เรื่องเล่าเร้าพลัง
“ตลาดนัดความรู้
กลยุทธ์และกระบวนการสร้างการเรียนรู้ :
บทบาทใหม่ของครูจัดการความรู้มืออาชีพ”
วันที่ 1 ธันวาคม
2548
อ. วิมลศรี |
เป็นโรงเรียนเอกชน เหตุการณ์นร.ชั้นม.1 จำนวน 25 คนวิชาภาษาไทย เรื่องทำอย่างไรนักเรียนเรียนในเชิงประจักษ์ โดยประโยชน์ของส้มหนึ่งผล เด็กมีความคิดเห็นแตกต่างไป จากนั้นจึงให้ชิมส้ม เด็กเริ่มมีความคิดคล้ายคลึงกัน จากนั้นจึงให้นร.เขียนกระดานเรื่องของส้มให้เด็กเขียนบรรยายเรื่องของส้ม เด็กเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับส้ม มีประเด็นที่น่าสนใจว่าเด็กมีความคิดอย่างไรต่อส้ม สามารถเปรียบเทียบกับความคิดของเด็กในวัยเดียวกันได้ดี เด็กบางคนที่ไม่กล้าแสดงออกกลับกล้าแสดงออกมากขึ้น เห็นผลในการทำ KM |
อ. สมควร |
โรงเรียนเอกชน
ในจังหวัดมีแหล่งเรียนรู้มาก จึงใช้เป็นจุดยืน นร.ชั้น ป. 4,5,6 จะมีทีมนำ ให้ทีมนำมาคุยกันก่อน ว่าในช่วงนี้เขาเรียนอะไร ปรับสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งที่เขาเรียน ให้นร.เสนอความคิดเห็น สรุปให้นร. เป็นฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน Discovery ฐานคณิตศาสตร์ ศิลปะ ให้ครูทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ การปฏิบัติให้ แบ่งนร.เป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ฐานที่ 1 นร.จะศึกษาในทีมของเขา แชร์กันในกลุ่ม ฐานที่ 2 มีต้นกล้วยให้นร.คิดว่าจะนำมาประดิษฐ์อย่างไรได้ ฐานที่ 3 ฐานสมุนไพร นำสมุนไพรมาทำเป็นเมนู แล้วนำมาปฏิบัติ ฐานที่ 4 ฐานต้นไม้พูดได้ ให้นร. สนทนาเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงกลับเข้าโรงเรียน เมื่อนร.กลับห้องเรียนให้แต่ละกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้ เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ผ่านกระบวนการรูปแบบที่เรียกว่า จิระศาสตร์ ริชชิ่งโมเดล ซึ่งโมเดลนี้เป็นโมเดลที่โรงเรียนจัดทำขึ้นเอง) |
อ. จิรัฐกาล |
เป็นรร.ประจำ อนุบาล- ป6 ใช้ educare ครูจะต้องทำได้ในสิ่งที่ตัวเองสอน และรักเด็ก เพราะฉะนั้นจะสื่อถึงเด็กได้ให้เด็กมีความสุข เวลาจัดกิจกรรมจะคำนึงว่าเด็กจะมีการพัฒนาได้อย่างไร คำนึงถึงวัย ให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ ในโรงเรียนมีวิชาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ให้เด็ก ป4,5 มาเรียนรวมกัน โดยให้เด็กรู้จักกัน แบ่งปันโดนการให้เด็กนำความสามารถพิเศษของตัวเองมาแสดงให้เพื่อนๆดู เช่นเล่นเปียโน วาดภาพ ฯลฯ โดยเด็กที่แสดงให้ดูจะมีการสอนเพื่อนๆ ด้วย ผลก็คือเด็กมีความสนใจในสิ่งที่เพื่อนออกไปเล่า และเกิดความแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชั้น สร้างความสัมพันธ์กันระหว่างชั้น และเด็กรู้จักตัวเอง การแบ่งปัน กิจกรรมเกิดผลกับเด็กตัวเอง และเด็กระหว่างชั้นได้ |
อ. ทองดี |
เป็นครู ม.ปลาย
ทางโรงเรียนมีจุดเด่นพิเศษ คือเรื่องสิ่งแวดล้อม
และโรงเรียนติดแม่น้ำเจ้าพระยา
อาจารย์เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม
มีกิจกรรมในตอนแรกเป็นกิจกรรมในลักษณะชุมนุมอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม
เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกันระหว่างเด็กต่างระดับ และครู
เมื่อมีผู้เข้าร่วมมากขึ้นโครงการนี้จึงเริ่มเข้าถึงชุมชน
เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างครู เด็ก ชุมชน ต่างท้องถิ่น ผลที่ได้ 1. มีการเรียนรู้จากสถานที่จริง เด็กไม่เบื่อ 2. เด็กค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3. เด็กเรียนรู้ร่วมกัน 4. เรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน 5. การพัฒนาทักษะความคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาน 6. การเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้ทักษะกระบวนการ |
อ. กนกพร |
อาจารย์ใช้วิถีบูรณาการแบบพุทธศาสนา ไม่มีหลักเกณฑ์ เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำงานโดยตนเอง โดยหันมองตนเองว่าใด้ถนัดอะไร ทำให้ทุกคนมีความสามารถเท่าเทียมกัน ประสบความสำเร็จ 2 ส่วน 1. กระบวนการ กระบวนการทำงานในโรงเรียนมีปัญหาอะไร ทุกคนร่วมทีมกัน มีกำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้ความขัดแย้งลดน้อยลง 2. กลุ่มเป้าหมาย คือ นร. เกเร ไม่เรียบร้อย ทำโดยใช้พุทธศาสนาเข้าแทรกทำกิจกรรมโดยใช้ฐานการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา ผลที่ได้นร.ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมโดยทีนที แต่เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้นเรื่อยๆ นร.รู้ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ครูก็เกิดความสุข |
อ. ชัยวัฒน์ |
การสอนให้กับนร.ต่างจังหวัดกับ
นร.กทม.ต่างกัน สอนที่ ต่างจังหวัดสอนทุกแง่ทุกมุม เพราะไม่มีหนังสือ
เมื่ออาจารย์ได้มาสอนในกทม. ก็ยังยึดหลักเดิม และพบว่าเด็กในกทม.
สามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน
แต่อาจารย์ก็ยังคงสอนในลักษณะเดิม ในตอนแรกเด็กดีใจที่อาจารย์สนใจสอน
แต่เมื่อนักเรียนออกจากโรงเรียนไปกลับพบว่าความรู้ที่อาจารย์ได้ให้ไปเยอะไปสำหรับนักเรียน
จากนั้นอาจารย์จึงปรับการเรียนการสอนโดยเก็บสื่อการสอนทางอินเตอร์เน็ต
ให้นร.เรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นคว้าหาข้อมูล ให้อ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน
จากนั้นให้เด็กทำโครงงานส่ง
อีกทั้งได้เชิญอาจารย์จากภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ครูต้องสร้างความศรัทธาให้กับนร. เป็นตัวอย่างที่ดี ให้เด็กได้แสดงความสามารถ การแสดงออกที่เขามีทุกอย่างในตัวของเขา ครูได้ทำการสื่อการสอนในทุกรายวิชา และมีการทำวิจัยร่วมด้วย |
อ. รัตนา |
ทดลองวิจัยกับนร.
แบบบูรณาการบทบาทของครูเชื่อมโยงกับการบูรณาการในการสอน
ประสบผลสำเร็จได้ดี เพราะนร.มีการแสดงออก ปีที่สองมีครูเครือข่าย วิชานี้เอาวิชานั้นเข้าไปแทรก เช่น ครูวิทยาศาสตร์นำเอากลอนให้เด็กแต่ง จากนั้นปรับปรุงวิธีการเข้าสู่ขั้นที่ 2 แต่พบปัญหาคือ ครูแต่ละ รร. มีการทำงานต่างกัน จนในที่สุดพบว่าวิธีทำอยู่มันผิดทาง จึงเกิดความคิดบูรณาการ โดยทดลองให้เด็กทำแผนผังความคิด ให้นร.ทำโครงงานของเขาเอง เด็กคิดเอง โดยมีครูเป็นศูนย์กลาง |
อ. ศิริพงษ์ |
เด็กในรร.มีไม่มาก
สอนวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กนำสมุดบันทึก อุปกรณ์เครื่องมือ
ให้เด็กเดินสำรวจโรงเรียน แล้วให้เด็กตั้งทำถามหลายคำถาม
แล้วมาคุยกันในวง การคุยๆ อย่างเสรีภาพ
เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เสนอความคิดเห็น
และหาทางแก้ไขได้อย่างเต็มที่ มีประเด็นที่น่าสนใจ
คือการทำอย่างไรกับมูลควาย
เด็กช่วยกันแสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติในการแก้ปัญหา
ผลก็คือเด็กได้คิดว่าปัญหาในชุมชนคืออะไร
ศึกษามูลควายได้ว่ามีอะไรบ้าง และให้เด็กสร้างการจิตนาการออกมา
เด็กจะมีอิสระในการคิดและพูด กระบวนการสร้างความรู้ มี 5 อย่าง 1. สร้างความตระหนักร่วมกัน 2. สร้างสภาวะให้เกิดการเรียนรู้ 3. ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน 4. เมื่อสร้างความรู้แล้วจะต้องเก็บเกี่ยวความรู้ เช่น วางแผนทางความคิด 5. นำความรู้ไปใช้ |
อ. กานดา |
ทำงานเป็นครูมานานเกิดคำถามว่าครูอย่างเราสอนถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง
เด็กได้รู้พอหรือยัง อ. ได้ลองดูกับตัวเอง
โดยการกลับไปเรียนใหม่โดยการเข้าไปเรียนรู้กับประสบการณ์
ประสบการณ์แรกคือ
ศึกษาจาก
คุณพ่อของอ.
ดูกระบวนทางความคิด การปฏิบัติของพ่อ แล้วเปรียบเทียบกับนร.
แล้วลองเอาตัวเองเป็นนร. โดยเข้าไปเรียนรู้กับนร. พร้อมกัน
ต่อมาจึงได้ร่วมมือกับอ.จาก ม.เชียงใหม่ สร้างเครือข่าย
และให้เด็กตามไปดูด้วย และบางครั้งเด็กที่ไปด้วยกันก็เป็นครูสอนอีกที
เกิดความเข้าใจนร. และนำประสบการณ์และสิ่งที่พบเห็นมา
มาเป็นบทเรียนสอนนร. |
อ. สิทธิพล |
แรงบันดาลใจของอ. คือออดของรร.
เมื่อมีเสียงออดนร.เกิดความดีใจที่หมดชั่วโมง
อ.จึงนำวิธีโดยเริ่มแรกอ.ให้เด็กที่เรียนไม่เก่งเป็นพระเอก
นร.เรียนเก่งเป็นผู้ช่วยพระเอก อ.เป็นผู้กำกับ
เวลารวมกลุ่มของเด้กนำเด็กทั้ง 2 กลุ่มมาร่วมกัน
โดยให้ความสนใจเน้นไปที่เด็กเรียนไม่เก่ง แบ่งกลุ่มกันทำงาน
โดยอ.เป็นผู้กำหนดโจทย์ และให้เด็กไปศึกษาหาความรู้เอง
จากนั้นให้เด็กทำงานแสดงในฟิวเจอร์บอร์ดมาแสดงให้เพื่อนดูแล้วแลกเปลี่ยนกันกับกลุ่มเพื่อน เด็กจะรู้จักตัวเอง รู้จักคนในกลุ่ม สร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน ทำงานเป็นทีม จากนั้นทำกิจกรรมแบบนี้กันทั้งโรงเรียน เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างชั้น |
สรุปกระบวนการและข้อคิดเห็น I
ดร. สมาน |
1. KM ไม่ใช่เป้าหมายแต่เป็นเครื่องมือ
ทุกคนมีเป้าหมายอยู่แล้วอยู่ที่ว่าจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือ 2. เร้าพลังผู้เล่า เร้าพลังตัวเอง(ผู้ฟัง) ทุกคนต่างเรียนรู้พยายามดึงความรู้จากองค์ความรู้ และประสบการณ์ และเปลี่ยน 3. เกิดการสรุปขุมความรู้มากมาย ทุกคนมีจุดยืนขอตัวเองใช้ KM เป็นเครื่องมือ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ |
ดร.วิโรจน์ |
km
เป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้
ทำอย่างไรให้นร.ในห้องเรียนมีความสุข ต้องกระทำโดยยึดหลักมี 3
อย่าง 1. ทำอย่างไรให้เด็กมีความสุข 2. ความคิดของเด็กเปลี่ยน 3. การกระทำของเด็กเปลี่ยน ทุกวันนี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนจะเน้นให้เด็กมีความรู้ 99 % ควรที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยครูเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้เด็กมีความสุขในการเรียน กระทรวงศึกษา ควรจะเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาเป็นการพัฒนาตัวเองโดยตัวเอง เพราะโดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการศึกษาเป็นการพัฒนาตัวเองโดยผู้อื่น KM 1. จะต้องกำหนดเป้าหมาย เป็นทิศทาง 2. จะทำอย่างไร แสดงฝีมือโดยครูผู้สอน 3. การจัดการดูแลข้อมูลในตัวเอง เด็กจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา 4. การจัดระบบความรู้ 5. เผยแพร่ และใช้ประโยชน์ 6. เก็บเป็นแหล่งข้อมูล 7. ประเมินผล 8. การเปลี่ยนแปลงของเด็ก |
นพ.ชาตรี |
ความเป็นจริงที่สัมผัสได้ โดยการใช้ my
mapping ในการบักทึกเรื่องเล่า 1.ความรู้นี้ลิ้มลองได้ 2.รักต้องมาก่อน 3.จากกะลาครอบเป็นกะลาหงาย 4. ฯลฯ การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่กำหนดได้ เกิดความสนุกสนานได้ my mapping ไม่สามารถบันทึกเรื่องราวได้ทั้งหมด แต่สามารถนำไปเล่าต่อได้ การสร้างแรงบันดาลใจโดยครู ทั้ง 10ท่านเล่าโดยไม่เน้นเนื้อหา ทุกคนเล่าเรื่องของกระบวนการ โดยศึกษาโดยการทดลองทำก่อน จึงลงมือปฏิบัติ |