Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

โครงข่ายหลักด้านโทรคมนาคม จำเป็นต้องเป็นของชาติอย่างน้อยหนึ่งโครงข่าย เพื่อความมั่นคงของประเทศ


              เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. เห็นด้วยกับการนำโครงข่ายโทรศัพท์ของบริษัทเอกชนคู่สัญญาสัมปทานทั้งหมด กลับไปให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริหารจัดการเองว่า ไม่ได้เป็นการให้สัมภาษณ์ของตน และ คมช.ก็ไม่เคยให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเช่นกัน ความเห็นดังกล่าวอาจเป็นความเห็นส่วนตัวของคณะกรรมการทีโอที บางคนเท่านั้น

             "เรื่องโครงข่ายหลักด้านโทรคมนาคม จำเป็นต้องเป็นของชาติอย่างน้อยหนึ่งโครงข่าย เพื่อความมั่นคงของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่มีการผูกขาด" นายสิทธิชัยกล่าว

               ส่วนกรณีที่มีข่าวการโยกย้ายนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที นายสิทธิชัยกล่าวว่า ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้และยังไม่สามารถพูดอะไรได้ คงต้องรออีก 1-2 วันจึงจะให้ความชัดเจนได้

                อนึ่ง ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า คมช.ไม่พอใจการทำงานของนายไกรสร เนื่องจากเป็นกรรมการบอร์ดทีโอที และ กสท แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมได้ จึงจะเสนอให้นายสิทธิชัยโยกย้ายนายไกรสรไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

---------------------------------------------------------------------

รมว.ไอซีทียันไม่คิดยึดโครงข่ายโทรคมฯ

มติชน วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10606

หน้า 6

หมายเลขบันทึก: 86423เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สวัสดีครับอาจารย์ ผมใคร่ขอรบกวนให้อาจารย์ช่วยแสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงข่ายหลักโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวคือ ผมมีข้อสงสัยว่าในการจะเกิดโครงข่ายนั้นในหลักการของกฎหมายแล้ว ถ้าเป็นในส่วนที่รัฐลงทุนร่วมกับเอกชนจะเป็นไปตาม พรบ.ร่วมทุน ปี 2535 ใช่หรือไม่ซึ่งเท่าที่ผมได้พยายามศึกษา ลักษณะของ (Public private Partnership : PPP) นั้นจะเป็นลักษณะที่เข้าข่าย พรบ.ร่วมทุนซึ่งมีข้อดี ข้อเสียต่างกันไป ซึ่ง ถ้าโครงข่ายแห่งชาติ จะเป็นต้องใช้ลักษณะดังกล่าว เนื่องจากเงินลงทุนในส่วนนี้ค่อนข้างมากมหาศาล( หากเกิดโครงการใหม่) จะมีเกณฑ์หรือหลักการใดที่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ในแง่ของกฏหมาย ซึ่งจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เหมือนในปัจจุบันที่มีข่าวว่า สัมปทานในส่วนโทรคมนาคมต่างๆ ที่ตีความผ่านกฤษฎีกาแล้ว ปรากฏว่าหมดสัมปทาน หรือ ไม่ถูกต้อง รบกวนอาจารย์เท่านี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท