BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

สิทธิมนุษยชน


สิทธิมนุษยชน

คำนี้บัญญัติศัพท์มาจากคำปะกิตว่า human rights ซึ่งหมายถึง อำนาจเดิมๆ ของความเป็นคนที่ทุกๆ คนมีอยู่ ...ทำนองนี้

แนวคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน หรือ human rights นี้เกิดขึ้นในยุโรปตอนปฏิวัติอุตสาหกรรม....ความหมาย กระบวนการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ผู้สนใจอาจค้นหาได้ไม่ยาก.... ดังนั้น ผู้เขียนจะไม่นำมาเล่า จะนำคำนี้มาแยกศัพท์เท่านั้น...

สิทธิ +มนุษย์ + ชน = สิทธิมนุษยชน

เมื่อพิจารณาแต่ละศัพท์ก็จะได้ดังนี้...

สิทธิ มาจาก สิธะ รากศัพท์ ในความสำเร็จ... ลง ติ ปัจจัย แล้วแปลง ติ ปัจจัยเป็น ทฺธิ (ติ - ทธิ) ...แล้วลบที่สุดรากศัพท์ (คือ ลบ .ธง ที่ สิ)...

สิธ - สิ + ติ - ทธิสิทธิ (สิ+ทธิ = สิทธิ)

ดังนั้น สิทธิ จึงแปลว่า ความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้สำเร็จ เป็นสาเหตุแห่งความสำเร็จ ....ทำนองนี้

อนึ่ง รากศัพท์ว่า สิธะ ซึ่งแปลว่า สำเร็จ นี้ มีใช้อยู่ในภาษาไทยค่อนข้างจะหลากหลาย เช่น

ปฏิเสธ (ปฏิ+สิธะ) มีความหมายทำนองว่า คัดค้านความสำเร็จ ผลักความสำเร็จให้ถอยกลับออกไป ซึ่งตามสำนวนไทย ก็คือ การไม่ยอมรับ...

ประสิทธิ์ (ป+สิธะ) มีความหมายทำนองว่า สำเร็จโดยทั่วไป สำเร็จรอบด้าน หรือทำให้สิ่งทั่วๆ ไปสำเร็จ...

ยังมีคำอื่นๆ เช่น อนุสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อภิสิทธิ์

...

มนุษย์ (มน +อุษยะ) เป็นสันสกฤต บาลีว่า มนุจจ์ (มน+อุจจะ) ...ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะแปลกันว่า ผู้มีใจสูง (มน แปลว่า ใจ ..ส่วน อุษยะ หรือ อุจจะ แปลว่า สูง)...

ส่วนอีกมติหนึ่ง แปลว่า เชื้อสายของพระมนู ... ตามนัยนี้ อ้างบางตำนานที่บอกว่า มนู เป็นคนแรกของบรรดาสัตว์ประเสริฐทั้งหลาย ดังนั้นคนต่อๆ มาจึงได้ชื่อว่า มนุษย์ เพราะสืบต่อมาจากพระมนู เป็นเชื้อสายของพระมนู หรือเป็นลูกหลานของพระมนู...ทำนองนี้

.....

ชน แปลว่า สัตว์ผู้เกิด ดังอรรถวิเคราะห์ว่า ชนตีติ ชโน สัตว์ใดย่อมเกิด ดังนั้น สัตว์นั้น ชื่อว่า ชน (ผู้เกิด)...

คำว่า ชน นี้ โดยทั่วๆ ไป ก็หมายถึง คน ...แต่บางครั้งก็อาจหมายถึงสัตว์ทั่วๆ ไป เช่น วัว ควาย นก ผี เทวดา ..ก็ได้

....

ดังนั้น คำว่า สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติใช้แทน human rights ในภาษาปะกิต ..จึงมิได้มีความหมายพิเศษอะไรนัก เมื่อได้แยกศัพท์ออกมา....

ผู้สนใจความหมายของคำนี้ ก็ต้องไปค้นดูความหมายที่ผู้รู้ด้านนี้ให้ไว้ หรือจากความหมายเดิมของภาษาที่เป็นต้นขั้ว

คำสำคัญ (Tags): #สิทธิมนุษยชน
หมายเลขบันทึก: 88144เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีในวิกิพีเดียอีกแล้วครับ แต่เนื้อหายังสั้นรอคนไปเติม :-P

เรื่องพระมนูนี่ผมก็พึ่งทราบนะครับ กฎหมายของพระมนู นี่ใช่มนูเดียวกันหรือเปล่าครับ? 

P

น้องวีร์ต้องการให้หลวงพี่ไปเขียน วิกิพีเดีย จริงๆ (.....)

พระมนูนี้ มิใช่ พระมนูที่เป็นบิดาแห่งวิชากฎหมายของอินเดีย หรือชื่อเต็ม พระมนูสาราจารย์...

คำว่า มนู ตามราชทินนาม.. บ่งชี้ว่าเป็นชำนาญทางกฎหมาย เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามโนปกรณ์นิติธาดา...

ในเรื่องราชาธิราช (ประวัติศาสตร์มอญ) มี สามเณรมังกัญจี ลาสิกขามารับราชการ ต่อมาได้ราชทินนามเป็น ราชะมนู

เจริญพร

 

ขอบพระคุณหลวงพี่มากครับ ที่ช่วยไขข้อข้องใจให้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท