ปิดเทอมนี้! นิสิตเค้าทำอะไรกันน๊า...


เบื้องหลังภาพตัวเลขที่สวยงามก็มีปัญหามากมาย ท้าทายให้เราคิดวิธีแก้ไข เราถึงต้องชื่อบริษัทจำลองแห่งนี้ว่า BBL ที่ย่อมาจาก Brain - Based Learning

           โครงการ DD เริ่มขึ้นอีกแล้ว จ้า....

              BBL Company  บริษัทจำลองแห่งแรกของศึกษาศาสตร์

              หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ใครที่เดินผ่านคณะศึกษาศาสตร์คงต้อง งง สงสัยกับ Boot แปลกๆๆ มีอะไรมากั้น มีนิสิตมานั่งเปิด Notebook ทำอะไรกันอยู่ 4-5 คน พร้อมกับป้ายตัวหนังสือเท่าหม้อแกง(ผู้ใหญ่ชอบเปรียบตัวหนังสือกับหม้อแกง เพราะมันใหญ่มากๆ)

               เราจะมา เฉลยให้หายสงสัยกันเลยค่ะ

               โครงการนี้เริ่มมาจากน้อง สาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาฯ มน. ที่เค้าอยากทำอะไรแล้วมีรายได้ในช่วงปิดเทอมด้วย อาจารย์เลยแนะนำว่าก็ทำที่คณะนี่แหละ รับพิมพ์ รับทำPowerPoint หรืองานเอกสารวิชาการต่างๆ เนื่องจากคณะศึกษาฯ เรามีนิสิตครูประจำการเรียนตอน Summer คิดไปคิดมาเราเลย เขียนเป็นโครงการดีกว่า คือ ทำในรูปบริษัทจำลองเป็นโครงการของนิสิตชมรมวิชาการ สาขาภาษาอังกฤษ โดยเราตกลงกันว่าเงินรายได้ของบริษัทที่เป็นกำไรสุทธิจะนำไปจัดกิจกรรมค่ายให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลน หรือทำกิจกรรมดีๆ ให้กับสังคมในด้านการศึกษาให้ความรู้อื่นๆ

             บริษัทจำลองนี้ เราได้ร่วมกันตั้งวิสัยทัศน์ และนโยบายในการบริหาร รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรของเราด้วย มีบอร์ดบริหารงานโดยการแบ่งฝ่ายต่างๆ นอกจากการวางระบบบริหารงานแล้ว เราก็วางระบบการให้บริการของเราด้วย โดยถือคติที่ว่า "การบริการคืองานของเรา"  น้องๆ นิสิตได้ช่วยกันคิดระบบการบริการการบริหารจัดการหน้าร้าน และที่น่าดีใจคือ พอโครงการอนุมัติท่านคณบดีศึกษาศาสตร์ก็กรุณาอนุญาตให้ใช้ห้องประชุมที่ว่างไว้เป็น office ดีทีเดียวค่ะ

             เหมี่ยวในฐานะพี่เลี้ยงในโครงการนี้ ได้รับตำแหน่งเป็นประธานบริษัทค่ะ แล้วมีน้องกอฟ์ล ประธานชมรมรับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป

             ช่วงแรกเราติดขัดเรื่อง อุปกรณ์สำนักงานค่ะ เรามี Notebook แค่เครื่องเดียวซึ่งมันก็เก่ามาก Update อะไรไม่ได้เลยแม้แต่โปรแกรม Scan Virus เราติดต่อขอยืมคณะแล้วแต่ว่าติดงานเราเลยใจฝ่อไปนิดหนึ่ง แล้วเราปรึกษาอาจารย์ดร.อมรรัตน์ อีกครั้ง ท่านเลยยกเครื่อง Notebook ที่บ้านมาให้ยืมอีกหนึ่งเครื่อง รวมเป็น 2 เครื่อง เราคิดว่ามัน Work แล้วแต่พอวันที่ 2 มันก็ไม่เป็นอย่างนั้นแล้วซิคะ เพราะไม่ได้ Update ตัวสแกนไวรัส คราวนี้เครื่องช้ากว่าเดิมมากเราก็ตกใจว่าจะทำเครื่องอาจารย์เสีย แต่เราก็พยายามแก้ไขพอรอดไปวันๆ เหมี่ยวเลยทำหน้าที่คุณอำนวยซะหน่อย คือไปติดต่อยืมเครื่อง Notebook คณะอีกครั้ง คร่าวนี้ข่าวดีค่ะ เพราะเราจะได้ในวันจันทร์ก็คือวันพรุ่งนี้ นั่นก็หมายความว่าจะรับงานได้เพิ่มขึ้นอีก

              ท่านทราบไหมค่ะ ว่าเราไม่ได้ทำกันเล่นๆๆ เราทำจริงนะ

              สรุปผลกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในหนึ่ง สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทั้งหมด 4 พัน 8 ร้อย กว่าบาทเลยทีเดียว

             แต่นั่นแหละค่ะ เบื้องหลังภาพตัวเลขที่สวยงามก็มีปัญหามากมาย ท้าทายให้เราคิดวิธีแก้ไข เราถึงต้องชื่อบริษัทจำลองแห่งนี้ว่า BBL ที่ย่อมาจาก Brain - Based Learning ใครที่อยู่ในวงการศึกษาคงจะรู้จักว่ามันคือทฤษฏีหนึ่งที่จะนำไปสู่การสร้างเด็กไทยที่เก่ง ดี และมีความสุขได้ทันตาเห็นเลยละค่ะ

             เรื่องเล่าของ BBL Company ยังไม่จบแค่นี้นะคะ เหมี่ยวจะนำมาเล่าให้ฟังอีก แต่ถ้าใครอยากรู้ว่า ไอ้เจ้า BBL อะไรนี่มันจะสักแค่ไหนกันเชียวก็มา ลองใช้บริการหรือติดต่อสอบถามได้ที่ลานคณะศึกษาศาสตร์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเจ้าข้า 

หมายเลขบันทึก: 86398เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผมว่าเป็นความคิดที่ดีนะครับ ตอนผมเรียนที่ศึกษาศาสตร์ไม่มีมั้งเลย หือๆ ฝึกให้นิสิตได้รู้จักการทำงาน การทำ freelance การทำงานร่วมกัน หรืออาจขยายงานเป็น outsource ได้ครับ
น่าจะทำ website ประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับเนี่ย

ขอบคุณค่ะ

      คุณทวีสิน อำนวยพันธ์วิไล

      * ขอบคุณที่ให้แนวคิดดีเพื่อต่อยอดกิจกรรมดีค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท