พหุลักษณ์ พหุปัญญา และ พหุภาคีในการพัฒนา


ต้องมีไว้เป็นทางเลือกในการพัฒนาที่แท้จริงครับ แต่เราจะหาใครมาช่วยเป็น พหุภาคี กับเราได้บ้าง จากพันธมิตรอิงกรอบ ได้ไหมครับ
 

ที่ผ่านมาผมได้ยินการพูดถึงการใช้พหุลักษณ์ พหุปัญญา และ พหุภาคีในการพัฒนา ระดับภูมิภาค และอย่างมากที่สุดก็ระดับพื้นที่ใหญ่ๆ แต่ผมยังไม่ค่อยได้ยินเป้าหมายการพัฒนาระดับครัวเรือน และระดับปัจเจก

 

วันนี้คุณศิริลัคนา เปี่ยมศิริ ได้เขียนถึงปัญหาสมาชิกโครงการหลงทางไปทำงานรับจ้างแทนการมาพัฒนาตัวเอง ที่พอบันทึกเสร็จกลับตั้งคำถามรอผมไว้เลยว่าควรจะป้องกัน แก้ไขอย่างไร ผมก็เลยตอบไปว่า

 

ผมก็เขียนเรื่องของโศกนาฏกรรมทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอาร์เยนตินา ที่มันกำลังคืบคลานมาเมืองไทยอย่างไม่ช้าเท่าไหร่เลย

 
  • ทุกคนกำลังผันตัวเองเข้าสู่หลุมดำอันนี้
  • เหมือนมีทั้งแรงลม (ค่านิยมภายนอก) และ
  • แรงแม่เหล็ก (ค่านิยมภายใน) ดูดอยู่ทั้ง ๒ แรง
  • เราจะต้านกระแสนี้อย่างไร

ตัวผมเองนั้น ก็กำลังพยายามพัฒนาตัวเองเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นจริงและใกล้เคียงกับความสามารถของชาวบ้านมากที่สุดที่จะทำได้ เพื่อจะได้เป็นแรงช่วยอย่างแท้จริง โดยไม่มีข้อคำถามที่ทำให้เราเกิด "นิวรณ์" ในการทำงาน มัวแต่สงสัย ไม่ลองทำจริงสักที

 

สมาชิกกลุ่มของเราบางคน นอกจากวิ่งตามกระแสแบบไม่ดูตาม้าตาเรือแล้ว ยังดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นปฏิปักษ์กับความก้าวหน้าของตัวเองอีกด้วย

 

วันนี้ ดูเหมือนว่าทุกคนต้องการเงิน

 

แต่เราใช้เงินอย่างฉลาด รู้เท่าทัน ทำให้มันกลับมาเป็นฐานให้เรายืนได้อย่างมั่นคงได้ไหม แทนที่จะทำตัวเป็นทาสมันอย่างในปัจจุบัน กล่าวคือ ใช้เงินเป็นทาสเรา แบบฉลาด รู้เท่าทัน

 

เราจึงยังมีทางเลือกที่เหลือคือ การติดอาวุธทางปัญญา จัดการความรู้ด้านการหาเงิน และใช้เงิน ตามความจำเป็น อย่างเป็นธรรมชาติในบริบทที่ไม่ทำลายตนเอง ด้วยความสามารถที่แท้จริงของตัวเอง

 

ดังนั้น เมื่อเราพูดถึง พหุลักษณ์ พหุปัญญา และ พหุภาคีในการพัฒนา ในระดับพื้นที่นั้น น่าจะลองมาปรับใช้เป็นแนวทางในการทำงาน

 

โดย เราอาจต้องปรับกระบวนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

 

พหุภาคีที่ไหน จะช่วยเราได้เราต้องหา

 

พหุปัญญา อะไรที่จำเป็น

 

และ พหุลักษณ์ ของการพัฒนา จะออกไปในมุมใด ที่ในที่สุด จะมีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน แต่คนละเส้นทาง

 

คุณบุญเทียม ลูกชาย ของคุณศิริลัคนา อาจจะยังไม่หลงทาง แต่อาจจำเป็นต้อง "แวะ" ทำธุระ บางประการ หรือ อาจต้องเลือกทางเดินที่ต่างออกไปบ้างก็ได้

 

เพียงขอให้มีปัญญาเป็นไฟส่องทางบ้าง เขาก็ไม่น่าจะหลงทางครับ

 

เราคงต้องมาปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานกับชุมชนกันสักหน่อยกระมังครับ

 

โจทย์คุณตุ๊วันนี้ "หนัก" แต่ท้าทายดีครับ  ทำให้ผมได้ความคิดในการทำงานในระยะ อย่างน้อยก็ ๔-๕ ปีข้างหน้า

 

ขอบคุณที่ทำให้ผมได้คิด ผมจะได้ไม่ต้องคิดมาก ในการหาช่องทางในการทำงานที่เป็นประโยชน์กับสังคมที่เป็นจริง

 

ทุกท่าน มองเห็นการพัฒนาแบบพหุลักษณ์ในระดับครอบครัว และปัจเจก อย่างไรครับ

 

ผมว่าต้องมีไว้เป็นทางเลือกในการพัฒนาที่แท้จริงครับ แต่เราจะหาใครมาช่วยเป็น พหุภาคี กับเราได้บ้าง จากพันธมิตรอิงกรอบ ได้ไหมครับ

 

ครูบาสุทธินันท์ครับ เราปรับกระบวนการทำงานของมหาชีวาลัย มาขยายการทำงานในมุมนี้ ให้มากขึ้น น่าจะดีนะครับ

 

ใครคิดออกอย่างไร เมื่อไหร่ และพร้อมจะเป็นภาคีการพัฒนา แบบพหุลักษณ์ และพหุปัญญา ช่วยบอก หรือแนะนำด้วยนะครับ

 ขอบคุณล่วงหน้าครับ ผมเชื่อว่า คุณตุ๊ น่าจะพร้อมเป็นเจ้าภาพงานนี้นะครับ 
หมายเลขบันทึก: 79127เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 03:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

   ผมว่าพลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่เป็น สัมมาพัฒนา ในอนาคตคือเยาวชนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ในปัจจุบัน ทำอย่างไรให้เขาอยู่เป็นลิ้นงูในปากงูพิษได้โดยไม่ถูกพิษและความคมของเขี้ยวงู ทำร้ายหรือทำลายชีวิตเขาได้ เป็นโจทย์ใหญ่ที่ละเลยกันมานาน  การพัฒนาแบบพหุลักษณ์ในระดับครอบครัว และปัจเจก  ตามที่ท่านกล่าวถึง จึงเป็นสิ่งที่ ไม่ทำไม่ได้แล้ว .. ส่วนจะทำอย่างไร ผู้ที่เป็นนักพัฒนาในปัจจุบันต้องช่วยกันตอบครับ

  • อาจารย์ได้สอนลูกศิษย์ เสมอมาใช่ไหมครับว่า "ปัญหามา ปัญญาเกิด" ผมจดจำคำที่อาจารย์สอนใว้ในใจเสมอมา และจะไม่มีวันลืม จนกว่าชีวิตจะดับสลาย
  • บัดนี้ สังคมไทยทุกหย่อมหญ้า มีปัญหามากมาย การแก้ปัญหาที่ไม่มีพลัง คงจะลำบากครับ
  • ดังนั้นหากทุกฝ่าย หันหน้าเข้าหากัน ช่วยกันแก้ปัญหาอย่างมีพลัง โดยเริ่มจากฐานรากของสังคม และทำอย่างเป็นระบบ น่าจะเป็นทางออก และแนวทางการแก้ปัญหาได้ครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

ผมจะพยายามประโคเรื่องนี้ต่อเพื่อหาแนวร่วมครับ

ช่วยกันนะครับ

หากตัดปัจจัยต่างๆที่ ไม่อยากเอ่ยถึง ในปัจจุบันที่เป็นมูลเหตุที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ออกไป

แนวทางก็คงเหลือไม่มาก หรือ คิดโจทย์นี้ยาก ผมเชื่อมั่นเรื่องการ "ติดอาวุธทางปัญญา" ครั้งก่อนมี Blogger ท่านหนึ่ง ท่านเคยติติงผมว่าทำไมต้องมองว่าต้องติดอาวุธ มองแบบนี้หมายถึง เรามองว่าเขาด้อยความสามารถหรือ ใยต้องติดอาวุธ

ผมบอกว่าไม่ใช่หรอก...จริงๆ ทั้ง ปัจเจก ครอบครัว ชุมชน มีความรู้อยู่ แต่การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนานั้น ไม่เกิด หรือ เกิดก็น้อย ไม่มีพลังพอที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ก็มีทั้งแรงแม่เหล็ก แรงลมสารพัน insode out จะเกิดขึ้นขนาดไหน และมีประสิทธิภาพเพียงใด

แนวทางของมหาชีวาลัยอิสาน เม็กดำ ผมคิดว่าเป็นการสร้างคนเพื่อการเรียนรู้ และสร้างสรรค์ปัญญา ภายใต้บรรยากาศแห่งมิตรภาพ เป็นบรรยากาศที่มนุษย์โหยหาการอยู่ร่วมกันแบบอุดมคติ(ที่เป็นจริง)

การถอดตัวตนออกไปมากๆ (เหลือน้อยๆ) และคิดร่วมกัน เพื่อหาทางเลือก ทางรอดที่ถูกต้อง สายกลาง พอเพียง เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ผ่อนคลายและได้ผล

สร้างคนแม้ว่าจะยากนัก ทั้งปริมาณและคุณภาพที่คนที่ออกมาเป็นผลผลิตที่ดี ผมก็คิดว่า ต้องทำต่อไป หนึ่งคนที่ได้ก็จะไปขยายผลอีกหลายคน คนดีต่อคนดีได้เรื่อยๆ

ที่เม็กดำทำได้ดี เพราะเป็นสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบ เด็กคืออนาคตที่เข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองในอนาคต

สรุปนะครับ

เริ่มที่บุคคล ครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน (เหมือนการคิดพัฒนาทั่วไป) ทั้งหมดเป็นฐานเริ่มต้นการพัฒนาปัจเจคที่มีคุณภาพ

คุณจตุพรครับ

การสร้างชาติก็ต้องเริ่มที่การสร้างคนครับ

ไม่มีคนก็ไม่มีชาติ คนฉลาด ชาติเจริญ คนโง่เขลา สิ้นชาติแน่นอน

นี่คือเส้นทางที่พันธมิตรต้องมาคิดร่วมกัน ทำงานร่วมกัน หรือคู่ขนานกัน แลกเปลี่ยนกันครับ

การทำงานแบบพหุลักษณ์น่าจะทำให้ทุกคนสบายใจมากขึ้นครับ

แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าคนอื่นคิดอย่างไร

ผมพยายามโยนก้อนหินถามทางไปไหนหลายๆเรื่อง ส่วนใหญ่เงียบหาย หรือมองว่าผมเครียดเกินไป

จะให้ทำอย่างไรครับ เวลาเราทุกคนมีน้อย แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าเรายังเอาเวลาที่ทืน้อยไปทำให้สูญเปล่าด้วยวิธีการต่างๆ

ทำไมเราไม่ใช้การทำงานกับการพักผ่อนให้เป็นเรื่องเดียวกัน

เวลาผมไปทำงานที่ไหน ทั้งชุมชนชนบท และต่างประเทศ ผมถือว่าพักผ่อน แม้ทำงานวิจัยต่างๆ ก็เป็นการออกกำลังกายและพักผ่อนในตัว

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเราต้องแยกเวลาพักผ่อนออกไปต่างหาก

แย่ไปกว่านั้นคือบางคนที่ผมเห็น มีแต่พักผ่อนตลอดชีวิต เขาคงเกิดมาเพื่อพักผ่อนมั้งครับ

เราจึงต้องมาหาแนวร่วมในการทำงานที่เป็นรูปธรรม

บางคนตั้งสมการไว้เลยว่า

การทำงาน= การหาเงิน

อันนี้น่ากลัวมาก ผมไม่กล้าคุยกับเบาเลยครับ เพราะผมไม่เคยคิดแบบนั้นเลย

หาเงินก็หาเงิน ผมไม่ปฏิเสธ แต่ผมไม่เคยปนกับการทำงานครับ

คงต้องคุยกันอีกหลายตั้งครับ

ผมเป็นนักศึกษา ป.โท ม.สงขลานครินทร์ กำลังทำวิจัยเรื่องการรับรู้เรื่องพหุลักษณ์และการปรับตัวของชนชาติพันธุ์ในภาวะเหตุการณ์ไม่สงบ ผมจึงขอรบกวนให้ อ.แสดงแนวคิดเพื่ออธิบายความหมายของพหุลักษณ์ ในกรอบของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม

ขอบคุณมากครับ

อยากฟังอธิกบาย ค่ะ

พหุลักษณ์ เป็นปรัชญาการพัฒนาขั้นสูง ที่ใช้ได้ในทุกระดับ

แต่ เรา "อาจจะ" ปฏิเสธ ในสิ่งที่ไม่ตรงกับ "อัตตา" ของเรา

ในประเทศที่มีปัญหาน้อย เขาจะใช้แนวคิดนี้เป็นแกนนำในการคิดและพัฒนา

การชนะการเลือกตั้งของโอบามา ในอเมริกาก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง

การฟื้นฟูสิทธิสตรีก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

แท้ที่จรืงก็คือการสร้างความหลากหลาย

เพราะ ปรัชญาขั้นพื้นฐานมี ๒ ประการคือ

๑. การแยกส่วนคือการทำลาย

(Separation is fatal)

๒. ความถนัดเฉพาะเรื่องคือจุดอ่อน

(Specialization is weakness)

ฉะนั้น ปัญหาภาคใต้มีความละเอียดอ่อน ทั้งระดับปัจเจก ครัวเรือน ชุมชน ชาติ และระดับโลก

ถ้าเน้นการใช้กำลังมีปัญหาแน่นอน เพราะจะเป็นการทำให้เขาเข้มแข็งในระดับโลกได้มากขึ้นไปอีก

ดังนั้นฝ่ายที่จะเป็นแกนนำในการแก้ไข คือนักสังคม และนักการทูตที่เชี่ยวชาญเป็นเจ้าภาพหลัก ครับ

และทุกฝ่ายต้องเข้าใจความสำคัญของ "พหุลักษณ์" ในปรัชญา แนวคิด และการปฏิบัติครับ

ผมอยู่ไกล มองได้แค่นี้ครับ

คนใกล้ๆ อาจจะชัดเจนมากกว่าครับ

แต่อย่าใกล้เกินไป ก็จะมองไม่ออกเหมือนกันครับ

การยืนระยะจึงเป็นเรื่องสำคัญครับ

ขอให้โชคดีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท