ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการชุมชนอินทรีย์นครศรีฯ


โครงการฯจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสนามฝึกใหญ่ ฝึกให้คน กศน.ให้ได้ปรับเปลี่ยนตนเอง พัฒนาสมรรถนะ เปลี่ยนสไตล์การทำงานตนเองไปด้วย ไปเรียนรู้จากชาวบ้าน จัดให้ตามความต้องการของชาวบ้านมากขึ้น เรียกว่าปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเสียใหม่ ไม่ใช่ยึดความต้องการของตน หน่วยงานเป็นใหญ่ จะจัดกิจกรรมอะไรก็จัด

หากจะมองในมุมของชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้เรียนแล้ว ถ้าเขาต้องการจะเรียนรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใดด้วยวิธีการใด แล้วปรากฏว่าเขาได้เรียนตามนั้นและในห้วงระยะเวลาที่เขาต้องการนั้น นับได้ว่าเป็นยอดความปราถนาของเขา เป็นความสุขของเขาอย่างหนึ่ง ที่เขาได้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างแท้จริง

โครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชก็มีเป้าหมายอย่างนี้  เชื่อในศักยภาพของคนว่าตั้งต้นพัฒนาอะไรด้วยตนเองได้ บนฐานของการพึ่งตนเอง ความพอเพียง การเรียนรู้ของเขาจะไปได้ดีหากจะได้มีเพื่อนเรียนรู้ที่ดีไปช่วยทำหน้าที่คุณอำนวยการเรียนรู้ให้ และมีคุณเอื้อคอยหนุนเสริมกลไกการทำงานหน้างาน หรือหนุนเสริมการเรียนรู้ให้เขาได้อย่างไม่ติดขัด

โครงการฯออกแบบหรือวางเป้าหมายเอาไว้ว่าชาวบ้านหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้ลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองทุกเรื่องตั้งแต่เรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง สังคม และเรียนรู้โลก(โลกนอกชุมชนที่กว้างออกไป) เรียนรู้ด้วยเครื่องมือต่างๆด้วยตนเอง แบบระเบิดมาจากข้าในทุกเรื่อง เช่นแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้าน การจัดทำแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง การรู้จักนำโครงการที่บรรจุในแผนฯมาปฏิบัติก่อนหลัง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง การทำเวทีประชาคม เป็นต้น

การที่โครงการฯคิดออกแบบเอาไว้ว่าใคร อยู่ที่ไหน อยากรู้อยากเรียนเรื่องอะไรด้วยวิธีการใด แล้วได้รับโอกาสตามนั้น ชาวบ้านสร้างโอกาสให้ชาวบ้านกันเอง จึงนับว่าเป็นการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนกันครั้งใหญ่

โดยเฉพาะในซีกของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กศน.ส่วนกลาง ก็ได้กำหนดยุทธศาสตร์ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนครั้งใหญ่ ออกมาในจังหวะนี้พอดี เรียกว่าตอบโจทย์ในใจผู้เรียน

ฉะนั้นเมื่อ  กศน. ได้กำหนดกลยุทธ์การทำงานว่าให้ยึดแนวทางหรือวิธีการตอบโจทย์ในใจผู้เรียน ให้ใครอยู่ที่ไหนก็เรียนรู้เรื่องนั้นๆได้ตามความต้องการ

นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สอดประสานเข้ากันอย่างลงตัว

โครงการฯจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสนามฝึกใหญ่ ฝึกให้คน กศน.ให้ได้ปรับเปลี่ยนตนเอง พัฒนาสมรรถนะ เปลี่ยนสไตล์การทำงานตนเองไปด้วย  ไปเรียนรู้จากชาวบ้าน จัดให้ตามความต้องการของชาวบ้านมากขึ้น เรียกว่าปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเสียใหม่ ไม่ใช่ยึดความต้องการของตน หน่วยงานเป็นใหญ่ จะจัดกิจกรรมอะไรก็จัด

โครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นเครืองมือที่สำคัญของ กศน. และ กศน.ก็คือเครื่องมือที่สำคัญของโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่างฝ่ายต่างเป็นเครื่องมือเสริมหนุนซึ่งกันและกัน ผมคิดว่าในมิติของหน่วยงานอื่นก็เช่นเดียวกัน ต่างฝ่ายก็ต่างเป็นเครื่องมือให้แก่กันและกันอย่างลงตัว แต่ไม่ว่าหน่วยงานใดจะเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานใดเสริมหนุนกันอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วหน่วยงานทุกหน่วยงานดังกล่าวนี้ล้วนเป็นเครื่องมือเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านทั้งหมดทั้งสิ้น ได้ ได้ และได้ ด้วยกันทุกฝ่าย

ชุมชนอินทรีย์คือชุมชนเรียนรู้ ถ้าชาวบ้านประทับใจที่ได้เริ่มต้นเรียนรู้เรื่องอะไรแล้วก็ได้เรียนตามที่เขาต้องการ

กศน. หรือหน่วยงานต่างๆทำหน้าที่หนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้

ผมจึงคิดว่านี่คือยุทธศาสตร์ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ตอบโจทย์ในใจผู้เรียนที่จะส่งเสริมสมรรถภาพหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนอินทรีย์ได้

 

หมายเลขบันทึก: 84307เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท