เล่าต่อ


ต้องขอโทษด้วยที่ผิดสัญญาที่บอกว่าจะมาเล่าต่อวันรุ่งขึ้น เนื่องจากต้องออกไปปฏิบัติภารกิจนอกสำนักงาน รวมทั้งทำความรู้จักกับสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานตลอดจนเนื้อหาสาระของงานที่ต้องรับผิดชอบ วันนี้เลยหาโอกาสมาเล่าต่อ แต่ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนเลยนะคะว่า ขออภัยล่วงหน้าหากเนื้อหาสาระที่นำมาเล่านั้นมีผิด ถูก หรือขาดตกบกพร่องเนื้อหาสาระไป เพราะว่าตัวผู้เล่าเองก็มีความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังมานั้นน้อยมากและต้องการเล่าเพื่อที่จะฝึกทักษะของตัวผู้เล่ามากกว่าการตีแผ่ความคิดหรือสาระใดๆวันนั้นเท่าที่บันทึกไว้ได้ทันบ้างไม่ทันบ้าง ได้ใจความคร่าวๆดังนี้ว่า

หน่วยงานระดับจังหวัดในส่วนต่างๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นข้าร่วมประชุมกันใจความหลัก คือเรื่องการดำเนินงานเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ในการบริหารของรัฐบาล "อยู่ ดี มี สุข" โดยจะต้องสร้างให้เกิดดุลยภาพโดยสร้างชุมชนภิวัฒน์แต่ต้องไม่ทิ้งโลกาภิวัฒน์ สร้างให้แข็งแกร่งและคู่ขนานกันไปเพื่อให้เกิดการบูรณาการระดับตำบลเป็นเบื้องต้น จะต้องเน้นชุมชนในท้องถิ่นแล้วค่อยนำไปสู่ระดับใหญ่ๆต่อไป

โดยวิธีทำจะต้อง เริ่มต้นที่หมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้วค่อยไปประสานต่อกับหน่วยงานระดับตำบล เพราะเมื่อทำให้ส่วนกลางเห็นความเข้มแข็งและมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้วก็มีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนทุนจากส่วนกลางมากขึ้น ส่วนความคิดของสภาท้องถิ่นกับผู้นำชุมชนเห็นว่าภารกิจจะสมบูรณ์ ได้นั้นต้องมี 5 ส่วนประกอบกันอยู่ คือ 1.ผู้นำ 2. แผนแม่บท 3.ความรู้พื้นฐาน 4. องค์กรการเงินชุมชน(หัวใจของกานพึ่งตนเอง) 5. การจัดการ(การปฏิบัติ) ซึ่งชุมชนจะเข้มแข็งได้ก็ต้องเริ่มจากหมู่บ้าน(กลุ่มชุมชนอินทรีย์) โดยต้องคอยกระตุ้นตลอดเวลา เพื่อให้กลุ่มเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพ และมีการสืบทอด แผนแม่บทชุมชนที่มีคุณภาพจะต้องทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ในระดับหมู่บ้านซึ่งแผน อบต. จะเน้นการจัดสรรการใช้งบประมาณ ส่วนแผนชุมชนคือแผนการเน้นลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าสามารถนำเอาสองส่วนนี้เข้ารวมกันได้จะก่อเกิดสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันโดยทั้งนี้ ชุมชนที่เข้มแข็งต้องมีการจัดการที่ดี ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดความแตกแยกเกิดขึ้น ...

ต่อจากนี้คงไม่สามารถเล่าต่อได้อีกเพราะเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณและการจัดสรร  ซึ่งผู้เล่าเองมีความเข้าใจน้อยมาก จึงขอไม่พูดถึงส่วนนี้จะดีกว่าเพราะเท่าที่เล่ามาทั้งหมดนี่ก็มีความมั่นใจอยู่น้อยนิดหนึ่งว่าจะเข้าใจถึงแก่น ของการประชุมคราวนั้นหรือไม่  เอาเป็นว่าวันนั้นที่นั่งฟังอยู่ด้วยค่อนวันมีความเข้าใจตามนี้ โอกาสต่อไปจะเข้ามาเล่าต่อ ซึ่งวันจันทร์ที่ 12 นี้ก็มีโอกาสเข้าไปนั่งฟังต่ออีก ต้องขอตัวไปนั่งอ่านรายงานเล่มเก่าสร้างพื้นฐานความรู้ก่อนการประชุมอีกรอบ คาดว่าคงจะดีขึ้นกว่าเดิม เอาใจช่วยด้วยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 82850เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การเรียนรู้จากงานคือการโยนลงน้ำให้หัดว่ายจากสถานะการณ์ที่เป็นจริง แต่ด้วยคุณวุฒิระดับปริญญตรีเชื่อว่ามีพื้นฐานในการเรียนรู้เข้าใจได้เร็ว

นอกจากการเรียนรู้จากงานในสถานะการณ์แล้ว การหาความรู้ในเนื้อหาโดยการอ่าน ทำความเข้าใจ สอบถามผู้รู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องจะช่วยเสริมการเรียนรู้ให้รุดหน้าเร็วขึ้น

การเขียนบันทึกเป็นการฝึกฝนเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ เช่น จัดกลุ่ม ลำดับเหตุการณ์(การจำแนก) และการพรรณาเหตุการณ์(บรรยายลักษณะ)เป็นต้น

ตั้งใจ ขยันฝึกฝนอย่างจริงจังต่อเนื่องก็จะเกิดความรู้ขึ้นในตนเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท