้าม คืออ่านแล้วจะรู้สึกว่าผู้แต่ง เข้าถึงวิชีชีวิตของแอร์ดิชได้มากกว่า ทั้งที่เล่าประวัติคนไม่มาก แต่เน้นเล่าเกร็ดประวัติตัวเลขเสียมากกว่า 

เช่น มีการนินทานักทฤษฎีจำนวนว่า คูณเลขง่าย ๆ อาจไม่เป็น เป็นแต่อะไรที่ยาก ๆ กว่านั้น เวลาให้สอนเด็ก จึงมีอะไรที่"หลุด"ออกมาประจำ

เช่น ถามเด็กหน้าชั้นว่า 9 x 7 ได้เท่าไหร่

เด็กคนแรกยกมือ บอก 61

เด็กอีกคน บอก 67

นักทฤษฎีจำนวนก็จะบอกว่า ตามหลักตรรกศาสตร์ ต้องมีคนใดคนหนึ่งผิด เพราะจะถูกพร้อมกันสองคนไม่ได้

61 ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเป็นเลขจำนวนเฉพาะ

67 ก็เหมือนกัน

เลขคี่คูณกัน ต้องเป็นเลขคี่ 

ฯลฯ

แล้วมาลงที่ 63

อ่านแล้วจะอึ้งว่า โห .. สุดยอดการคำนวณจริงๆ

อ่านงานเขียนของคุณนราแล้วดีใจ ที่มีผู้จับหนังสือดีมาแปล และแปลเป็นภาษาไทยได้เยี่ยมมาก ใครที่จะแปลหนังสือขายควรศึกษาตัวอย่างจากคุณนรา 

สองเล่มนี้ควรมีติดห้องสมุดครับ

แต่หากมีงบซื้อเล่มเดียว ผมจะแนะนำให้อ่านชีวิตของแอร์ดิชก่อนครับ เพราะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางคณิตศาสตร์แฝงไว้มาก น่าสนใจไม่แพ้ชีวิตคน 

อ่านแล้วจะเห็นคณิตศาสตร์ในมุมมองใหม่ครับ

หมายเลขบันทึก: 89621เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชีวิตคนไม่เหมือนกัน สังคมและศาสนาทำให้คนมีวิสัยทัศน์ต่างกัน ผู้อ่านไม่สามารถชี้แนะว่าหนังสือแปลที่สองเล่มอย่างไหนน่าอ่านกว่ากัน หากท่านรักคณิตศาสตร์และมีสตังค์มากพอก้ซื้อไว้อ่านทั้งสองเล่มนะดีแล้วครับ  อยากให้หนังสือทำนองนี้มีเพิ่มมากอีกเพื่อที่จะทำให้คนไทยได้อ่าน อนึ่งหนังสือ"รามานุจัน - Ramamanujan" นี้เป็นอุทธาหรณืให้เห็นว่าราชบัณฑิตที่แท้จริงของอังกฤษนั้น ได้จากคนที่เขามีความรู้จริง ปริญญาไม่สำคัญนะ  ดังนั้นผู้รู้ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา เพียงแต่เราจะหาเขาพบหรือไม่ เหมือน Lau Tzu  นั่นแหละ คนมีปริญญามักจะอวดภูมิ และไม่อยากจะยุ่งกับพวกที่ด้อยหรือไร้การศึกษา  และคิดว่ากูแน่  ความรู้ไม่จำเป็นต้องหาได้จากสถาบันที่เสียเงินเสียทอง ไม่ต้องอยู่ในแวดวงคนเหล่านั้นด้วย นอกจากเป็นพวกเดียวกันที่พูดจาภาษาเดียวกัน ศาสดาทั้งหลายไม่ได้สำเร็จจากสถาบันตักกะศิลา ท่านใคร่ครวญพิจารณาเหตุและผลของท่านเงียบ ๆ ผู้เดียว แต่ท่านเห็นชืวิตคนเหมือนมดแมลงต้นไม้ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แล้วท่านก็เล่าให้ผู้อยการู้ทราบ ท่านไม่ได้เอาค่าจ้้าง แสดงวิทยฐานะ แต่ประการใด

Graduate จาก Imperial College, London; UC Berkeley 

  • ขอบคุณครับ
  • ผมปรับข้อความตามคำแนะนำแล้วครับ

 

มีแล้วทั้งสองเล่ม
แต่ แฮ่ม ยังไม่ได้หยิบมาอ่าน
อีกแล้ว....ต้อง(สักวัน)หยิบมาอ่าน

คนข้าง ๆ แซวว่า จะรอวันนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท