กัมพูชา : ระยะทางสั้น แต่ เวลานาน


สองข้างทางยังมีภาพที่เราประทับใจก็คือภาพของนักเรียนที่เดินทางทั้งกำลังไปเรียนและกลับจากโรงเรียน

         หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจที่กรุงพนมเปญแล้ว ทีมเราก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดกัมปอต ที่เป็นจังหวัดที่อยู่ทางใต้ของพนมเปญ ระยะทาง ประมาณ 130 กิโลเมตร  แหะๆๆๆ ฟังอย่างนี้ก็คิดว่าแป๊บเดียวก็คงถึง ถ้าเทียบระยะทาง ก็น่าจะพอๆกับผมเดินทางจากสระบุรี เข้าไปสำนักงานใหญ่ของปูนที่บางซื่อ แหละครับ ซึ่งผมจะใช้เวลาเดินทางก็ประมาณ ชั่วโมงกว่านิดๆ..แต่กับเส้นทางจากพนมเปญไปกัมปอต ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดครับ ถนนเป็นทางราดยางก็จริง แต่เป็นหลุมเป็นบ่อขรุขระมาก อีกทั้งยังแคบ พอรถวิ่งสวนกันทีก็ต้องหลบกันแทบตกถนน ประกอบกับพฤติกรรมการขับรถ ของโซเฟอร์ ที่กัมพูชาก็เล่นเอาแบบว่า ตกหลุมตกร่อง ไม่มีบันยะบันยัง คนนั่งจะเป็นอย่างไรไม่สน..พวกเราแต่ละคนนั่งโยกเยก บางทีรถตกหลุมหากไม่ระวังมีหวัง กระเด้งชนกับหลังคารถ ไม่ใช่พูดกันเล่นๆนะครับ เพราะตอนนี้หัวผมยังไม่หายโน เลยครับ

        ถึงรถจะวิ่งแบบโขยกเขยกอย่างไร  ผมก็พยายามมองสองข้างทางเพื่อดูทัศนียภาพของบ้านเมืองเขาอยู่เหมือนกัน  สองข้างทาง เป็นทุ่งนาครับ บางแห่งก็เป็นแหล่งชุมชน ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างไปจากชนบทที่บ้านเราเมื่อประมาณ 10 - 20 ปีที่แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูแล้ง ก็ดูจะแล้งหนักพอสมควรครับ สังเกตได้จากสภาพหญ้าที่แห้ง ต้นไม้ก็เหี่ยว ...ช่วที่เป็นหมู่บ้านก็จะมีการปลูกไม้ยืนต้น ไว้เหมือนกับบ้านเรา ที่เห็นกันมากก้เป็นต้นมะพร้าวครับ แต่ละบ้านก็มีไม่น้อยกว่า 2 -3 ต้น

       บางแห่งที่เป็นชุมชนใหญ่หน่อย ก็จะมีตลาดที่มีลักษณะเหมือนกับตลาดนัดบ้านเรา ต่างกันก็ตรงที่ของเราจะวางขายของตามโต๊ะ แต่ที่นั่นเค้าจะวางตามพื้น และที่ยิ่งกว่านั้นคือบางที่วางขายกันซะตรงถนนนั่นแหละ พอรถวิ่งมาก็ เป็นเรื่องของรถที่ต้องหลบเอาเอง ....

       ถึงอย่างไรก็ตามครับสองข้างทางยังมีภาพที่เราประทับใจก็คือภาพของนักเรียนที่เดินทางทั้งกำลังไปเรียนและกลับจากโรงเรียน ตลอด สองข้างทาง การเดินทางของเด็กนักเรียน ก็มีทั้งเดิน และปั่นจักรยาน ครับ ผมไม่ค่อยเห็นนักเรียนขี่มอร์เตอร์ไซค์ มากนัก สภาพของนักเรียน ของเขาค่อนข้างลำบากครับ ส่วนใหญ่เดินเท้าเปล่า เสื้อผ้าก็เก่าๆ แต่ที่ประทับใจก็คือ "การแต่งกายของนักเรียนครับ ผู้ชายก็แต่กายเรียบร้อย ส่วนผู้หญิงแต่งกายมิดชิด กระโปรงยาวถึงตาตุ่ม " เสื้อผ้าถึงจะเก่าแต่ก็ดูดีครับ ไม่มีภาพนักเรียนกระโปรงสั้นรัดรูป อย่างที่เห็นในบ้านเราเลยครับ...สองข้างทางนอกจากจะมองเห็นนักเรียนแล้ว เรายังได้เห็นภาพการสัญจรไปมา ที่มีทั้งการใช้เกวียนเทียมม้า ลา เป็นพาหนะอยู่มาก ..ซึ่งดูแล้วเป็นบรรยากาศที่คล้ายๆกับบ้านเราสมัยเมื่อซัก 20  ปีที่แล้ว (หมายถึงตามชนบทนะครับ)..

       อีกสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งก็คือ วัด ของเขาจะอลังการมาก หากที่ไหนเป็นเขตวัด จะมีซุ้มประตูวัดที่ใหญ่โต มีลวดลายแกะสลักสวยงามมาก แสดงให้เห็นถึงภาพที่เคยเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัด ..

      พอเวลาล่วงเลยมา 3 ชั่วโมงกว่าๆ รถตู้ก็พาเราเลี้ยวเข้าสู่ถนนสายใหม่ซึ่งเป็นถนนสายที่ บริษัท ทำเข้าไปสู่โรงงาน และผ่านหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านระแวกนั้นได้ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาด้วย นับเป็นช่วงเวลาแรกที่เราได้สัมผัสถึงความนิ่ม นวล ของพื้นถนน ...ช่วงนี้พวกเราแต่ละคนก็ตรวจเช็คสภาพร่างกายล่ะครับว่าอยู่ครับดีหรือเปล่า ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง..ผมเองก็ห่วงท้องห่วงไส้เหมือนกันครับ  พยายามเช็คเหมือนกันว่าไส้ยังอยู่ตำแหน่งเดิมหรือเปล่า แบบว่ากลัวเป็นไส้เลื่อนนะครับ...

       และแล้วเราก็เข้าถึงโรงงานก็เกือบ 6 โมงเย็น ก็นับเป็นการเดินทางที่ทั้งทรหด กับสภาพถนน และก็เพลินไปกับสิ่งที่แปลกตา ที่พบเห็นได้ตามสองข้างทางซึ่งเหมือนได้ย้อนยุคกลับไปบ้านผมที่ต่างจังหวัดสมัยที่ผมยังเป็นเด็กยังไงยังงั้นเลยครับ..เฮ้อ..ตอนนี้ก็สบายใจแล้วล่ะครับเพราะไส้ดูน่าจะยังอยู่ตำแหน่งเดิมไม่เลื่อนไปไหนครับ...

คำสำคัญ (Tags): #กัมพูชา
หมายเลขบันทึก: 82508เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาเก็บประสบการณ์ดี ๆ ของคุณเรวัตร และมาสวัสดีด้วยค่ะ

เดินทางมาก ๆ คงจะเหนื่อยนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณมะปรางเปรี้ยว..ถึงอย่างไรก็ต้องเดินทางครับ..ยิ่งเดินทางยิ่งได้เรียนรู้..ครับ..

การเดินทางได้เรียนรู้อยู่เสมอค่ะ  การเดินทางทำให้เก็บภาพความทรงจำดี ๆ มาเล่าเรื่องชีวิตได้ค่ะ 

คุณเรวัตร น่าจะมีภาพมาให้ดูกันบ้างนะค่ะ อยากเห็นค่ะ ^-^

ใช่ครับจริงแล้วผมถ่ายภาพไว้เยอะมาก แต่ว่าผมกลับมาก่อน (มาจัดค่ายการเรียนรู้ที่ปราจีนบุรีครับ) ไม่ได้เอาภาพกลับมาด้วย รอทีมงานชุดหลังกลับมากะว่า จะเป็นบันทึกที่แสดงภาพแต่ละเรื่องให้ดูอีกทีครับ..

ของคุณมากค่ะ

แล้วจะตามมาดูนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท