ความสามารถเฉพาะตัว...หรือ...Tacit Knowledge


...เมื่อคนๆหนึ่งสามารถทำอะไรได้พิเศษกว่าคนอื่น หรือมีความสามารถพิเศษ สิ่งนั้น คือ ความรู้ฝั่งลึกที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge)...

ผู้ที่เริ่มศึกษาทำความรู้จักกับ KM (Knowledge Management)

มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความรู้สองคำแรกที่จะต้องทำความรู้จักคือ ความรู้แจ้งชัด (หรือบางท่านบอกชัดแจ้ง) Explicit Knowledge และ ความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge)

ซึ่งความหมายเกี่ยวกับความรู้ที่เราจะจัดการนี้ ได้มีท่านผู้รู้หลายท่านได้อธิบายไว้ในหลายแห่งในบล็อก ดังเช่น บันทึกนี้ บันทึกนี้ บันทึกนี้ บันทึกนี้ และบันทึกนี้ 

สำหรับผู้บันทึกเองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจ  เพื่อจะได้เกิดเป็นความรู้ แต่ทำอย่างไรก็ยังไม่ชัดแจ้งสักที และยิ่งเมื่อมานั่งดูภาพการไปเยือนเวียตนามเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว 

ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองอีกว่า...เมื่อคนๆหนึ่งสามารถทำอะไรได้ดีกว่าคนอื่น หรือมีความสามารถพิเศษ สิ่งนั้น คือ ความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge)...หรือไม่ค่ะ...... 

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 ความสามารถเล่นดนตรีจากถ้วยกาแฟ

    

ความสามารถถีบสามล้อ (น่ากลัวมากค่ะ) 

 

ความสามารถในการปักผ้า 

  

ดอกบัวปัก

<p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ความสามารถในการเชิดหุ่นกระบอกน้ำ</p>

<p>   </p>

 

ความสามารถในการแบกของบนศรีษะ

   

 

และสุดท้ายที่พบ คือ ความสามารถในการจิ้มหอย (เป็นกะละมัง) 

 

 

ท่านคิดว่าอะไรคือ TK แล้วอะไรที่ไม่ใช่....

 </span></strong>

หมายเลขบันทึก: 83849เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

เรียนท่านอาจารย์แป๋ว 

TK กับ Skin น่าจะคล้ายๆกันนะครับ การจากการฝึกฝน สั่งสม จากการเรียนรู้ ลองผิดถูก และถ้าดีต้องมีการถ่ายทอด เช่น กับชาวจีนสอนลูกหลานให้รู้จักการค้าขายตั้งแต่เล็กๆ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

หมูว่า การแบกของบน ศรีษะ น่าจะเป็น TK นะคับ

พี่แป๋ว

TK นี่คล้ายๆสัญชาตญาณ ป่าวคับพี่ ผมก็ยังไม่ค่อย

เข้าใจเท่าไร

  • หนิงก็เคยเจอคำถามแบบนี้ค่ะ ว่า Tacit Knowledge กับ Skill ต่างกันอย่างไร  อันไหนคือ TK และอันไหนคือ Skill  ..เช้านี้เจออีกแล้ว  อิอิ
  • ขอตอบว่า  ช่างปักผ้า มี TK ค่ะ
  • ..การเชิดหุ่นกระบอกน้ำด้วยค่ะ   กดเร็วไปหน่อย
  • เห็นด้วยกับP ค่ะ
  • จะเป็นความรู้ฝังลึก (ไม่ใช่ฝั่งลึกนะคะ)ต้องเรียนรู้ ได้ทำ ฝึกฝนเกิดทักษะเกิดความชำนาญค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

P
P
P
P

 แสดงว่า Tacit กับ Skill น่าจะใกล้เคียงกัน อย่างน้อยก็ 90 % นะค่ะ.....

ความสามารถที่นำมาโชว์นี้ก็น่าจะมี TK อยู่ทั้งหมดใช่มั้ยค่ะ

เอาก็ว่าน่าจะใกล้เคียงกัน เหมือนกันครับ
  • ขอไม่ตอบ ขอตัวเลือกได้ไหม
  • เอ หรือจะตอบเป็นคำตอบสุดท้ายดี
  • ที่บ้าน ชายแดนพม่า มอญ
  • ทำได้มากกว่านี้ครับ
  • ขอบคุณครับ

เย้

แสดงว่าหมูพอจะเข้าใจแล้ว

http://gotoknow.org/blog/watcharakit/84111

เชิญพี่แป๋วไปเที่ยวพืชสวนโลกคับ

อิอิ

ขอบคุณมากค่ะ

P
เปลี่ยนรูปอีกแล้ว คราวนี้ย่ามแดงหายไปไหนค่ะ...อิอิอิ....วันนี้ยังไม่ได้แวะไปเยี่ยมบ้านคุณย่ามแดงเลย ....

P
คำตอบสุดท้ายคืออะไรเอ่ย.....
P
ดีมากหมู เป็นเด็กดีตั้งใจเรียน...แวะไปบ้านหมูมาแล้วดอกไม้ หอคำ ทัศนียภาพสวยมาก โดยเฉพาะรูปสาวๆ..อิอิอิ

 

คิดว่าการทำจนชำนาญ (skilled) คือกระบวนการที่ทำให้เกิด tacit knowledge ค่ะ โดยที่คนทำอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ และคนส่วนใหญ่ก็จะไม่สามารถอธิบายหรือถ่ายทอดออกมาได้ว่า ตัวเองทำงานนั้นๆได้ดีกว่าคนอื่นอย่างไร อะไรที่เป็น TK ของตนเอง สิ่งที่จะทำให้ TK ที่แต่ละคนมีได้ใช้ประโยชน์ก็คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั่นเองค่ะ เพราะการที่เราพบคนที่ทำงานลักษณะคล้ายๆเรา แล้วได้คุยกัน เราจะพบว่างานที่เราทำเหมือนๆกัน เรามีวิธีการทำที่อาจจะไม่เหมือนกัน ความเหมือนความต่างนี้เองที่เป็น TK ร่วมหรือ TK เฉพาะตัว ที่น่าจะได้เอามาประมวลกัน เมื่อนำไปลองทำงานนั้นดูอีกโดยต่างคนต่างรวมสิ่งที่ได้จากการพูดคุย ผลที่ได้อาจจะต่างกันออกไปอีกด้วย เป็นการหมุนเกลียวความรู้ต่อไป

 นี่คือสิ่งที่ตัวเองเข้าใจค่ะ ไม่ทราบว่าจะเหมือนหรือต่างกับท่านผู้ใดบ้าง เชื่อว่าไม่มีถูก ไม่มีผิดค่ะ ขอให้ได้คิด และติดตามความคิดของตัวเอง ก็เป็นการบริหารสมองแล้วค่ะ

และ TK ที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพวกเรานำมาแลกเปลี่ยนกันใน GotoKnow จนดูเหมือนพวกเราคือคนวงการเดียวกันไปหมดก็คงจะเป็น วิธีการมองชีวิต วิธีการดำเนินชีวิตนั่นเองค่ะ อ.แป๋ว เห็นด้วยไหมคะ 

ด้วยความรู้อันน้อยนิด และไม่มหาศาล  ก็อยากทายแบบครอบจักรวาลว่าใช่ทั้งหมด

แต่ชอบ.. รอยยิ้มของคนที่นั่งสามล้อครับ !

"""""

วันนี้ลงพื้นที่เยี่ยมนิสิตที่ออกค่ายแถบสุรินทร์และพื้นที่ชายขอบแถบมหาสารคาม  พบภูมิปัญญาชาวบ้านหลายอย่างที่น่าสนใจ

พอพูดคุยซักถามท่านก็บอกแต่เพียงว่ามันเป็นการซึมซับมาจากรุ่นสู่รุ่น "  ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว" และไม่สามารถอธิบายอะไรได้เป็นรูปธรรม 

ผมแนะนำให้นิสิตพูดคุย ชวนคุยและแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกระบวนการ "สะกัดความรู้"  ของบุคคลเหล่านี้ออกมาให้มากที่สุด  เพื่อประโยชน์ของการ "ต่อยอด"

 

เรียน  พี่แป๋วค่ะ

           หนูสรุปกิจกรรม mini walk rally แล้วค่ะ  เชิญอ่านที่  บันทึกนี้ค่ะ

         ขอบคุณมากค่ะ

P

ขอบคุณ อ.โอ๋ มากค่ะ ที่ แลกเปลี่ยนความคิดความเข้าใจ เรื่อง TK สำหรับตัวเองนะค่ะ คิดว่า Skill คือสิ่งที่เราปฏิบัติมาจนเป็นความชำนิชำนาญ ส่วน TK นั้น น่าจะเป็นการที่เรารู้ว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้สิ่งนั้นออกมาดีและแสดงผลออกมาในรูปของความชำนาญ....ซึ่งความรู้ตรงนี้จะเป็นตัวไปควบคุม Skill หรือ ทักษะ หรือเปล่าค่ะ..... รวมทั้งประสบการณ์ก็จะเป็นตัวมาสร้างทั้ง TK และ Skill....มั้ยค่ะ.....ชักงง....

TK ที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพวกเรานำมาแลกเปลี่ยนกันใน GotoKnow จนดูเหมือนพวกเราคือคนวงการเดียวกันไปหมดก็คงจะเป็น วิธีการมองชีวิต วิธีการดำเนินชีวิตนั่นเองค่ะ อ.แป๋ว เห็นด้วยไหมคะ .....เห็นด้วยค่ะ....

ขอบคุณมากอีกครั้งค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ คุณแผ่นดิน...คงเฉลยไม่ได้นะค่ะ...แต่ก็น่าจะใช่ทั้งหมดนะค่ะ...ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ...อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดก็ได้....งงงงง

คนที่นั่งสามล้อ คนนั้น ไม่ได้ยิ้มนะค่ะ แต่เป็นการร้องหวาดเสียวค่ะ เพราะคนขับเธอซิ่งมาก ปาดซ้าย ปาดขวา ทั้งๆที่ข้างหน้านั้นมีทั้งมอเตอร์ไซด์และและรถยนต์ ...เกรงว่าถ้าทำหน้าตาแบบหวาดกลัว ก็เกรงจะเสียภาพลักษณ์ เลยต้องทำเหมือนว่ากำลังยิ้ม...หัวเราะ....จริงๆ แล้วกลัวค่ะ กลัวจริงๆ ...เพราะถ้าชน เรานี่แหละอยู่ข้างหน้า..ชนก่อนคนขับ.....บรื้อ...หวาดเสียวค่ะ....

ดีมากนะค่ะ ที่นิสิตได้มีโอกาสไปพูดคุย สกัด TK จากพ่อแก่แม่เฒ่า .... อย่าลืมให้นิสิตบันทึกด้วยนะค่ะ....

วันนี้ก็ประเมินและบอกกล่าวว่ากระบวนการสรุปบทเรียน หรือแม้แต่การบันทึกผลของกิจกรรมแต่ละครั้งเป็นจุดบอดที่นิสิตต้องปรับกระบวนการเสียใหม่

ยังพอมีเวลาที่เขาจะจัดการกับเรื่องเหล่านี้..(เขาบอกกับผมเช่นนั้น)   อีกทั้งบางเรื่องโจทย์การทำงานก็ดูจะยังไม่ชัด

เสียดายที่อาจารย์ที่ปรึกษาองค์กรไม่ได้ไปดูแลอย่างใกล้ชิด

ขอบคุณครับ

รูปสาวๆเต็มไปหมด หมูเป็นตากล้อง

มีรูปปาล์มขวดเท่านั้นเองที่หมูตั้งเวลาถ่ายแล้ววิ่งไป

อิอิ

เรียนเพื่อให้รู้ลึกๆเกี่ยวกับคอม

หมูเลี้ยงตัวเองได้แล้ว

มีธุรกิจแล้ว เด๋วจะแอบไปตีสนิทพี่แป๋ว พี่ติ๋ว ที่ขอนแก่น เพื่อ แจกการ์ด อิอิ

P

เราไม่ค่อยได้ฝึกเขียนกันซักเท่าไหร่ค่ะ โดยเฉพาะเด็กๆ รุ่นใหม่ ข้อสอบ แบบฝึกหัด ก้นแต่กา เลือกข้อถูก ไม่ต้องคิดในการเขียน จะเป็นสาเหตุให้พวกเราไม่ค่อยชอบบันทึก...ยกเว้นบางคนเท่านั้นที่ชอบบันทึก ทั่วๆไปแล้วไม่ค่อยชอบ จริงมั้ยค่ะ

ทำอย่างไร จะให้นิสิตนักศึกษาชอบการบันทึก....

P
น้องแป๊ดขา...ไปอ่านบันทึกแล้วค่ะ...สนุกมาก..หวาดเสียวผ้าขะม้า อิอิอิ
P

ภาพนั้นหมูสูงโย่งมากเลย หมูสูงเท่าไหร่?

ดีมากแล้วหมูก็จะมี TK มี Skill ไว้ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนกับคนอื่นได้ และยิ่งจะทำให้เราพัฒนาฝีมือยิ่งขึ้นๆ ไป

ส่งการ์ดมาเลย....จะไปได้รึปล่าว ค่อยว่าอีกเรื่องนะ...

ใน human factor และ cognitive psychology จะแบบระดับการพัฒนาให้อยู่ใน 3 ระดับนี้ครับ

knowledge level, experience level และ  skill level  ครับ

P
ขอบคุณมากค่ะ แล้ว Tacit knowledge นี่อยู่ที่ระดับknowledge level หรอค่ะ.....

อาจารย์ paew ครับ

ขอโทษครับ บอกผิดไปหน่อย เป็น skill-based, rule-based, และ knowledge-based ครับ (ผมไปจำสับสนกับอีกแบบหนึ่ง ที่เป็น Rule-based, Experience-based และ Theory-based ครับ)เอาเป็นว่าไอ่เจ้า 3 ตัวเี้นี้ยเรียกว่าเป็นชนิดหรือ kinds ของ cognitive control ครับ

เราคงว่าไม่ไ้ด้เลยทีเดียวว่า TK อยู่ใน knowledge-based ครับ

ในความเห็นของผม ความสามารถเฉพาะตัวอย่างที่ในรูปที่่อาจารย์ยกมา ตรงนี้มันอาจจะเป็นความสามารถในระดับ Skill-based behavior เพราะไม่ต้องการกระบวนการคิด (cognitive process) คือไม่ requires reasoning กับ principle ของ domain เลยครับ (knowledge-based requires reasoning with the principle of the domain)

แล้วมองว่าความสามารถพิเศษอย่างที่เราเห็นเนี้ยเป็น TK หรือเปล่าก็คงต้องย้อนกลับไปดูที่ความหมายครับ TK ครับ โดยทั้วไปเรารู้ว่าในทาง knowledge management จะให้ความหมายของ TK ว่าเป็น ความรู้ทีเป็น collective experience ของแต่ละบุคคล, ไม่ได้ generalize ความรุ้

แต่ในขณะเดียวกันอีกความหมายหนึ่งของ TK คือสิ่งที่”เรารู้ว่าเรารู้”แต่เราจะไม่สามารถเรียงร้อย (codification หรือ articulation) เป็นความรู้ที่ที่อยู่ใน format ที่สือสารกันได้ ต้องอาศัยการ trained หรือการไปสัมผัสตรงกับสิ่งนั้นๆ ความสามารถอย่างในรูป ที่อยู่ในระดับ skill-based ก็น่าจะเป็น TK ได้ในความหมายนึ้ได้ครับ

อาจารย์ paew ครับ

ขอโทษครับ บอกผิดไปหน่อย เป็น skill-based, rule-based, และ knowledge-based ครับ (ผมไปจำสับสนกับอีกแบบหนึ่ง ที่เป็น Rule-based, Experience-based และ Theory-based ครับ)เอาเป็นว่าไอ่เจ้า 3 ตัวเี้นี้ยเรียกว่าเป็นชนิดหรือ kinds ของ cognitive control ครับ

เราคงว่าไม่ไ้ด้เลยทีเดียวว่า TK อยู่ใน knowledge-based เพียงอย่างเดียวครับ การมีอยู่ของมันกับการ control จาก cognitive น่าจะคนละส่วนกันครับ 

ในความเห็นของผม ความสามารถเฉพาะตัวอย่างที่ในรูปที่่อาจารย์ยกมา ตรงนี้มันอาจจะเป็นความสามารถในระดับ Skill-based behavior เพราะไม่ต้องใช้การกระบวนการคิด (cognitive process) คิดแล้วคือไม่ requires reasoning กับ principle ของ domain เลยครับ (knowledge-based requires reasoning with the principle of the domain)

แล้วมองว่าความสามารถพิเศษอย่างที่เราเห็นเนี้ยเป็น TK หรือเปล่าก็คงต้องย้อนกลับไปดูที่ความหมายครับ TK ครับ โดยทั้วไปเรารู้ว่าในทาง knowledge management จะให้ความหมายของ TK ว่าเป็น ความรู้ทีเป็น collective experience ของแต่ละจากความหมายนี้ เอา tacit knowledge จาก skill-based น่าจะยากสุดเพราะ TK คือสิ่งที่”เรารู้ว่าเรารู้”แต่เราจะไม่สามารถเรียงร้อย (codification หรือ articulation) เป็นความรู้ที่ที่อยู่ใน format ที่สือสารกันได้ ต้องอาศัยการ trained การฝึกหัด หรือ การไปสัมผัสตรงกับสิ่งนั้นๆ ความสามารถอย่างในรูป ที่อยู่ในระดับ skill-based ก็น่าจะเป็น TK ได้แต่ยากที่จะทำให้เป็น explicite นะครับ คนชำนาญแล้วส่วนมากจะอธิบายยาก

:-( ขอโทษครับอาจารย์ ขออาจารย์ช่วยลบอันบนออกนะครับ อ่านอันแรกแล้วงงตัวเอง เลยเขียนอันที่สอง ก็ยัง งง อยู่ดี อาจารย์ลองอ่านดูนะครับ อันที่สองนะจะเข้าใจได้ดีกว่าอันแรก

ขอต่อยอดนะครับ ในทาง neuroscience เกี่ยวกับความจำของคนเรา แบ่งความจำออกเป็น
Expicit (declarative) memory คือความจำที่ระบุได้เช่นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงต่างๆ
Implicit (procedural) memory คือการจำขั้นตอนหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นกระบวนการ เช่น การถีบจักรยาน การเล่นบาสเก็ตบอลลล์ให้เก่ง

การเรียนรู้ในเชิงทักษะจะอาศัยความจำแบบ implicit memory ขณะที่การท่องจำจะเป็น explicit memory

ขออนุญาตเพิ่มข้อมูลในที่นี้เพราะเห็นว่าในเรื่องของการเรียนรู้ ความจำก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเหมือนกัน

P
ขอบคุณมากค่ะ...ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ การที่เราได้เรียนรู้จากหลักทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ตรงนี้ ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ขอบคุณมากๆค่ะ
P
ไม่ลบได้มั้ยค่ะ อ่านทั้งสองอันนั้นแหละค่ะ เป็นการ confirm จะได้เข้าใจมากขึ้น ให้เรียนแบบ งง งง แล้วตามด้วยความเข้าใจ....ยิ้ม ยิ้ม 
P
อาจารยหมอมาโนชขา...ขอบคุณมากค่ะ แล้วต่อจาก implicit memory ก็จะเป็น skill แล้วก็ เป็น TK ต่อได้ใช่มั้ยค่ะ

185 คับ

สูงน้อยไปไหมพี่

ล้อเล่นคับ เด๋วให้คบกันครบ 12 ปีก่อน ถึงจะแต่ง อิอิ

P
สูงมากๆๆเลยหมู....เวลาเดิน ต้องเดินยืดๆ นะจะได้สง่า ผ่าเผย อิอิอิ....คบนานไปรึปล่าว จ้ะ
อยากเที่ยวมากๆก่อนพี่
ดี พอแต่งงานแล้วอาจได้เที่ยวน้อยลง

ความแก่...... อาจทำให้เที่ยวน้อยลงก็ได้คะ...แต่ไม่ใช่สมพร.... ยิ้ม ยิ้ม

แต่ถ้ารูปนี้ก็โอเคนะคะ

P
ยิ่งอายุมากขึ้น มีเงินมากขึ้น ก็เที่ยวได้มากขึ้นมั้ยค่ะ ภาพนี้ เครื่องที่บ้านพี่ไม่แสดงไม่รู้ภาพอะไร....แต่สงสัยจะดีอยู่นะ.....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท