นั่งกรรมฐานแล้วบ้าน่ะ ใจมันอยู่ข้างนอก (ตอนที่ 2)


นั่งกรรมฐานแล้วบ้าน่ะ ใจมันอยู่ข้างนอก

(ตอนที่ 2)

 ธรรมกายในพระไตรปิฎก

(๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

“ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

“วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

ที.ปา.11/55/92


(๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

“อหํ สุคต เต มาตา
สทฺธมฺมสุขโท นาถ
สํวทฺธิโตยํ สุคต
อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ ตุวํ ธีร ปิตา มม
ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
รูปกาโย มยา ตว
มม สํวทฺธิโต ตยา.
ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”

“ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
หม่อม ฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔


(๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

“เมื่อ ก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ** ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

(๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก

ได้ ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า

“วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”

“นัก ปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐


(๕) กล่าวถึงผู้ที่ได้เห็นธรรมกาย ย่อมปราบปลื้มยินดี

"ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

"บุคคล ใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี"

ขุ.อป.๓๒/๑๓๙/๒๔๓

คำอธิบายเพิ่มเติม...

     อา นาปนัสสติ ผู้ฝึกธรรมกายสามารถฝึกได้ทุกคน เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เห็นพระธรรมกายนั่นเอง แม้แต่กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้ารับรองก็สามารถฝึกเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายได้ทั้งหมด อย่าสับสนระหว่างการฝึกอานาปานัสสติ กับการฝึกเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เพราะผู้ฝึกแบบอานาปานัสสติก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้เช่นกัน 

     ขอเรียนว่าเรื่องอานาปานัสสติที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นเรื่องเดียวกับฐานของใจทั้ง 7 ฐาน คืออย่างนี้ครับ

     หลวง พ่อวัดปากน้ำท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติ คือกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อท่านปฏิบัติจริงจังโดยอธิษฐานขอเอาชีวิตเข้าแลก ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง หลวงพ่อฯก็ใช้วิธีแบบอาณาปานัสสติ แต่มีช่วงนึงลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกยาวเท่ากัน ก็จะเห็นดวงปฐมมรรคแวบนึง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครา หลวงพ่อจึงไม่เอาใจวิ่งเข้าวิ่งออกตามลมหายใจอีก โดยเอาใจนิ่งที่ดวงที่เห็นอย่างเดียว และในที่สุดหลวงพ่อเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส แล้วจึงเห็นวิชชาความรู้ต่างๆ ขึ้นมา 

     ซึ่งเมื่อมา เปรียบโดยหลักวิชชาแล้ว อานาปานัสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกครบทั้ง 7 ฐานทุกครั้ง หลวงพ่อฯจึงได้ความรู้เพิ่มอีกว่า ทั้ง 7 ฐานนี่ เป็นทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์ดโลกด้วย เป็นที่หลับที่ตื่นของสัตว์โลกด้วย หลวงพ่อท่านจึงใช้ฐานที่ตั้งถึง 7 ฐาน จะเรียกว่าฐานของลมหายใจ 7 ฐานก็ได้ ถามว่าทำไมไม่มีบัญญัติไว้ในสมัยพุทธกาล เพราะเหตุว่าการกำหนดอานาปานัสสติครอบคลุมเรื่องฐานของใจทั้ง 7 ฐานอยู่แล้ว เพียงแต่ยุคนี้หลวงพ่อท่านทำให้ชัดเจนขึ้น และแทนที่หลวงพ่อจะสอนแบบกำหนดลมหายใจแบบอาณาปานัสสติ หลวงพ่อก็มาสอนแบบอาโลกสิณ(กสิณแสงสว่าง) และแสดงทางเดินของใจถึง 7 ฐาน เพราะเหมาะกับคนทุกจริตนั่นเอง 

     โดยหลักการบำเพ็ญภาวนา นั้นต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ถ้าเป็นอานาปานัสสติ บริกรรมนิมิต คือ ลมหายใจ บริกรรมภาวนาจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น พุทโธ ที่ตั้งของใจก็คือลมวิ่งเข้าวิ่งออก ลมวิ่งออกจากจุดไหน ลมวิ่งเข้ามาถึงจึดไหน นั่นก็คือที่ตั้งของใจนั่นเอง ในกาลก่อนมีพระอริยสงฆ์หลายท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติจนเห็นดวงปฐมมรรค เช่นกัน เช่น สมเด็จโตฯ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น ฯลฯ เพียงแต่ท่านปฏิบัติได้แล้วท่านก็ไปกำหนดจิตตรงว่างใสในดวงนั้น ก็ส่งผลให้รู้เห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยญาณทัสสนะ เพียงแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีกว่าตรงที่หลวงพ่อ เข้ากลางของกลางได้ เพราะหลวงพ่อละจากดวงใสแรก โดยเข้ากลางของกลางจนไปเห็นเรื่องกายในกาย 

     จึง ขอให้เข้าใจเถิดว่า อานาปานัสสตินั่นแหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด สามารถเห็นกายในกายได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าเพียงเป็นผู้บอกทาง เมื่อเราปฏิบัติแล้ว ผลจะเกิดกับเราเอง

******

สมถะ

-------------------------------------------



ความเห็น (2)

สฺุญฺญปฺปณิธิญฺจ ตถานิมิตฺตํ

อาเสวยิตฺวา ชินสาสนมฺหิ

เย สาวกตฺตํ น วชนฺติ ธีรา

ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู ฯ

มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา

จิตฺติสฺสรา สพฺพทุกฺโขฆติณฺณา

อุทคฺคจิตฺตา ปรมตฺถทสฺสี

สีโหปมา ขคฺควิสาณกปฺปา ฯ

สนฺตินฺทฺริยา สนฺตมนา สมาธี

ปจฺจนฺตสตฺเตสุ มติปฺปจารา

ทีปา ปรตฺถ อิธ วิชฺชลนฺตา

ปจฺเจกพุทฺธา สตฺตหิตาเม ฯ

สาธุ อนโมทนา ครับ       ประทิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท