เลี้ยงโคเพื่ออุดรอยรั่วของทรัพยากร


        จากครั้งที่แล้วที่ได้กล่าวถึงวิธีคิดและวิธีการทำอาชีพเกษตรของเขยฝรั่งที่บ้านมะพริก  ตำบลสะเก อำเภอสตึก แล้วนั้น

         วันนี้ก็จะขอพูดถึงวิธีคิดและวิธีการทำงานของพ่อสำเริง  เย็นรัมย์   ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับเรื่องอาหาร   ไม่ว่าจะเป็นอาหารคนหรืออาหารสัตว์

        พ่อสำเริง  ใช้แนวคิดที่ว่า  ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องการเลี้ยงสัตว์เกี่ยวกับอาหารแล้วจะต้องคิดและลงมือทำภายใต้การลองผิดลองถูก หรือที่พ่อสำเริงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ต้องทำการวิจัย

        พ่อสำเริงได้ทดลองทำการวิจัยเกี่ยวกับอาหารเลี้ยงไก่ไข่  เนื่องจากไก่ไข่ที่กรมปศุสัตว์ให้ทดลองเลี้ยงเพื่อทำการวิจัยนั้น  เน้นการให้อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณค่าอาหารตามที่ไก่ไข่ต้องการ

       แต่ปัญหานี้ทำเอาคนเลี้ยงไก่ไข่ใจหนีดีฝ่อไปตาม ๆ  กัน เพราะราคาหัวอาหารแพง และสูงขึ้นตลอดเวลา  ทำอย่างไรคนเลี้ยงไก่จะอยู่รอดได้

      เมื่อพ่อสำเริงเจอปัญหา  ก็คิดหาวิธีแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการพยายามหาอาหารชนิดอื่นมาให้ไก่กินเพื่อทดแทนหัวอาหารเป็นบางส่วนเพื่อที่คนเลี้ยงและไก่จะได้อยู่รอด และอาหารที่ว่าจะต้องหาได้ในท้องถิ่น และไม่ต้องลงทุนซื้อ แต่ลงทุนทำเอง จะประหยัดกว่า

      เนื่องจาก พ่อสำเริงได้ความรู้จากท่าน ดร.สวัสดิ์  ธรรมบุตร  บอกว่า  ถ้าให้ไก่กินหญ้าสด จะเป็นการเพิ่มโปรตีนแก่ไก่ได้

       พ่อสำเริงนักทดลองที่ถือคติ  ททท. (ทำทันที)  ก็ไม่ให้เสียเวลา

       พยายามคิดว่านอกจากหญ้าแล้วยังมีพืชใบเขียวทั้งหลายแหล่อะไรบ้างที่ไก่กิ และที่สวนมีทั้งต้นกล้วย ต้นมะละกอ  ต้นมะกร่ำ ผักตบชวาและพืชนิดอื่นอีกมากมาย 

      และจากที่มีความรู้เดิมว่าหมูชอบกินผักตบชวา  พ่อสำเริงจึงทำการทดสอบสมมติฐานเบื้องต้นก่อน

       โดยการดัดนิสัยไก่ ไม่ให้ไก่กินหัวอาหารหนึ่งวัน แต่จะให้กินเฉพาะยอดและใบอ่อนของผักตบชวา จนไก่เคยชินกับการกินผักตบชวาแล้วค่อยให้หัวอาหารลดลง  แล้วให้กินผักตบชวาแทนวันละประมาณ  4  กิโลกรัม

       ผลที่ได้น่าพอใจเพราะตอนนี้  ผักตบชวากลายเป็นเทนูเด็ดของไก่ไปซะแล้ว  เพราะถ้าเด็ดยอดและใบมาโยนลงไปในคอก  บรรดาไก่ไข่ทั้งหลายจะรีบมาแย่งกันจิกกินผักตบชวากันยกใหญ่  บางตัวฉลาดหน่อยก็รีบจิกก้านผักตบชวาให้ขาดจากต้นและรีบคาบไปกินไกล ๆ  เพื่อเพราะกลัวถูกแย่ง

      ไก่ไข่ของพ่อสำเริง  จำนวน  30  ตัว  สามารถให้ไข่ถึง  27  ฟองต่อวัน  ถือว่าดเปอร์เซ็นต์การออกไข่สูงที่สุดของผู้ที่เลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมด

      จากแนวคิดและวิธีการนี้  ก็ได้ถามพ่อสำเริงต่อว่า  แล้ววัวหล่ะ  กินผักตบชวากับเขาบ้างไหม

       คำตอบที่ได้น่าพอใจมาก   เพราะพ่อสำเริงบอกว่า  ขอเวลาอีก  หนึ่งสัปดาห์ จะบอกว่าวัวจะกินผักตบชวาไหม  ถ้ากินจะชอบกินแบบไหน   จะต้องทดลองเอาผักตบชวามาให้วัวกินหลายรูปแบบทั้งการให้กินสอด  กินแบบตากแดดเยว กินแบบแห้งสนิท กินทั้งต้น หรือบดสับ

      ตอนนี้จึงต้องขอเวลาลุ้นอีกหนึ่งสัปดาห์  ถ้าทดลองสำเร็จ  ผักตบชวาจะอยู่ไม่เป็นสุขแน่ก็คราวนี้

    

หมายเลขบันทึก: 81688เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท