สรุปการประชุมความร่วมมือเคลื่อนขบวนนครศรีธรรมราช26ก.พ.50


ผมคิดว่าฐานข้อมูลเรื่องคน กลุ่มองค์กร และชุมชนภายใต้ระบบการสนับสนุนที่หลากหลายที่มีอยู่อาจจะต้องขึ้นกระดานเป็นแผนภาพMapping จัดระบบการทำงานที่เชื่อมโยงการดูแลตามโครงสร้างหน้าที่และพื้นที่กันอีกทีหนึ่ง แต่ละหน่วยงานคงต้องเปิดใจกันมากขึ้น

การสรุปสังเคราะห์ผลการประชุมวันที่ 26 ก.พ.50ทำได้ด้วยเวลาจำกัด เพราะแต่ละรายการใช้เวลาเกินกว่าที่กำหนดไว้ เมื่อถึงตอนท้ายรายการ ผู้เข้าร่วมจึงวุ่นอยู่กับการเคลียร์ค่าใช้จ่ายการเดินทาง แต่ผมก็เตรียมที่สรุปไว้นำเสนอประมาณ10นาทีด้วยแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำ
http://gotoknow.org/file/pakamatawee/fish.doc

ผมไล่หัวข้อการประชุมตั้งแต่เช้า ไม่ลงรายละเอียดการประชุมกลุ่มย่อย แต่สรุปสังเคราะห์ภาพรวมของการเคลื่อนงานและความต่อเนื่องที่จะมีต่อไปดังนี้

เราทราบกันดีว่า การทำงานของส่วนราชการต่างคนต่างทำด้วยเป้าหมายแนวทางที่มาจากกรม ทำให้ชุมชนเป็นของหน่วยงาน 

(ก)ในช่วง2ปีที่ผ่านมานครศรีธรรมราชได้ดำเนินโครงการจัดการความรู้เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์และกระบวนการทำงานของส่วนราชการซึ่งให้ความสำคัญกับศักยภาพของชุมชนและการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งจังหวัดด้วยโครงการเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนผ่านการจัดทำแผนแม่บทชุมชนรายหมู่บ้าน

ปีนี้เป็นรุ่นที่3 ทำครบทั้ง1,551หมู่บ้านแล้ว ได้วางแนวทางการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายตำบล

เป้าหมายคือ สร้างชุมชนอินทรีย์  เมืองแห่งการเรียนรู้ น่าอยู่และยั่งยืนด้วยฐานศก.พอเพียง

(ข)ที่จริงกระบวนการเรียนรู้จักตนเอง ชุมชนและโลกของแผนแม่บทชุมชนมีการขับเคลื่อนมาก่อนหน้านี้แล้วโดยส่วนราชการบางหน่วยและภาคชุมชน นอกจากนี้ยังมีขบวนสวัสดิการชุมชนที่ภาคชุมชนร่วมกันดำเนินการอยู่ก่อนหน้านี้แล้วด้วย

(ค)ผมใช้แบบจำลองปลาทูเป็นตัวแบบของโครงการKMเมืองนคร  โดยมีปลาตัวน้อย2ตัวอยู่ภายในคือขบวนแผนแม่บทชุมชนกับขบวนสวัสดิการชุมชนซึ่งมีการเชื่อมโยงผ่านหหน่วยประสานงานภาคประชาชนและวงเรียนรู้คุณเอื้อเพื่อให้การขับเคลื่องานเป็นไปตามแบบโมบายปลาตะเพียนที่มีการประสานเชื่อมโยงให้ไปในทิศทางเดียวกัน

(ง)การประชุมวันนี้ริเริ่มจากโครงการประสานความร่วมมือของสกว.สสส.ธกส.พม.และศอ.สส.ซึ่งผมให้เป็นกระแสน้ำในแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำที่ไหลไปในทิศทางเดียวกับปลาทู นอกจากนี้ยังมีกระแสน้ำจากโครงการความร่วมมือที่มาจากรัฐบาลอีกหลายโครงการทั้งที่มาตามโครงสร้างหน้าที่และพิเศษ ที่มาพิเศษคืองบซีอีโอเดิมจำนวน5,000ล้านในชื่อจังหวัดอยู่ดีมีสุข และงบSMLอีก5,000ล้านในชื่อศก.พอเพียง(คพพ.) กระแสน้ำที่ไหลอยู่นี้ ถ้าไหลไปคนละทิศทาง ควบคุมไม่ได้ ไหลช้าบ้างเร็วบ้าง ปลาทูก็อาจหมุนติ้วไปถึงเป้าหมายได้ช้าหรืออาจถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากทำอันตรายได้

ดังนั้นนอกจากปลาทูต้องประสานความร่วมกันทั้งปลาทูตัวน้อยของขบวนภาคประชาชนและปลาทูตัวใหญ่ของภาครัฐที่ประสงค์จะบูรณาการการทำงานให้หน่วยงานเป็นของชุมชน ก็ต้องมองเห็นและเข้าไปบังคับทิศทางการไหลของกระแสน้ำด้วยเพื่อให้เอื้อประโยชน์ ไม่ต้องว่ายน้ำให้เหนื่อยแรงมากนัก การจัดขบวนความร่วมมือผ่านการเรียนรู้จากกันและกันจึงมีความสำคัญ และเรื่องสวัสดิการชุมชนก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เกิดการร่วมมือกันทำได้ง่ายขึ้น

(จ)ในวงประชุมกลุ่มย่อยของหน่วยงานสนับสนุน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมีส่วนร่วมคิด ร่วมเสนออย่างสนุกสนาน ท่านลงรายละเอียดโครงการนำร่องตามที่อาจารย์สีลาภรณ์เสนอคือจำนวน55ตำบลที่จะเข้าร่วมขบวนสวัสดิการชุมชน โดยมีหลักการสำคัญที่การพึ่งตนเอง ราชการร่วมสมทบทั้งท้องถิ่น ภูมิภาคและส่วนกลาง

ตัวเลขที่ท่านยกมาคือสวัสดิการของชุมชนที่มีอยู่แล้วหมู่บ้านละ4,000บาทตำบลละประมาณ7หมู่บ้านรวม28,000บาทซึ่งแกนนำชุมชนเสนอว่าอย่างต่ำตำบลละ50,000บาท อบต.ร่วมสมทบ100,000บาทซึ่งกรมปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมผลักดันด้วย ส่วนกลางจากสปสช.สนับสนุนกองทุนสุขภาพชุมชนคนละ37.50บาท รวมกันแล้วเป็นเงินไม่น้อย นอกจากนี้ยังกองทุนของพม.ประมาณ500ล้านบาทที่หากได้มาก็ประมาณตำบลละ50,000บาท ถือเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จะดูแลคนในตำบลได้มาก ทั้งนี้การสมทบอาจจะมาจากเงื่อนไขที่ให้ชุมชนขยายจำนวนสมาชิกและเข้าไปดูแลกลุ่มผู้ยากลำบากด้วย

แม้ว่าจะเริ่มด้วยเรื่องสวัสดิการชุมชนจากทุนของชุมชนและการสมทบของส่วนราชการ แต่เมื่อมองกระแสน้ำอยู่ดีมีสุขที่มีอยู่5ประเด็น(สงเคราะห์คนยากลำบากเป็นเพียง1ในนั้น)ก็ต้องเตรียมชุมชนให้มีศักยภาพที่จะรองรับการพัฒนาที่จะเข้ามา หรือมีความแข็งแกร่งต่อกระแสน้ำที่พัดมา ซึ่งต้องจัดลำดับการพัฒนาเป็นกลุ่ม/ชุมชนA B C โดยที่ทีมงานต้องลงไปเสริมความเข้มแข็งในชุมชนที่ยังอ่อนแออยู่

เรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกับทุนชุมชนและฐานข้อมูลที่เรามีอยู่ซึ่งวงคุณเอื้อได้มอบหมายให้พี่วีณาเป็นแกนประสานงาน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจึงนัดหมายในกลุ่มย่อยตอนนั้นเลยเพื่อหารือเรื่องนี้ในวันที่6มีนาคมคือนำข้อมูลจากทุกฐานงานมาประมวลจัดลำดับและวางแผนพัฒนาเป็นโครงการ

ผมคิดว่าฐานข้อมูลเรื่องคน กลุ่มองค์กร และชุมชนภายใต้ระบบการสนับสนุนที่หลากหลายที่มีอยู่อาจจะต้องขึ้นกระดานเป็นแผนภาพMapping จัดระบบการทำงานที่เชื่อมโยงการดูแลตามโครงสร้างหน้าที่และพื้นที่กันอีกทีหนึ่ง แต่ละหน่วยงานคงต้องเปิดใจกันมากขึ้น

ความยากของงานยังมีอยู่

ผมเห็นว่าการจัดขบวนภาคชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจะช่วยให้ส่วนราชการเปิดใจและรับกับวิธีการทำงานที่เรียกกันว่าบูรณาการมากขึ้น ผมจึงชวนแกนนำหลายคนเข้ามาร่วมหารือในวันที่6มีนาคมนี้ด้วย

อย่างไรก็ตามคงต้องเตรียมความคิดและกระบวนการประชุมในวันที่6มีนาคมกับทีมKmด้านข้อมูลและทีมชุมชนกันก่อน

หมายเลขบันทึก: 81116เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
        ความคืบหน้าเรื่องการคลี่ฐานข้อมูลของภาคประชาชนได้มีการจัดนำข้อมุลจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากองกันแล้วเมื่อวันที่ 27 ที่ผ่านมาแต่พี่วีณาไม่ได้มาตามที่นัดหมายไว้ ทีมงานซึ่งนำโดยพมจ. ผู้ใหญ่โกเมศร์ คุณณรงค์ซึ่งรับทำหน้าที่รวบรวมและแบ่งกันไปตามข้อมูลแผนชุมชนที่เป็นรูปเล่ม (ได้มาแล้ว 24 ตำบลจากเครือข่ายแผนชีวิตชุมชนที่เหลือเป็นข้อมูลระดับข่ายเช่นเครือข่ายสัจจะของพระสุวรรณ ข้อมูลองค์กรชุมชนในนครฯ จากฝ่ายข้อมูลพอชและอื่นๆวันที่28ทีมงานได้นัดเจอกันอีกครั้งติดตามความก้าวหน้าได้ที่คุณณรงค์  คงมาก
คุณณรงค์สรุปงานได้เร็วมาก น่าจะชวนเข้ามาเขียนสื่อสารในBlog เปิดBlogของตัวเองเสียที จะได้เรียนรู้กันกว้างขวางขึ้น
  • รูปอาจารย์ภีมนี่ สุดยอด จริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท