แนวทางการสอนและฝึกทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร


รักลูกทุกคน และรักเป็นคนๆไป ..เรียนรู้ที่จะเข้าใจความเหมือน ความต่าง และลักษณะเฉพาะของเขา และรักเขาอย่างที่เขาเป็น แล้วก็เลือกวิธีการหรือกระบวนการฝึกและสอนผสมผสานกัน มาปรับใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ ทั้งนี้โดยไม่มีคำตอบสำเร็จรูปหรือรูปแบบวิธีการสำเร็จรูปเสมอไป

(13) 

แนวทางการสอนและฝึกทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร


ดิฉันสนใจ การรู้เท่าทันการสื่อสาร ในประเด็นการเรียนการสอนเป็นสำคัญ ดิฉันเชื่อว่าหากคุณครูตระหนักถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันการสื่อสาร ช่วยกันออกแบบและบูรณาการการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรอย่างเป็นองค์รวม(โดยพิจารณาตามความเหมาะสม) ก็จะทำให้เด็กได้ทั้งวิชาการ วิชาชีพ และทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสารไปพร้อมๆกัน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่เด็กอย่างมาก


การสอน ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร น่าจะมีหนทางมากมาย เช่นการสอนด้วยวิธีการสอนแบบต่างๆ การเน้นสอนไปที่วิธีคิดแบบต่างๆ การสอนหรืออบรมทักษะชีวิตต่างๆ ฯลฯ

ในมุมมองของดิฉัน ดิฉันคิดว่าต้องมองที่ตัวเด็กเป็นคนๆไป หรือมองเป็นกลุ่มๆไป

คือแนวๆว่า รักลูกทุกคน และรักเป็นคนๆไป ..เรียนรู้ที่จะเข้าใจความเหมือน ความต่าง และลักษณะเฉพาะของเขา และรักเขาอย่างที่เขาเป็น    แล้วก็เลือกวิธีการหรือกระบวนการฝึกและสอนผสมผสานกัน มาปรับใช้ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ ทั้งนี้โดยไม่มีคำตอบสำเร็จรูปหรือรูปแบบวิธีการสำเร็จรูปเสมอไป

........เหมือนแม่ที่พร่ำสอนลูกน้อยสุดที่รักของตน........

หากเรามองเห็นแก่น หรือ หัวใจ ได้อย่างนั้น  สูงสุดจะคืนสู่สามัญ  ครูจะสอน สร้าง  ฝึกฝน อบรม บ่มเพาะ  หรืออี่นๆได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขมากตลอดชีวิตของการเป็นครู......

เพราะเรารู้จะรู้ว่า   เราเป็นใคร  เรากำลังทำอะไร  เราจะทำเพื่อให้เกิดผลอย่างไร  และที่ทำทั้งหมดนี้  เพื่อ"ให้" ใคร


ดิฉันให้ความสำคัญกับผลที่คาดหวังว่าน่าจะเกิดขึ้นในใจเด็ก ขณะเดียวกันก็ไม่ได้กำหนดเป็นวิธีการกระทำสำเร็จรูป .......ผู้สอนจำเป็นต้องมีคุณธรรมและมโนธรรมอันหนักแน่น ที่จะกำกับสถานการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสม และนำพาผู้เรียนให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางการเรียนรู้ครั้งนั้นๆ


สำหรับดิฉัน ใช้วิธีการทั่วๆไปดังนี้นะคะ

       1.)  วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
       2.)  วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การสื่อสาร
       3.)  เลือกวิธีการหรือเลือกกลวิธี (หลายๆครั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น)
       4.)  ออกแบบการสื่อสาร (ดิฉันมักใช้วิธีการถาม-ตอบ ให้ฉุกใจคิด)
       5.)  นำเสนอ(สื่อสาร)กับกลุ่มเป้าหมาย 
       6.)  ประเมินผล

หมายเหตุ :  ขั้นตอนทั้งหมดนี้ปรับและเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
(กระซิบนิดนึงว่าบางทีก็ต้องลองผิดลองถูก และบางทีก็ใช้ทฤษฎีวัดดวง เพราะไม่ว่าเราจะคิดว่าเรานำเสนอได้น่าคบเพียงใด บทเธอจะหลับ เธอก็หลับเอาดื้อๆเหมือนกัน )


ในการสอนหรือฝึกการรู้เท่าทันการสื่อสาร หลายๆครั้งดิฉันจะสอนอยู่ในรายวิชา ซึ่งเนื้อหาบางวิชานั้นเอื้อให้สอนได้ เช่นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนและศิลปะการใช้ภาษาต่างๆ เพราะมีหลักการร่วมอยู่ว่าต้องฝึกให้คิดก่อน จึงจะสอนให้เขียนได้


ส่วนบางวิชาซึ่งเป็นวิชาทฤษฎี ดิฉันก็จะดูสถานการณ์เพื่อสอดแทรกตามความเหมาะสม ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ว่ากันไป....

 

...........................................................

ปล. ขยายความเพิ่มเติมนิดนึงว่า

สูงสุดคืนสู่สามัญ  หมายถึง 

การที่เราศึกษาค้นคว้าเพื่อหาสุดยอดของกระบวนการเรียนการสอนใดๆ   หรือสุดยอดขององค์ความรู้ใดๆ  ที่เราเชื่อว่าดีที่สุดในโลก (สูงสุด) นั้นเป็นการดี

แต่หากเราได้นำมาสอนคน โดยมีจุดมุ่งหมายให้เขาเป็นคนดี  ให้เขาได้มีความรู้ ขณะเดียวกันสอนให้เขาเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์   

เราจะสอนและเราจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ให้สมกับที่เป็นแม่  ให้สมกับที่เป็นครู 

ด้วยความรู้สึกว่าเขาคือสิ่งมีค่าของเรา  เราจึงสอนและอบรมบ่มเพาะเขาด้วยความรัก ด้วยความเมตตาอาทร   ตามบทบาทหน้าที่สามัญธรรมดาของคนที่เป็นแม่ และเป็นครู ในโลกนี้  (คืนสู่สามัญ)

หากเรามีเป้าหมายอันเป็นธรรมดา  ตามหน้าที่ที่เราเต็มใจทำอย่างนี้   ก็น่าจะทำให้เราทำงานสามัญของเราอย่างสุขกายสบายใจดีนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 80748เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท