“ทุนทางสังคม” ถ้าใช้ไม่ได้ มีค่าเท่ากับไม่มี


การพัฒนาแบบแนวร่วม ภาคี และเครือข่าย จนกระทั่งพัฒนาขึ้นมาในระดับเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้สามารถใช้ และพัฒนาทุนทางสังคมได้จริง

เมื่อวันก่อนผมได้หารือกับนักวิชาการจากต่างประเทศ ถึงประเด็นที่นักวิชาการมักเข้าใจผิด โดยเฉพาะ ทุนทางสังคม ที่สำคัญมากในการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ที่บางท่านยังเข้าใจว่าเป็น ทุนของสังคม  

แท้ที่จริงแล้วทุนทางสังคม ที่พูดกันนั้น จะมีมากน้อยไม่สำคัญเท่ากับว่าผู้ปฏิบัติงานจะสามารถนำมาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน และถ้าแม้จะมี แต่นำมาใช้ไม่ได้ มีค่าเท่ากับไม่มี 

ดังนั้น การพัฒนาทุนทางสังคม จึงต้องพิจารณาอย่างน้อย ๒ ประเด็น คือ

1.    ทุนทางสังคมที่มีอยู่ รวมทั้งที่นำมาใช้แล้ว และยังไม่นำมาใช้

2.    ทุนทางสังคมที่จำเป็นต้องพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความสามัคคี ความเชื่อถือ และบุญประเพณี ด้านต่างๆ 

เมื่อทราบอย่างรู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเข้าสู่ระบบการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ที่ง่ายที่สุดก็คือ 

เริ่มจากการการพัฒนาแบบแนวร่วม ภาคี และเครือข่าย  จนกระทั่งพัฒนาขึ้นมาในระดับเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้สามารถใช้ และพัฒนาทุนทางสังคมได้จริง 

ลองคิดดูนะครับ ว่าท่านจะพัฒนาได้อย่างไร จึงจะเป็นประโยชน์ ประหยัดทรัพยากร มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

แต่ต้องมองเฉพาะที่นำมาใช้ได้จริงเท่านั้นครับ

อย่าไปฝันลมๆแล้งๆ พัฒนาทุนทางสังคม แบบเราและคนอื่นๆไม่มีทางได้ใช้ เหนื่อยเปล่าครับ 

หมายเลขบันทึก: 85978เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อาจารย์ ดร.แสวง

อาตมารู้สึกว่า ทุนทางสังคม (โดยเฉพาะที่เกี่ยวโยงกับวัด) จะค่อยๆ ง่อยเปลี้ยลงทุกวัน...

เจริญพร

     เห็นด้วยครับอาจารย์
     ของดี มีแต่ไม่ใช้ แม้ว่าถือเอาไว้ก็เท่ากับไม่มี เช่นเรื่องศาสนาเป็นต้น  ถือกันทั้งเมือง  แต่ทุกข์ก็ยังท่วมเมือง ก็เพราะมัวแต่ถือ ไม่รู้จักใช้นี่แหละครับ

เรียนอ.แสวง

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เว้นแม้แต่วัด การศึกษา การพัฒนาสังคม ฯลฯ  เราต้องเน้นแนวปฏิบัติมากกว่าแนวทฤษฎี (เพราะประเทศเราขาดนักปฏิบัติที่ลงมือทำ หรือมีอยู่น้อยค่ะ )

เรียน อาจารย์แสวง ที่เคารพ

อาจารย์ครับ เมื่อวานนี้พวกเราทีมนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ ได้ตระหนักเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของทุนทางสังคม เพราะเราได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้และฝึกอบรมเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ณ มหาชีวาลัยอีสาน  ซึ่งเราได้มองเห็นว่าทุนทางสังคมที่เข้ามามีส่วนช่วยให้กระบวนการอบรมและการเรียนรู้ชัดเจนขึ้นก็คือ  พ่อเขียว  เสงี่ยมทรัพย์  ที่เป็นอีกชุดความรู้ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้ จากการลองผิดลองถูกในการทำการเกษตรที่หลากหลาย
  • ความสามัคคีจากหมู่ญาติพี่น้องที่ร่วมกันทำงาน  
  • ความเชื่อถือคนในครอบครัว เครือญาติ และชุมชน

      ส่วนทุนทางสังคมที่มหาชีวาลัยอีสานมีคือ ความรู้และทุนด้านปัจจัยแวดล้อม พร้อมทั้งความเชื่อถือจากเครือข่าย    รวมทั้งในกรณีของการอบรมการเพาะเห็ด ที่พวกเราพยายามสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกรภายในเวลาที่จำกัด  พวกเราก็ได้ใช้ทุนทางสังคมจากภาคีเครือข่ายคือคุณศักดิ์ชัย พลชัย   ที่เป็นพันธมิตรทางวิชาการที่เหนียวแน่น อีกทั้งมีความเชื่อและศรัทธาซึ่งกันละกัน แม้กระทั่งยอมมาส่งหัวเชื้อเห็ดและอุปกรณ์ที่เราขาด ยอมลงทุนขับรถมาส่งเชื้อเห็ด อุปกรณ์ และเอกสารใบความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองจากจังหวัดอุบลราชธานีมาถึงบุรีรัมย์ดึกๆ ดื่นๆ ค่อนคืน ซึ่งยอมมาส่งดยไม่มีข้อคำถามใดๆ นับว่ามาด้วยใจที่มีต่อกัน 

        ดังนั้น พวกเราจึงคิดว่าทั้งในกรณีของพ่อเขียวและคุณศักดิ์ชัย ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น จึงถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้  และสามารถพัฒนาต่อยอดและร่วมเป็นภาคีหรือพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปได้ครับ

ด้วยความเคารพ

ทีมนักศึกษาโข่ง

      ท่านอาจารย์  ดร.แสวง  ที่เคารพครับ  อ่านแล้วรู้สึกงงครับ   "ทุนทางสังคม"  ถ้าใช้ไม่ได้ มีค่าเท่ากับไม่มี  จริง  ๆ  แล้วของอะไรก็ตามที่มีอยู่ถึงจะไม่ใช้ก็ยังมีอยู่ในความรู้สึกของผมนะครับ  เมื่อเรามีเงินเก็บไว้  ความรู้สึกที่มีก็คือ  อุ่นใจ  มั่นใจในอนาคตไม่ว่าจะเป็น   ความดี   ความรู้  ผมว่าถ้ามีแล้วอย่างน้อย  ๆ  ก็เข้าใจในตัวตนก็มีความสะบายใจระดับหนึ่งแหละครับ  ขอบคุณครับท่านอาจารย์

เรียน อาจารย์แสวง

  • ผมเห็นด้วยครับที่ว่า ทุนทางสังคม ถ้าใช้ไม่ได้ มีค่าเท่ากับไม่มี ซึ่งผมคิดว่า คงคล้ายกับ ความรู้ ถ้าไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็ไม่ถือว่าเป็นความรู้
  • แอบอ่านงานของอาจารย์มาระยะนึงแล้ว
  • ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ

เรียน คุณโสภณ

เมื่อท่านรู้สึกว่าอุ่นใจกับมีเงิน ท่านก็ได้ใช้เงินระดับหนึ่ง

แต่ถ้าเงินที่มีอยู่ท่านใช้ไม่ได้ ก็คงไม่อุ่นใจใช่ไหมครับ

เรื่องทุนทางสังคมนี่ ผมพยายามทำให้ชัดขึ้นครับ ว่าต้องเราใช้ได้เท่านั้น

ถ้าคนอื่นใช้ได้แต่เราใช้ไม่ได้ ก็ยังมีนะครับ แม้จะเป็นสังคมเดียวกัน

 

ลองคิดดูดีๆ จะไม่งงครับ ที่งงอาจจะเป็นการไปติดคำ โดยไม่ได้ดูความหมายจริงๆครับ

  • กราบสวัสดีครับ ดร.แสวง
  • ไม่ได้แวะมานานเลยครับ แต่ก็ยังระลึกถึงเสมอครับ
  • เห็นหัวข้อแล้วผมก็มีข้อเห็นแย้งในลึกๆ ครับ ว่ามันจะมีอะไรบ้างหนอที่ ไม่ได้ใช้แล้วเท่ากับไม่มี แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นหลักครับ
  • จริงๆ แล้วผมเชื่อว่าทุกๆ อย่างในระบบ ก็มีการใช้และถูกใช้ของมันอยู่ อันนี้ไม่รู้เป็นทุนทางสังคมหรือเปล่านะครับ เพียงแต่ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
  • แต่ทุนทางนี้มีอะไรบ้างครับ สิ่งหนึ่งผมมองและอยากเน้นคือ ตัวองค์ความรู้ครับที่ได้จากการประมวลข้อมูลภายในสังคมนั้นจากทุนทางสัมคมกายภาพผนวกกับภูมิปัญญาพื้นฐานของสังคมที่มี ซึ่งน่าจะเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญตัวหนึ่งเหมือนกัน
  • รบกวนชี้แจงให้แจ้งด้วยนะครับ ผมยังอ่อนต่อโลกนี้อยู่มากครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ
  • มองผ่านชุมชนระดับหมู่บ้าน จะเห็นตัวอย่างทุนทางสังคมที่เรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" "ขะลำ" เป็นต้น ซึ่งถือว่า เป็นพลังแฝง ที่ช่วยเกาะเกี่ยว "ความเป็นชุมชน" ไว้ได้
  • แม้จะหมู่บ้านจะสะสมภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็มีบางอย่างที่เลือนหายไปตามยุคสมัย เช่น การเอาแฮง ลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น จากการช่วยเหลือกันด้วยใจ ทุนเงินเข้ามาเบียดบังทุนทางสังคมตัวนี้ แทบไม่เหลือ
  • อย่างไรก็ตามทั้งในวิถีชีวิตและในวิถีการพัฒนา จะเห็นได้ว่า มีการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเข้ามาใช้พอให้เห็นกันอยู่บ้าง เช่น การบวชป่า ซึ่งอาศัยความเชื่อในการอนุรักษ์ เป็นต้น
  • สิ่งสำคัญคงอยู่ที่การรักษาทุนทางสังคมที่ดีงามให้คงไว้ ซึ่งคงจะต้องรู้ว่าตอนนี้เรามีทุนอะไร ที่เรียกว่าทุนทางสังคมอยู่ในมือ ตลอดจนการฟื้นฟูทุนทางสังคมที่หายไป ให้กลับมารับใช้ในการเกาะความเป็นสังคมที่เข้มแข็งไว้ให้ได้

ก่อนอื่น ผมต้องขอโทษที่เงียบไปประมาณเกือบหนึ่งสัปดาห์ ด้วยเหตุผล หลักๆ สองประการคือ

  1. ระบบคอมเดี้ยง ต้องเข้าโรงซ่อมสุขภาพ
  2. งานยุ่งมาก

ผมสงสัยแล้วว่าจะต้องมีคนงงคำว่า"ทุนทางสังคม" แต่ก็มองโลกแบบ opyimistic ไว้ก่อน เลยไม่ได้แจงอะไร

ทุนทางสังคมที่สำคัญที่สุดในงานที่ผมต้องใช้ในการทำงานก็มี

  • ความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม เพียงพอ
  • ความสามัคคีในทุกระดับ
  • ความเป็นผู้นำ
  • ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น
  • ฯลฯ 

ที่เราต้องใช้ในงานของเราได้ ที่บางทีเขาสามัคคีรุมทุบงานเรา กลับจะเป็นเรื่องเสียมากกว่าดี นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ว่า "เราต้องใช้ได้ครับ"

คงพอเข้าใจนะครับ

        ขอบคุณครับอาจารย์    ที่ให้ความกระจ่างเมื่อผมได้อ่านที่อาจารย์ขยายความข้างบนนี้ก็เริ่มเห็นแสงสว่างแล้วครับ  ขอบพระคุณมากครับ   และขอฝากถึงอาจารย์ให้รักษาสุขภาพและลดการทำงานหนักลงบ้างนะครับ

ขอบคุณพันธมิตรที่เป็นห่วงสุขภาพผม

ผมขอตอบว่าสุขภาพยังปกติมากๆเลยครับ ไม่เคยเจ็บป่วย นอกจากเป็นหวัด ท้องเสียบ้างเป็นธรรมดา

 

แต่งานหนักนั้นสม่ำเสมอครับ ไม่เปลี่ยนแปลง

ยังทำนา เลี้ยงวัว จับปลา เลี้ยงปลา ประชุม สอนนักศึกษา ทำวิจัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เหมือนเดิมครับ คงจะเพลาอีก ๔ ปีข้างหน้าครับ ตอนนี้กำลังเตรียมระบบในนาครับ เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียงครับ

ดังรูปข้างบนครับ

สวัสดีค่ะอ.แสวง

         ตามเข้ามาดูอีกรอบหนึ่งค่ะ อาจารย์เปลี่ยนรูปด้านบนได้สวย ดูแล้วสบายตาจังเลยค่ะ ชอบมาก ๆค่ะ

นาที่กำลังทำครับ

ตอนนี้เน้นเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

หน้าฝนจะทำนาครับ เพราะข้าวอินทรีย์ทำฤดูเดียวก็ทานไม่ทัน ต้องแบ่งให้วัว ไก่ ปลา กินอยู่แล้วครับ

 


สวัสดีครับท่าน อ.แสวง

  • ชอบภาพด้านบนมากๆ ครับ โดยเฉพาะแนวกล้วยครับ ทำให้ผมนึกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านอีกอันครับ
  • คือ ปลูกกล้วยอย่างไรให้เครือกล้วยไม่หันลงไปในทางทุ่งนา เพื่อให้ง่ายในการตัดเครือกล้วย เช่น ให้กันมาริมทางเดินแล้วหันหน้าเครือไปในทางทิศเดียวกันหมดเป็นแถวครับ
  • ขอให้มีความสุขกับท้องทุ่งนา ไร่ ครับ สนับสนุนวิจัยแบบนี้ครับ
  • รักษาสุขภาพครับ

ขอบตุณครับคุณเม้ง

ผมจะไปดูสวนยางที่ปลูกในนาช่วงต้นสัปดาห์หน้าครับ จะถ่ายรูปมาลงให้ดูอยู่ครับ

ที่ผมทำเพราะไม่มีทางเลือก เพราะ "นารั่ว" เก็บน้ำไม่อยู่ แม่ยายยกให้ก็เลยลงยางเสียเลย ๑๑ ไร่ครับ ตอนนี้ได้วันละ ๒๐ กก ครับ

P

สวัสดีครับ ท่าน อ.แสวง

  • ดีมากครับ ผมก็หาข้อมูลและพูดคุยกับเพื่อนๆ หลายคนครับ
  • ที่เค้าปลูกยางในนากันครับ เช่น แถว จ.ตรัง ก็ปลูกกันเยอะ ด้วยเหตุผลเดียวกับท่าน อ.
  • แล้วเค้าก็เจอปัญหายางรากลอย เพราะต้องยกร่อง แต่เรื่องดินเค้าไม่มีปัญหาครับ เพราะว่าดินมีสภาพที่ปลูกยางได้ และน้ำรั่วเช่นเดียวกัน
  • แต่สภาพที่นครศรี ที่ผมเห็นนี่ ไม่ได้อยู่ในกรณีนี้เลยนะครับ
  • ผมเลยเป็นห่วงหนักหน่อยครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณครับคณเม้ง

ผมก็ได้เรียนรู้การปลูกยางในแปลงนาเก่านี่แหละครับ

  • ตอนนี้ท่าน อ.แสวง ขายน้ำยางหรือครับ หรือว่า 22 ก.ก. คือยางแผ่นครับ
  • เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ และจะรอดูภาพสวนยางครับ KM ในสวนยางคนเมืองลุง ครับ
  • ถ่ายรูป ดินและลักษณะรากที่อยู่กับดินมาด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ ขอเส้นรอบวงมาด้วยนะครับ บริเวณรอยกรีดนะครับ
  • รายละเอียดทั้งหมด ยิ่งมายิ่งดีครับผม
  • เอผมชักจะขอมากไปหรือเปล่าครับ แล้วได้เจอกันอีกครับ
  • ออ ลืมบอกไปครับ แวะไปหาพ่อและแม่ผมได้ครับนะครับ
  • หากท่านรู้จักสามแยกสวนผัก ทางแยกไปทุ่งสง พัทลุง นครศรี
  • แล้วเลยสามแยกสวนผักไปทางพัทลุง ประมาณ 6 Km จะเจอทางซ้ายมือ มีที่ทำการ อบต. ต.ทุ่งโพธิ์
  • แวะเข้าไปหาพ่อแม่ผมได้นะครับ ที่บ้าน อยู่หลัง อบต. ถามหาบ้าน เม้ง นะครับ
  • แวะไปทานข้าวได้ครับผม หรือแนะนำอะไรพ่อแม่ผมด้วยจะเป็นพระคุณยิ่งครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับ

บ้านแม่ยามผมก็อยู่เลยไปหน่อย ไม่กี่โลแถบรอยต่อพัทลุง/นคร

ว่าจะไปเยี่ยมครูนงด้วยครับ

  • เสียดายที่ไม่ได้อยู่ต้อนรับด้วยตัวเอง แต่มีพ่อแม่ผมก็เหมือนมีผมอยู่ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • หากว่างและมีเวลา ก็เชิญนะครับผม
  • ยินดีต้อนรับครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท