ตัวชี้วัด ก.พ.ร. (2548) เพิ่มเติม


ผมได้ข่าวแว่ว ๆ มาว่าในปีต่อ ๆ ไป ก.พ.ร. อาจจะยกให้ สมศ. ช่วยประเมินในส่วนนี้ให้เป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเท่ากับว่า สมศ. จะต้องมาประเมินแทน ก.พ.ร. เฉพาะในส่วน 25% นี้ทุกปีและประเมินภายนอกของ สมศ. เองอีกทุก ๆ 5 ปี

         ผมเคยนำกรอบการประเมินของ ก.พ.ร. (2548) มาเสนอใน blog ไปครั้งหนึ่งแล้ว < Link > แต่ว่าเป็นกรอบใหญ่ ยังขาดรายละเอียดที่น่าทำความรู้จัก วันนี้ผมมีรายละเอียดเรื่องตัวชี้วัดของ ก.พ.ร. (2548) ในส่วนที่ใช้ประเมินมหาวิทยาลัยมาเพิ่มเติม โดยใช้กรณีของ มน. มานำเสนอ

         ถ้ากลับไปดูกรอบการประเมินที่ผมนำเสนอไว้ครั้งที่แล้ว < Link > โดยดูที่มิติที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 3 (ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า) ซึ่งมีน้ำหนักถึงร้อยละ 25

         ในส่วนร้อยละ 25 ดังกล่าว สามารถแบ่งย่อยเป็น 6 ด้าน และ 17 ตัวชี้วัด ดังนี้ < Click >

         ซึ่งจะเห็นว่าในส่วนนี้ของ ก.พ.ร. จะคล้าย ๆ กับของ สมศ. < Link > เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าเกือบจะซ้ำซ้อนกันทั้งหมด ผมได้ข่าวแว่ว ๆ มาว่าในปีต่อ ๆ ไป ก.พ.ร. อาจจะยกให้ สมศ. ช่วยประเมินในส่วนนี้ให้เป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเท่ากับว่า สมศ. จะต้องมาประเมินแทน ก.พ.ร. เฉพาะในส่วน 25% นี้ทุกปีและประเมินภายนอกของ สมศ. เองอีกทุก ๆ 5 ปี

         ทั้งสองการประเมินเน้นถึงสภามหาวิทยาลัย มีการตัดสินว่ารับรอง/ไม่รับรอง ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับกลุ่มวิชา และแจ้งผลการประเมินออกสู่สาธารณชน มีทั้ง positive และ negative incentive

         วิบูลย์ วัฒนาธร

คำสำคัญ (Tags): #ukm#kpis#ก.พ.ร.
หมายเลขบันทึก: 7858เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2005 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท