ผลพลอยได้ค่าย Mekdam English Camp


ผลพลอยได้จากการจัดค่ายที่โรงเรียนบ้านเม็กดำ

       ผู้เขียนเป็นคนที่ชอบเดินทาง  ชอบศึกษาไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปกรรมหรือวัฒนธรรม เขาว่าการศึกษาไม่มีวันเรียนจบ ถ้าจะจริงแต่ด้วยการศึกษาทางด้านศิลปะพื้นบ้านของผู้เขียนมีน้อย  จึงอยากขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ใน gotoknow ว่าช่วยบอกหน่อย ว่าในภาคอื่นๆ มีหรือไม่ สิ่งที่ว่าคือ ธรรมาสน์เสาเดียว ในภาคกลางเคยเห็น แต่มีหลายเสา ไม่เหมือนที่บ้านเม็กดำ การไปที่เม็กดำครั้งนี้พบหลวงพ่อด้วย หลวงพ่อให้ดูแจกันโบราณ ขุดพบในนา หลวงพ่อบอกว่าคนขุดตายไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าอายุประมาณ เท่าไร  ที่น่าเสียดายคือลวดลายของธรรมาสน์ เสาเดียวหายไปหมดแล้ว ด้วยความที่เป็นของเก่า  กำลังจะให้ผู้รู้ช่วยแกะลาย  ใครสามารถทำได้ติดต่อ ผอ. โรงเรียนบ้านเม็กดำได้นะครับ  ผู้เขียนคิดว่าความจริงแล้วการศึกษาบ้านเราเรียนเรื่องไกลตัวไปหรือเปล่า เอาเข้าจริงๆนักเรียนเราไม่รู้อะไรจริงๆจากการปฏิบัติสักอย่าง ถ้ายังจัดการศึกษาแบบเดิมๆในอนาคตเด็กๆของเรา คงโง่ จน เจ็บอีกต่อไป อยากให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงได้เข้ามาดูการจัดการศึกษาที่โรงเรียนบ้านเม็กดำ  ใครก็ได้ช่วยผู้เขียนตะโดนดังๆทีเผื่อมีผู้ใหญ่กระทรวงจะได้ยินบ้าง   ลองมาดูธรรมาสน์เสาเดียวดีกว่าครับ 

      

            ตัวธรรมาสน์ 

<p>                                </p><p align="center">  หลังคาส่วนบน </p><p>  </p><p style="text-align: justify">      </p><p align="center">       ลายด้านข้างน่าจะเป็นลายกระจังตาอ้อย  </p><p align="center"> </p><p align="center"> </p><p style="text-align: justify">       </p><p align="center">          ที่แปลกอีกก็คือแต่ละข้างลายไม่เหมือนกัน </p><p align="center"></p><p align="center"> </p><p style="text-align: justify">      </p><p align="left">    นี่อีกด้านหนึ่ง ฐานธรรมาสน์ต่อลงใต้ศาลาและฝังลงดิน </p><p align="left"></p><p align="left">        </p><p align="center">       แจกันโบราณ ไม่ทราบว่าอายุสักเท่าไร  </p><p align="center">  </p><p align="justify">   อยากให้เด็กๆ    ได้ศึกษาเรื่องของชุมชนตัวเอง อย่างน้อยก็มีความภูมิใจในชุมชนของตนเอง แต่ระบบการประเมินผล การข้อสอบของกระทรวงไม่สอดคล้องกับการเรียนของนักเรียน  ใครก็ได้ช่วยบอกทีว่าน่าจะทำอย่างไร  </p>

หมายเลขบันทึก: 80393เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต

หนูเห็นอาจารย์เข้าไปให้กำลังใจ ข้อคิดเห็นใน บันทึกพี่เอกบ่อยๆ ...เป็นน้องพี่เอกค่ะ

เข้ามาอ่าน ฟังเพลงเพราะๆ

เพลง เพราะมากๆค่ะ ขอฝากตัวด้วยค่ะ

 

  • เป็นน้องสาวน้องเอกหรือครับ
  • ดีใจที่ได้ทักทาย
  • เพิ่งลงรูปเสร็จครับ ขอบคุณมากครับแล้วจะไปทักทายครับ
ยังไม่เคยพบธรรมมาสน์แบบนี้เลย เหมือน ศาลพระภูมินะคะ สงสัย ศาลพระภูมิคงได้ความคิดมาจากธรรมมาสน์ หรือไม่ก็ธรรมมาสน์ได้ความคิดมาจากศาลพระภูมิ
น้อง
P

เป็นน้องคุณเอกที่เพิ่งรับปริญญา มช รึปล่าวค่ะ

อ.ขจิต ค่ะ แล้วปกติ ธรรมมาสน์ มีกี่เสาละค่ วันก่อน ก็เห็นในบันทึก อ.ออต เรื่องธรรมมาสน์เสาเดียวค่ะ...แล้วยังมีศิลปะต่างๆ ในวัดถูกรื้อทิ้งเพื่อสร้างโบสถ์ใหม่ด้วยค่ะ....อ.ออต น้ำตาตกใน คงเช่นเดียวกับ อ.ขจิต ที่รู้สึกเมื่อเห็นภาพเช่นกันมังค่ะ.......

  • ขอบคุณพี่บุญมากครับ สงสัยคงได้แนวคิดคล้ายกัน เท่าที่ทราบภาคกลางผมไม่เคยพบครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ paew มากครับ ผมจะลองถามน้องออตดูครับผม
  • น้องน้องเอก หน้าคล้ายกันเลยครับ
เรียน อ.
P

หนูเพิ่งรับปริญญาเมื่อช่วงที่ผ่านมาค่ะ...ช่วงก่อนทำงานที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และต่อมาก็ได้มาสอนที่ลพบุรีค่ะ

ฝากเนื้อฝากตัว อ.paew ด้วย

ศึกษาการใช้ Gotoknow ผ่านไพล์ที่พี่เอกส่งมาให้ และ พี่ช่วยตกแต่งให้ค่ะ เหมือนเรียนลัด

 

  • ดีใจด้วยครับที่มีพี่ชายคนดีช่วย
  • โอยอยากมีคนช่วยบ้างจัง
  • ตามมาดูธรรมมาสน์เสาเดียวแบบนี้  ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยค่ะ  แถวบ้านหว้าไม่เคยเห็นเลย
  • พวกวัตถุโบราณต่างๆที่วัด  ต้องดูแลให้ดีนะคะ  เดี๋ยวนี้พวกมารศาสนามันเยอะ
  • เย็นแล้วค่ะ   ที่มหา'ลัยจะมืดเร็ว   เดี๋ยวหว้าจะกลับแล้วหล่ะ  ที่บ้านเข้า g2k ไม่สะดวก  ทำให้เบื่อไปเลย...

เป็นอะไรที่น่าหวงแหนไว้มากเลยค่ะ  อย่าว่าแต่เด็กรุ่นลูกเลยค่ะ  ขนาดพี่เอง ก็ยังเพิ่งได้เห็นก็จากบันทึกนี้เองค่ะ  ลวดลายสวยมาก แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ทำ

  • ขอบคุณ  อ.ขจิต 
  • ขอบคุณทุกท่าน  ที่เห็นความสำคัญของสิ่งดีๆในท้องถิ่น 
  • วันนี้ กิจกรรมที่สวนป่า  สนุกดีครับ
  • ขอบคุณน้องลูกหว้ามากครับ
  • วันนี้งานยุ่งคงเพียงแต่เข้ามาตอบแล้วต้องไปทำงานต่อครับ
  • ขอบคุณพี่รัตติยามากครับ
  • เป็นธรรมาสน์ที่เก่ามากครับ
  • ขอบคุณ ผอ มากครับ
  • ลองเล่าฟังฟังในบันทึกบ้างนะครับ

ใช่ค่ะ ธรรมาสน์เสาเดียว งามมากค่ะ

  • อ.ขจิตครับ ขอถามแบบซื่อ ๆ เลยนะครับ ธรรมาสน์นี่คือที่ ๆ พระนั่งเทศน์ใช่ใหมครับ แล้วทำไมต้องมีเสาด้วยละครับ หรือว่าเป็นวัฒนธรรมของแต่ละที่ครับ?
  • ตะโกนได้ที่ รศ.ดร.วรากรณ์ครับ ไม่แน่ใจว่าท่านจะยัง check e-mail นี่อยู่หรือเปล่าครับ [email protected] ครับ
  • ขอบคุณพี่หนิงมากครับ
  • หายดีแล้วหรือครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ Kae มากครับ
  • จะลองดูนะครับ
  • ไม่รู้ว่าท่านยังใช้เหมือนเดิมไหม
  • เพิ่งเห็นอย่างนี้เป็นครั้งแรกค่ะแปลกดี
  • อยากให้แต่ละที่ รู้สึกดี ๆ กับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ค่อย ๆถูกกลืนหายไป
ธรรมมาสน์ ก็คือที่พระนั่งเทศน์แหละค่ะ ปกติทั่วไปก็มีเสานะคะ เสาเล็กๆ 4 เสาไงคะ ตามคำบอกกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่ จะเล่าว่า ในหมู่บ้านที่มีป่าใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจะโชว์ศักยภาพในการทำธรรมาสน์เสาเดียวค่ะ คือ ใช้ไม้ยืนต้นใหญ่ๆ ต้นเดียวมาทำเสา และจะฝังมาตั้งกะพื้นดินทะลุโรงธรรม หรือศาลา มาเลยค่ะ และประมาณว่า เป็นกุศโลบาย เกี่ยวกับพระสงฆ์ให้ตั้งมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อะไรประมาณนี้อ่ะค่ะ
  • ขอบคุณพี่หนิงและอาจารย์ Ranee มากครับผม วัฒนธรรมท้องถิ่นน่ารักษาไว้ครับ
  • พี่หนิงมาเพิ่มข้อมูลให้ขอบคุณมากครับผม

พี่อาจารย์ขจิตและทุกท่าน

  • ขออนุญาตที่ถูกพาดพิง
  • เคยเห็นธรรมมาสเสาเดียวพบมากในแถบอีสานเหนือโดยเฉพาะกลุ่มผู้ไทครับ
  • เห็นว่าน่าจะได้แนวคิดมาจากพุทธศาสนาเกี่ยวกับเขาพระสุเมรครับ(จักรวาลวิทยาแบบพุทธศาสนา)
  • จุดเด่นของธรรมาสที่นี่คือเป็นศิลปะแบบพื้นบ้านบริสุทธิ์น่าจะทำจากฝีมือช่างพื้นบ้านโดยเฉพาะหลังคาครับ
  • การแวดล้อมไปด้วยนาค เป็นแนวคิดเรื่องการดูแลปกป้องครับเรื่องนี้อ่านเรื่อง นาคกับพุทธศาสนาได้ครับ
  • ขอบคุณน้องออตมากครับ
  •  ผอ อยากแกะลาย
  • เพราะขอเก่าหายไป
  • สามารถทำได้ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท