สัมภาษณ์ผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ (1)....ชุมชนเข้มแข็ง


ในลำดับแรกของการพัฒนาต้องให้ความรู้ในภาพรวมว่าสมาชิกชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และชุมชนก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ดังนั้นการอยู่กินอย่างมีความสุขตามสมควรจึงมาจากการช่วยกันพัฒนา ช่วยกันแก้ปัญหาของชุมชน

การเล่าเรื่องการสำรวจพื้นที่ตรัง นครฯ พัทลุง ยังไม่จบ  แต่ก่อนที่จะออกจากพื้นที่นครฯไปเล่าเรื่องพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียนของตรัง  อยากจะขอคั่นรายการด้วยการ "เล่าสู่กันฟัง"  บทสมภาษณ์ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  เมื่อเช้าวันที่ 20 กันยายน 2549  หลังวันปฎิวัติหนึ่งวัน ที่โรงแรมแกรนด์ปาร์ก จังหวัดนครฯ เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษางานของสภาที่ปรึกษาฯด้วย

เรานั่งคุยกันแบบไม่เป็นทางการที่ห้อง Lobby  ถือว่าท่านผู้ว่าฯให้เกียรติเรามาก   จึงหวังว่า บันทึกนี้จะมีประโยชน์ต่อชาวเมืองนครฯที่อ่านบันทึกนี้ด้วย

******************************

แนวคิดจังหวัดจะยึดชุมชนเป็นตัวตั้ง ถ้าชุมชนเข้มแข็งก็จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ทุกๆมิติไม่ว่าจะเป็นด้านอำนาจ เศรษฐกิจ ทรัพยากร ฯลฯ และเมื่อชุมชนเข้มแข็งจะเกิด 3 มิติดังต่อไปนี้ตามมา 

1. มิติกินดีอยู่ดี ชุมชนมีความเป็นอยู่ ฐานะรายได้ดีขึ้น ปัญหาความยากจนถูกกำจัดออกไป

2. มิติอยู่เย็นเป็นสุข ต้องป้องกันสิ่งที่จะมาทำลายชุมชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด โจรผู้ร้าย วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหล

3. มิติอยู่รอดปลอดภัย แบ่งเป็นส่วนย่อยดังเช่นหน่วย การเมืองการปกครอง ซึ่งหน่วยงานรัฐจะเข้มแข็งตามชุมชน โดยไล่จากชุมชนเข้มแข็งไปสู่อบต.ไป อบจ. ไประดับประเทศ

ทั้งนี้จะมี  KM เป็นตัวเสริมให้ชุมชนสมบูรณ์ยั่งยืน คลอบคลุมความเข้มแข็งทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการรับความรู้จากภายนอก หรือแลกเปลี่ยนความรู้กันเอง

การจัดการความรู้จะเริ่มจากแลกเปลี่ยนในชุมชน[1]เพื่อสร้าง 1 หมู่บ้าน 1 ชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วย  กระบวนการสร้างผู้นำจนขยายออกมาเป็นสภาผู้นำชุมชน และเกิดผู้นำสาขาอาชีพต่างๆ          

ในลำดับแรกของการพัฒนาต้องให้ความรู้ในภาพรวมว่าสมาชิกชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และชุมชนก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ดังนั้นการอยู่กินอย่างมีความสุขตามสมควรจึงมาจากการช่วยกันพัฒนา ช่วยกันแก้ปัญหาของชุมชน          

ทั้งนี้วิธีแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นมาจาก 3 รู้ คือ รู้จักตนเอง รู้จักชุมชน รู้จักโลก

1. รู้จักตัวเอง เป็นการทำแบบสำรวจโดยใช้ชุมชนไม้เรียงเป็นตัวแบบ มีวิธีการสำรวจตัวเองอย่างซื่อสัตย์ เพื่อเป็นการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยพึ่งตัวเองเป็นหลัก ซึ่งการรู้จักตัวเองนี้ ทำให้หลายครัวเรือนทราบว่าหลายๆอย่างไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย จนบางครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายลงจนหายจนตั้งแต่ขั้นนี้

2.รู้จักชุมชน เป็นการสำรวจทุกครัวเรือน โดยใช้วิธีหาแกนนำหมู่บ้านละ 8 คน มาจาก 3 ฝ่าย ฝ่ายกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายท้องถิ่น  และฝ่ายผู้นำธรรมชาติ  ฝึกอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติตนให้รู้จักตนเอง เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็ไปหาผู้นำเพิ่มเติม  ทำให้ได้คนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชนที่มีหน้าที่ทำให้ชุมชนรู้จักตนเอง แต่ความคิดใหม่เช่นนี้ต้องมีปรับตัว เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่รอเพียงการให้ของรัฐอย่างเดียว         

นอกจากนั้น รายละเอียดข้อมูลที่เก็บไว้ของครัวเรือน จะทำเป็นข้อมูลชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ประวัติหมู่บ้าน ภูมิปัญญา  รวมทั้งสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างอาชีพใหม่ เช่น เมื่อทราบว่ามีครัวเรือนเลี้ยงหมูจำนวนเท่าไร ก็สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มเลี้ยงหมูได้ รวมทั้งจะเกิดผู้นำใหม่ขึ้นมา ซึ่งผู้ว่าฯวิชม มองว่าวิธีการนี้ ผู้นำจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน ยิ่งมีผู้นำมากยิ่งส่งผลดี  

3. รู้จักโลก เมื่อรู้จักชุมชนแล้ว เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆจะเข้าไปเติมองค์ความรู้อื่นๆ นอกเหนือจากที่ชุมชนได้จากตัวเองแล้ว ก็จะทำให้รู้จักโลก 

ในลำดับถัดไปเมื่อรู้จักทั้ง 3 ส่วนนี้แล้วก็มาร่วมกันวางแผนชุมชนพึ่งตัวเอง เป็นแผน 4 ปี โดยปีแรกต้องทำให้แผนชุมชนพึ่งตนเองเกิดขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ต้องเป็นแผนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เป็นแผนที่ทำเพื่อของบ ต้องให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมที่ทำได้  สำหรับการสนับสนุนของฝ่ายต่างๆ จะเป็นเรื่องที่ตามมาทีหลัง  โดยชุมชนไม่ได้เป็นผู้ขอความช่วยเหลือแต่อย่างใด

ซึ่งผลกิจกรรมที่เกิดขึ้นของชุมชนต้องเป็นorganic กล่าวคือ เป็นการเกิดโดยตัวชุมชนเอง เป็นการระเบิดจากภายใน ก็จะนำไปสู่การบรรลุผลทุกมิติ

(ยังมีต่อ)



[1] ในความหมายชุมชนของผู้ว่าฯวิชมจะเป็นการมองแบบ area approach
หมายเลขบันทึก: 81408เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

          ขอขอบคุณอาจารย์มากครับที่อาจารย์ได้นำบทสัมภาษณ์ท่านผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีรรมราช มาลงเผยแพร่

          ทานต่อยอดความคิดอยู่เสมอครับ ในทุกครั้งทีท่านพูด แสดงว่าท่านเรียนรู้และจัดการตนเอง แบบเรียนรู้ตนเอง สังคม และโลกอยู่ตลอดเวลา

          ชุมชนที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาไว้ก็คือมุ่งสู่ความเป็นชุมชนอินทรีย์ ชุมชนที่มีการทำงานและการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีมิติของการเรียนรู้อยู่ในทุกกิจกรรมของชุมชน มีอินทรีย์มีชีวิตมีพลัง มีคุณคุณธรรม ตรงกันข้ามกับสละอินทรีย์ ถ้าสละอินทรีย์ก็แปลว่าชุมชนนั้นตายแล้ว

        ล่าสุดท่านได้คิดแบบจำลองการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช แบบจำลองการพัฒนาเชิงบูรณาการทั้งจังหวัด ที่เรียกว่า "หยดน้ำเพชรโมเดล" อ่านบางส่วนจากบันทึกนี้ นี้ และนี้

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันกว่า   บทสัมภาษณ์ท่านผู้ว่าฯอาจจะเก่าไปนิด แต่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และเป็นฐานคิดสำคัญที่ช่วยทำให้บุคคลภายนอก (อย่างเช่นตัวเอง) ที่ติดตามอ่านบล็อค KM เมืองนคร เข้าใจเรื่องได้มากขึ้นค่ะ
ผมเสนอให้เชิญอาจารย์ปัทมาวดีมาเป็นที่ปรึกษาการเคลื่อนงานของนครศรีธรรมราช ถ้าจังหวัดไม่สะดวกเรื่องงบเดินทาง น่าจะขออนุเคราะห์จากสกว.ผ่าน    อ.สมยศ ทุ่งหว้าและอ.สุธีระที่รับผิดชอบABCใต้กลางครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์ภีมครับ

ขอบคุณอาจารย์ภีมและครูนงค่ะ  ถือว่าได้รับความไว้วางใจจากท่านทั้งสองมาก  แต่ไม่รู้ว่าความเป็นวิชาการจะมีประโยชน์กับพื้นที่มากแค่ไหน  

เสนอความเห็นผ่านบล็อคก็คงพอได้นะคะ   หากมีโอกาสก็อยากจะลงไปเยี่ยม (ไปเรียนรู้) จากพื้นที่ค่ะ

  • เด็ก ๆ ผมเรียนที่นครศรีฯ อยู่แถวหัวถนนครับ นครศรีฯ เปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียนะครับ

AjKae คะ  นอกจากจะมีประสบการณ์ร่วมที่ มธ. และเฉียดๆอยู่แถวศูนย์รังสิตแล้ว เพิ่งทราบว่าอาจารย์ก็มีประสบการณ์ที่นครศรีฯด้วย

คิดว่าถ้าชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขแล้ว  จะเปลี่ยนเร็วเปลี่ยนช้าก็คงไม่เป็นไรหรอกค่ะ   

ต้องถามคนชาวนครฯนะคะ

                อ่านบันทึกอาจารย์ไปเรื่อยๆก็เริ่มเห็นภาคีผู้คนที่อยากเห็นนครศรีธรรมราชของเราพัฒนาขึ้นเรื่อยๆแล้วละ ผมนะหวังมากเลยว่าอาจารย์จะเชื่อมพันธมิตรได้ดีคนหนึ่ง วันนี้ก็มีขบวนใหญ่เรียกว่าคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ 30 คน นำโดยคุณน้าประยงค์ รณรงค์ สนช. ประธานคณะกรรมการนำคณะกรรมการทั้งหมด มาประชุมกันที่โรงแรมแกรนด์ปาร์ค โรงแรมที่อาจารย์สะมทภาษณ์ผู้ว่าวิชม ทองสงค์ 19 ก.ย. 49 ทีมีการปฏิรูปฯนั่นแหละครับ ได้ฟังเรื่องราวดีๆที่คณะผู้เข้าประชุมสะท้อนภาพแนวคิดการพัฒนาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการนี้ท่านผู้ว่าฯได้รับเกียรติเป็นวิทยากร ร่วมกับ ดร.เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

                 พูดเรื่องแนวคิด ทิศทาง และวิธีการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒฯสังคมท้องถิ่น

                 อ.ภีม ก็ไปด้วยครับ

                 เรียนอาจารย์มาเพื่อทราบความคืบหน้าครับ

ขอบคุณอาจารย์จำนงมากค่ะ ที่กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์เสมอ

ได้ติดตามอ่านบล็อคของอาจารย์และของอาจารย์ภีมด้วยค่ะ

ที่จริงมีแนวคิดหนึ่งของท่านผู้ว่าฯจากครั้งที่สัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับบทบาทของภาคธุรกิจ (จำไม่ได้ว่าตัวเองตั้งคำถามแล้วท่านตอบ หรือว่า ท่านเป็นคนเปิดประเด็นนี้  ... อาจจะเป็นการตั้งคำถามของตัวเองมากกว่า เพราะตอนนั้นมีข่าวเรื่องการสร้างห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่ท่าศาลา)

ปัจจุบัน วงบูรณาการของนครฯมีภาคธุรกิจเข้ามาเป็นภาคีไหมคะ  หรือว่า เป็นเรื่องๆไป  ที่ถามเช่นนี้เพราะเห็นว่า  ด้วยฐานผลผลิตเกษตรที่มีอยู่พอสมควร "ตลาด" จะเข้ามามีผลต่อชีวิตชาวบ้านอยู่มาก

ไม่แน่ใจว่า เป็นคำถามที่กระโดดเกินไปรึเปล่า

ขอบคุณค่ะ

              ชุมชนอินทรีย์ หลักคือชุมชนที่เรียนรู้การพึ่งตนเอง ยืดหยุ่นได้ในแต่ละชุมชน เหมือนตัวอะมีบา ที่นิวเคลียสจะเปลี่ยนไปตามจังหวะ สภาพแวดล้อม บริบทของชุมชนว่าเป็นอย่างไร ให้ชุมชนเรียนรู้ พลิกแพลงเอาเอง มีที่ว่างไว้ในชุมชน รอการเติมเต็มจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการภาคธุรกิจด้วย ธุรกิจที่มีการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้นี้จะทำให้ยั่งยืน เป้นธุรกิจอินทรีย์

               ล่าสุดท่านผู้ว่าฯก็อธิบายในทำนองรอการเติมเต็มจากภาคส่วนต่างๆอย่างบูรณาการในชุมชนตามที่อาจารย์กล่าวถึงธุรกิจด้วยครับ

ขอบคุณอาจารย์จำนงค่ะ

ชอบแนวคิดชุมชนอินทรีย์มากค่ะ  ความยืดหยุ่นการปรับตัวจะทำให้ชุมชนมีชีวิตและตื่นตัวอยู่เสมอ 

ถ้าไม่ได้ฟังท่านผู้ว่าฯและคำอธิบายของอาจารย์ ตอนแรกคงจะนึกไปถึงชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์ค่ะ

นายอารมณ์ เทพจินดา

ผมชมชอบแนวคิดของอดีตท่าน ผวจ.วิชม ทองสงค์ คนเดี่ยวนี้จะ รู้จักตนเอง รู้จักชุมชน และรู้จักโลก ถ้าเรานำไปปฏิบัติจะทำให้วิถีชีวิตมีแต่ความสุย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท