KM Research : KM Thesis เวทีวิทยานิพนธ์เมื่อครั้งงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 2


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิจัย KM  ครั้งที่ 2  ได้จัดขึ้นอีกครั้ง   แต่ครั้งนี้จัดขึ้นในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 2  ณ  โรงแรมมิราเคิลแกรนด์  เมื่อวันที่ 1- 2 ธันวาคม 2548 

ครั้งนี้ รูปแบบการจัดเป็นลักษณะ คลินิคให้คำปรึกษา   มีผู้สนใจเข้ามาขอคำแนะนำจำนวนมากจนต้องเปิดให้บริการเพิ่มเป็น 2 รอบในคราวนั้น  

จากครั้งนั้น พบว่า  มีหลายสาขาที่ต้องการนำ KM  ไปใช้ในงานวิจัย  อาทิ การศึกษา  สาธารณสุข  การบริหารองค์กร  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   พัฒนาชุมชนและสังคม   การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น   เป็นต้น    ซึ่งระดับการศึกษามีทั้ง ป.โท และ เอก  

ส่วนประเด็นที่เข้ามานั้น  มีทั้ง   ภาคชุมชน  ภาครัฐ  แต่โดยส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง  "การพัฒนาคุณภาพงานและองค์กร"    การใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ ควบคู่กับ KM   และยังมีประเด็นปลีกย่อย  อาทิ  KM Model    CoP   CKO 

คำถามที่พบบ่อย  คือ  "วิธีวิจัยด้านการจัดการความรู้ควรเป็นรูปแบบใด?"

ปัญหาของผู้วิจัยที่พบ  คือ   กรอบแนวคิด/ทฤษฎี และวิธีวิทยาการวิจัย  (ความเห็นของผู้ให้คำปรึกษา KM Thesis)  

และมีข้อคิดเห็นจากผู้ดูแล KM Thesis  ในครั้งนั้นซึ่งสรุปไว้น่าสนใจดังนี้

ผู้ที่ให้คำปรึกษานั้นต้องสามารถบูรณาการ  หลักแนวคิด ทฤษฎี     วิธีวิทยาการวิจัย  และบริบทของงานหรือองค์กรเฉพาะนั้นได้  

การวิจัยส่วนใหญ่ยังติดกับวิธีคิดเดิม    เน้นข้อมูลเชิงปริมาณ  เน้นความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล  มากกว่าใช้กระบวนทัศน์ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology)  ในการทำวิจัย

นักศึกษายังเกาะแน่นอยู่กับความรู้ที่มาจากนักวิชาการ   ไม่คุ้นเคยกับความรู้จากสายปฏิบัติ 

ดูรายละเอียดได้จากบทความ  AAR    KM Thesis   ในจดหมายข่าวถักทอสายใยแห่งความรู้  ฉบับที่ 16   คลิ๊กที่นี่

 

หมายเลขบันทึก: 77960เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สลามฯ

ผมกำลังครุ่นคิดอยู่เทียวกับ โครงร่างฯ ได้พยายามหาข้อมูลจากงานเก่าๆก็ไม่พบงานที่เป็นแนวได้บ้างเลยครับ  

คือผมตั้งใจว่าจะทำการจัดการความรู้ชุมชนกรือเซะ ม.3 ต.ตันหยงลุโละ ซึ่งเป็นชุมชนชนบทกึ่งเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งประติศษสตร์ มีสถาที่สำคัญๆมากมาย และในบริเวณดังกล่าวนี้เองเป็นทั้งแหล่งสำคัญทางประวัติศษสตร์ ศษสนา และวัฒนธรรมดั้งเดิมของอาณาจักรปัตตานีดารุสสลาม(หลังจากอาณาจักรลังกาสุกะ-ยะรัง-พราหมณ์ฮินดู) และเป็นแหล่งการค้า เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือที่สำคัญของภูมิภาค ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของปัตตานีนีในอดีต ก็คือ มะพร้าว และข้าว

มาในยุคเปลี่ยนแปลงหลายยุคหลายสมัย โดยการปกครองของประเทศไทย ปัตตานีอยู่ในฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งใกล้ชายแดน ระยะทางห่างจากประเทศมาเลเซีย โดยทางรถยนต์ (โดยประมาณ) 170 กม.

พื้นที่ต.ตันหยงลุโละ ประกอบไปด้วยกัน 3 หมู่บ้าน คือหมู่ 1 และ ม.2 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายทะเลอ่าวปัตตานี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และประกอบอาชีพเลี้ยงหอยแครง ซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญขึ้นชื่อของ จังหวัด (ดังที่เป็นคำขวัญของจังหวัด) และบริเวณ ม. 3 บ้านกรือเซะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทางออกทะเลเป็นสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ เช่น อบต.ตันหยงลุโละ มัสญิดกรือเซะ แหล่งการศึกษาที่สำคัญของตำบล บ่อน้ำฮังตูเวาะฮ์ อนุสรณ์สถานยามาดะ ฯลฯ ส่วนหนึ่งที่ดินของชาวบ้านยังถูกแบ่งไว้ใช้เพื่อกิจกรรมทางการเกษตร

สภาพสังคม ม.กรือเซะ เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อบริเวณที่ดิน ม.3 (บ้านกรือเซะ) ได้ถูกแบ่งซีก ด้วยถนนเพชรเกษม ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งที่เคยเป็นคนในชุมชนเดียวกันต้องแยกออกจากกัน

ผมได้พยายามชวนกลุ่มอาชีพด้านการเษตรที่มีอยู่ชุมชนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พบว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้การประกอบอาชีพการเกษตรไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก(เฉพาะ ม.3)เพราะพื้นที่มีจำกัด เนื่องจากสังคมเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้น พื้ที่มีจำกัด ประกอบกับชาวบ้านส่วนใหย่หันเข้าสู่อาชพในภาคอุตสาหกรรม และบริการเนื่องจากเป็นพี้นที่ใกล้เมือง จึงทำให้ทิ้งอาชีพทางด้านการเกษตร แต่ก็ปรากฏว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ในอาชีพการเกษตรก็ทำการเกษตรเป็นอาชีพเสริม บางรายมีอาชีพหลักด้านการศึกษา โดยให้เหตุผลว่า การเลี้ยงปลาเป็นการสะสมเงินทางหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง

ชุมชนเล็กๆ นี้เองมีหลายๆอย่างที่ผมได้รับอีกมาก ทำให้ผมได้เริ่มเรียนรู้ เกี่ยวกับความรู้ที่อยู่ในตัวของชาวบ้านชนิดที่อยากจะกล่าวว่า ชุมชนโบราณแห่งนี้มีมรดกที่สำคัญ ที่อยู่ในตัวผู้เฒ่าผู้แก่เหล่านี้ ที่สำคัญคือ ต้องมีใครสักคนที่คอยสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสได้เป็นผู้แสดง

เพราะสำคัญชุมชนนั้นมีขั้ว ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายมาก ทำให้ผมตัดสินใจว่าจะลงหลักที่ชุมชนนี้แหละ กับ "การจัดการความรู้ ด้านการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร โดยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยชุมชนมีส่วนร่วม" ให้มากที่สุด

แต่ในที่สุดแล้วผมก็ยังไม่สามารถเขียนรวบออกมาเป็นประเด็นชัดได้สักดี  ฝากบังช่วยแนะด้วยครับ

มี keyword สำคัญในงานที่คุณพิมานตั้งใจจะทำ ผมขออนุญาตตีความ

การจัดการความรู้   อาชีพเกษตร   เศรษฐกิจพอเพียง  และชุมชนมีส่วนร่วม

คำหลังสุดอาจจะตัดออกก็ได้  เพราะผมเกรงว่าจะเป็นตัวรัดคอ  คนศึกษาเองนั่นแหละ

2 คำที่ใหญ่   คือ  อาชีพเกษตร  และ เศรษฐกิจพอเพียง

งานวิจัย จะเริ่มจากคลำที่ปัญหา  ยกมาเป็นโจทย์วิจัย  แล้วนำไปสู่ความรู้

แต่ KM  คลำจาก  ความสำเร็จเล็กๆ  แล้วงัดความรู้ที่อยู่ข้างในนั้นออกมา

ถ้าจะยึดแนว KM   ทำงาน  ให้มองหาความสำเร็จเล็กๆ  แล้วเอามาสะท้อนดูว่าคุณ  และตัวเกษตรกร  เห็นอะไรบ้างในความสำเร็จนั้น     

ความสำเร็จในเรื่องอะไร?   ก้อเรื่องที่คุณขีดเส้นเอาไว้  คือ  อาชีพเกษตร และ เศรษฐกิจพอเพียง

มองหาว่า  ในชุมชนกรือเซะ   มีใครบ้างที่ใช้ชีวิตโดยมี 2 สิ่งนั้นอยู่บ้าง     แล้วไปถอดรห้สว่าคนเหล่านั้น   เขาคิดอย่างไร   ทำไมเขาใช้ชีวิตอย่างนั้น   มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น    

หากนชุมชนกรือเซะหาพบเพียงจำนวนน้อย  อาจจะต้องมองที่อื่นในอำเภอเดียวกัน   หรือขยายออกไปเป็นจังหวัดเดียวกัน   หรือภูมิภาคเดียวกัน

แล้วใช้ประโยชน์จากคนเหล่านั้น   เชิญเขามาเล่าเรื่องราวจนกว่าจะมาเป็นความสำเร็จนั้น    ให้คนชุมชนกรือเซะได้เรียนรู้   แล้วค่อยๆหาวิธีให้คนที่มาเรียนรู้ได้  reflect  สิ่งที่เขาปิ๊งแล้ว commit ว่าจะเอาไปทดลองทำดูเองบ้าง   

เราเองในฐานะ  "คนจัดเวที"  ต้องคอยสร้างความต่อเนื่อง   ออกแบบให้เวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้มีบรรยากาศเป็นกันเอง  และคนที่มารู้สึกว่าได้ประโยชน์ เอาไปใช้กับชีวิตเขาเองได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท