KM กับหน่วยราชการต้นแบบ
ในการประชุม
อกพร. กระบวนทัศน์ วันที่ 28 พ.ย.48
มีการนำเสนอ "โครงการสร้างต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
วัฒนธรรม และค่านิยม" โดยมีเป้าหมาย
1. เพื่อเสาะแสวงหาหน่วยงาน
ข้าราชการและทีมงานที่เป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ดี
เป็นกรณีศึกษาเพื่อนำมาเป็นรูปแบบเพื่อการขยายผล
โดยคัดเลือกหน่วยงานต้นแบบที่ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
บนพื้นฐานการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
และคัดเลือกข้าราชการและทีมงานต้นแบบ
2.
เพื่อศึกษาต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ดีว่ามีวิธีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างไร
เพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติ
3.
เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ผลผลิตของโครงการได้แก่
1. รวมหน่วยงานตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้
(Excellent Model)
2. กรณีศึกษา (Case Study)
3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning
Network)
4. รายงานผลการจัดงานเพื่อมอบรางวัล
5.
คู่มือการปรรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
6.
แนวทางการสนับสนุนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (คู่มือ)
ใช้แนวทางดำเนินการ 2 แนวทางประกอบกัน คือ
1. แนวดำเนินการเชิงทฤษฎี (Theory)
จะทบทวนองค์ความรู้ด้าน
-
แนวคิดในการพัฒนาระบบราชการ New Public Management Model & Good
Governance Model VS. Weberian Model ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
-
แนวคิดของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
มีสมมติฐานว่า Paradigm Shift ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น
Socialization, Learning, Role Model, etc.
-
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อการพัฒนา (Share
Learning)
2. แนวคิดด้านการปฏิบัติ (Practice)
มีการดำเนินการ
-
เสาะหาหน่วยงานที่มี Best Practice มาประเมินและ short - list
-
ทีมวิจัยเข้าไปศึกษาหน่วยงานแบบฝังตัว
- ทีมวิจัยร่วมทำ
action learning กับหน่วยงาน
-
ได้องค์ความรู้จากองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรม
โครงการนี้ระยะเวลา 19 เดือน จะสิ้นสุดโครงการเดือน ธ.ค.49 ใช้เงินกู้ธนาคารโลก มี ศ. ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ รักษาการหัวหน้าโครงการ นักวิจัยได้แก่ ดร. ชุติมา หาญเผชิญ, ดร. วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (ผอ. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.), ดร. องอาจ นัยพัฒ (มศว.), ดร. วิรินธ์ กิตติพิชัย (มม.), ดร. สมบัติ กุสุมาวลี (นิด้า) และ ดร. จุฑามาศ แก้วพิจิตร (นิด้า) มีที่ปรึกษา 2 คนคือ รศ. ดร. อภิญญา รัตนมงคลมาศ กับผม
เรื่องนี้มี KM เป็นองค์ประกอบหรือเครื่องมือสำคัญอยู่อย่างน้อย 2
ตอนได้แก่
(1) การทำ short - list หน่วยงานที่มี Best
Practice น่าจะใช้วิธีเลือกมา 3 - 4
เท่าของจำนวนหน่วยราชการที่ต้องการ ให้นำ Best Practice
ตามเกณฑ์ที่กำหนดมาทำ storytelling สู่กัน
ข้อมูลจากพื้นที่แลกเปลี่ยนกับจาก site visit
จะนำไปสู่การได้หน่วยงานต้นแบบ
(2) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ควรเป็น KM
Network
วิจารณ์ พานิช
28 พ.ย.48
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
อยากทราบเรื่อง การเรียนรู้แบบเครือข่าย
ไม่ทราบว่าจะหาได้ที่ไหนค่ะ