คนมีควาญ


"ควาญ" ผู้ใหญ่มักใช้กรณีผู้ใหญ่ใช้เรียกหรือกล่าวถึงเด็ก (ผู้ที่อายุน้อยกว่า)

     "ควาญ" เราจะรู้จักกันในนามคนควบคุม หรือคนเลี้ยงช้าง เรียกว่าควาญช้าง แต่เหตุเกิดตอนผมออกไปเยี่ยมคนพิการตามคำบอกกล่าวของ อสม. ว่ามีพิการที่ญาติขังไว้แต่ในบ้าน ไม่ให้ออกไปไหน และญาติไม่ยอมรับว่าหลานเป็นคนพิการ เมื่อผมไปถึงก็โดนปฏิเสธจริง ๆ คิดว่าจะทำอย่างไรดี ก็เลยนึกถึงว่า "คนต้องมีควญ" อย่างน้อยก็สักคนหนึ่ง

     ผมถอยกลับและไปสืบเสาะจากบ้านที่อยู่ปากซอยว่าเห็นใครที่มาหาคนบ้านนี้บ่อย ๆ หรือ คนที่บ้านหลังนี้มักจะแวะไปหาใครบ่อยที่สุด ก็ได้คำตอบว่า "ควาญ" แกใช่ไหม ไปนู่นเลยที่บ้านผู้ช่วย... (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) อยู่ท้ายตลาดโน่น ลองไปถามดู คนนั้นแหละพูดอะไรแกเชื่อหมด แต่ต้องให้ผู้ช่วยแกเข้าใจก่อนนะ

     ผมก็ไปหาผู้ช่วย.. อธิบายถึงสิทธิคนพิการและประโยชน์ที่จะได้รับ การช่วยเหลือตามกฏหมายเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน จนท่านเข้าใจ และชวนผมไปอีกรอบหนึ่ง ห่างกันไปจากที่ไปบ้านแกครั้งแรกสัก 2 ชม. ไม่น่าเชื่อครับ แกต้อนรับและนั่งฟังผมอธิบายแถมมีสอบถามที่แกสงสัยด้วย จนเข้าใจ ก่อนผมลากลับแกถามผมว่ารู้ยังไงว่าต้องไปชวนผู้ช่วย... มาด้วย ผมยิ้ม ไม่กล้าพูดคำว่า "ควาญ" หรอกเพราะจะไม่เหมาะสมหากเด็กใช้คำนี้กับคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าครับ

     "ควาญ" ผู้ใหญ่มักใช้กรณีผู้ใหญ่ใช้เรียกหรือกล่าวถึงเด็ก (ผู้ที่อายุน้อยกว่า) เช่น เด็กนี้จั้งกั้ง (เกเร - ดื้อ) จังหู (มาก) ใครเป็นควาญ ช่วยจัดการเสียมั่ง [กรุณาอ่านภาษาใต้นะครับ (ในวงเล็บเป็นภาษากลางที่ใกล้เคียง)]

หมายเลขบันทึก: 7942เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท