องค์กรมิใช่เครื่องจักร ต้องการความรักและความเข้าใจ (2)


องค์กรมิใช่เครื่องจักร ต้องการความรักและความเข้าใจ (2)

 เรื่องราวทั้งหมดที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ ในอดีต ในอนาคต ล้วนแล้วแต่เพราะ ชีวิต และ สังคม ทั้งสิ้น กิจกรรมใดๆก็ตาม หากไม่เอื้อให้ชีวิต ไม่เอื้อให้สังคม ไม่ว่าในระยะสั้นของประวัติศาสตร์จะดูดีแค่ไหนก็ตาม แต่สภาวะการเน่าเปื่อยนั้นจะเกิดจากจิตวิญญาณก่อน กินจากอวัยวะภายในก่อน จากหัวใจก่อน เหลือแต่ร่างกาย กับ ร่องอารมณ์ใน amygdala ที่เสพย์ความต้องการพื้นฐานคือความกลัว ความหิว และการอยู่รอดเท่านั้น ไม่เหลือพลังให้ความรัก และจินตนาการสร้างสรรค์ได้เลย

องค์กรที่มีชีวิต (ชีวา) นั้น ก็เหมือนสิ่งมีชีวิต ต้องการอาหาร ต้องการอากาศหายใจ ต้องการที่อยู่อาศัย สืบต่อขยายจำนวนได้เพื่อการเจริญเติบโต และข้อสำคัญคือ มีจิตวิญญาณ มีความรัก มีอารมณ์ ความสมดุลระหว่าง basic needs กับ ความต้องการขั้นสูงจะต้องอยู่ในเกณฑ์พอดี เครื่องจักรนั้นถูกสร้างเลียนแบบมนุษย์เกือบทุกอย่าง แต่เป็นการเลียนแบบสิ่งมีชีวิตขั้นต่ำเท่านั้น คือ เครื่องจักรต้องการอาหาร (น้ำมัน ไฟฟ้า พลังงาน) ต้องการที่อยู่ แพร่ขยายพันธุ์แบบ parasites คือสูบโลหิต ดูดอาหาร มาจากกลุ่มอื่นๆข้างเคียงที่มาข้องแวะ (หรืออีกนัยหนึ่ง เราเรียก host ใหม่นี้ว่า customer!!) แต่ไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีความรัก ไม่มีอารมณ์ เราไม่ควรจะเข้าใจไปว่าสัตว์ที่เราสร้างเทียมเลียนแบบสิ่งมีชีวิตนี้จะสำคัญไปกว่าคนสร้างมันจริงๆ เราควรทำให้เครื่องมือรับใช้มนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์ลงไปทำตัวเหมือนเครื่องจักร

  

 ถ้าเราจะเลี้ยงดูองค์กร เราก็ควรจะเลี้ยงดูเหมือนลูกของเราเอง เราคงจะอยากให้ลูกของเราเติบโต แข็งแรง มีครอบครัว แต่ไม่ใช่แค่นั้น ลูกของเราเป็นมนุษย์ เราก็อยากจะให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ที่อารมณ์ที่สวยงาม มีจิตใจที่เบิกบานร่าเริง มีจิตใจที่มีเมตตากรุณา ให้อภัยผู้อื่น มีความรักต่อผู้อื่น

Well ตรงนี้คงแล้วแต่ลูกใคร ลูกมัน ด้วย ใช่ไหมครับ

หลายปีมาแล้ว ผมเคยได้ยินมุขตลกของคุณอุดม แต้พานิช พูดถึงสัตว์พันธุ์ใหม่คือ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน" พัฒนาต่อมาจาก mammals และ primates เพียงแต่ว่าสัตว์พันธุ์นี้มองข้ามวิวัฒนาการไปอย่างหนึ่ง คือไม่เข้าใจว่าขั้นตอนการให้นมแม่นั้น ไม่ได้เพื่อให้อาหารเพียงอย่างเดียว แต่ได้สอนให้เข้าใจเรื่องความรัก ความผูกพัน ความสัมพันธุ์แต่ดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สาเหตุหลักที่ทำให้ mammals จึงมีความเป็นฝูงได้ รู้จักเผ่าพันธุ์ รู้จักพวกเดียวกัน

เรามองไปรอบๆองค์กรของเรา สิ่งตอบแทนต่างๆนั้น เราไม่อยากได้เพียงเพราะมันเป็นหนทางซื้อหาอาหารมาเพื่อยังชีพเท่านั้น เราต้องการสิ่งตอบแทนสำหรับอารมณ์ ความรู้สึก จิตวิญญาณ สำหรับ ชีวิตที่มีความหมาย ด้วย มิฉะนั้นองค์กรก็จะกำลังเลี้ยงดูคนภายในแบบสัตว์เลี้ยงลูดด้วยเงินพันธุ์ mutation นี้อยู่นั่นเอง

บรรยากาศในที่ทำงานของเราเป็นอย่างไร?

เป็นบรรยากาศแบบเครื่องจักร หรือบรรยากาศที่เข้ามาแล้ว มีกลิ่นอายมนุษย์ ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ และ เชิดชู ภาคภูมิใจในความเป็นมนุษย์ หรือไม่?

พี่โกมาตรทิ้งโจทย์ไว้น่ารัก น่าสนใจมาก

 วัฏจักรพื้นฐาน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่อยู่ในโรงพยาบาลต่างๆนั้น เราได้ ให้ความหมาย ของชีวิต ของความมีชีวิต ของความหมายการมีชีวิตไว้บ้างหรือไม่?

การเกิด: เราได้ทำอะไรที่แสดงออกถึง

    • การเริ่มต้นความเป็นแม่
    • จุดเริ่มของครอบครัว
    • การสืบสกุล คุณงามความดีของตระกูล
    • การธำรงไว้ซึ่ง species ซึ่งความเป็นมนุษย์
    • ความรักที่บริสุทธิ์ที่สุดตามธรรมชาติ

 การแก่: เราได้ทำอะไรที่แสดงออกถึง

    • คุณค่าของประสบการณ์ชีวิต
    • รางวัลที่ได้อยู่ในสังคมเป็นเวลานาน
    • ร่องรอยของการคงอยู่ ในครอบครัว ในสังคม ต่อคนรอบข้าง
    • สัจจธรรมของการไม่ธำรงอยู่ถาวร
    • สถาบันครอบครัว
    • ความกตัญญูกตเวที

การเจ็บป่วย: เราได้ทำอะไรที่แสดงออกถึง

    • บทเรียนแห่งวัฎสังสาร
    • ความเปราะบางของสังขาร
    • พลังความหวัง (ที่ไม่ใช่ความคาดหวัง)
    • อารมณ์ความรู้สึก ความห่วงใย ความเอื้ออาทร
    • ความเมตตา กรุณา ปราถนาดี
    • psychosocial elements

 การตาย: เราได้ทำอะไรที่แสดงถึง

    • ความสำคัญของจิตวิญญาณ
    • การสะท้อนถึงคุณงามความดีที่ผ่านมาในชีวิต
    • การสะท้อนถึงความสำนึกผิด เสียใจ ต่อสิ่งที่ผิดพลาด
    • สัจจธรรมแห่งวัฎสังสาร
    • ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต
    • ความทุกข์ในการที่มีชีวิตอยู่
    • โอกาสที่จะพิจารณาถึงสัจจธรรม
    • วงจรที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน

เป็นโจทย์ที่อาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ทิ้งไว้ให้ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง อย่างลึกซึ้งได้อีกนาน

ประทับใจจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 85745เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประทับใจในช่วงนี้มากเช่นกัน มาเก็บเกี่ยวส่วนที่ขาดหายไปจากอาจารย์ ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปัน

สวัสดีครับ คุณศุภลักษณ์

ผมนั่งอยู่แถวหน้าสุด ถ้าไม่เกรงใจพี่โกมาตรจะลุกขึ้นเป่าปาก ตบมือกระทืบเท้าด้วยความมันในอารมณ์อย่างยิ่ง

เป็นเดี่ยวไมโครโฟนที่เจ๋งที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา เห็นด้วยครับ

เห็นด้วยมากครับ...

การขับเคลื่อนองค์กรคงต้องใช้ความสามัคคีร่วมกันของพนักงานในองค์กร มากกว่าระบบที่องค์กรคิดว่าดีที่สุดแล้ว...

ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท