สัมฤทธิ์ผลของการทำ palliative care


ดังนั้นถ้า palliative care ของ ม.อ. จะประกาศ "สัมทธิ์ผล" เมื่อไร คนประกาศจะต้องมาจากพวกเราทุกคนในองค์กร

เป็นเรื่องธรรมชาติที่สุดเมื่อมีเหตุ จึงมีผลตามมา ความจริงข้อนี้ถูกประกาศในอริยสัจสี่ (The Four Noble Truths) โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่า 2500 ปีมาแล้ว ปัญหาอยู่ที่บางครั้งเมื่อเราต้องการจะ "วัด" ผล เรื่องราวเริ่มไม่ตรงไปตรงมาอย่างที่คิด

ลำพัง 5 senses ของประสาทสัมผัส ไม่มีแม้แต่ประการเดียวที่ fail-proof สัญญานตั้งแต่การเกิดการกระตุ้น มาโดนศูนย์รับ ส่งไปหน่วยประสาท เข้ากระบวนการ แปลผล มีโอกาสมากมายที่ข่าวสารถูกปรับเปลี่ยนแต่งเติม และที่พูดมาแค่กระบวนการทางสรีระแค่นั้น ยังไม่ได้นับกระบวนการทางจิตวิทยา ทางสังคม ที่มีผลไม่น้อยต่อ การรับรู้ ได้ เหมือนกับเวลาที่เราทำกลุ่มสุนทรียสนทนา เริ่มต้นจาก individual consciousness และกนะบวนการได้นำไปสู่ collective consciousness ถึงตอนนั้น การรับรู้ เรื่องเดิมได้ถูกปรุงแต่งเกิดเป็นการรับรู้ที่คัดกรองเคี่ยวกรำ หน่วง ดูดซึมซับอะไรต่อมิอะไรมากมาย เกิดการ "เปลี่ยนแปลง" ขึ้น

ในโลกยุคที่การประเมินผลเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่หน่วยเล็กสุด ไปจนถึงระดับองค์กร ชุมชน ประเทศ แรงกดดันที่เรา ต้องประเมิน เริ่ม taking its toll จากเหตุผลคือการ "สังเกต" ว่าทำแล้วเกิดอะไรขึ้น มาเป็นแต่งเติมด้วย ความคาดหวัง (ซึ่งไม่เหมือนกับ "ความหวัง" นะครับ)

ที่ ม.อ. เรามีหน่วยชีวันตาภิบาล (palliative care unit) ที่จริงๆ ชื่อเป็นทางการ ณ ขณะนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการเพื่อพัฒนา palliative care ที่มี full-time staff แค่ 2 คนเท่านั้น มีคำถามเกิดขึ้นเป้นระยะๆว่า "อะไรเป็นตัววัด ทิศทางความสำเร็จของหน่วย"

เมื่อดูจากลักษณะของ "งาน" แล้ว ก็เกิดความสงสัยทันทีว่ามีอะไรที่พอจะ claim ว่าเป็นผลงานของ "หน่วย" ได้จริงหรือ ในเมื่อเราได้บรรยายว่าการทำ palliative care นั้น "ต้อง" เป็นการดูแลที่เป็นองค์รวม เกิดจากความร่วมมือของหลากหลายบุคลากร และสำคัญที่สุดจากผู้ป่วยและญาติ ความสำเร็จ ในการดูแลนั้น "ใคร" จะเป็นคน claim the credit?

ผมเชื่อว่าบุคลากรที่ทำ palliative care นั้น couldn't care less ว่าใครจะเป็นคนได้ credit เพราะเชาเหล่านั้นแค่ตระหนักรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่  และผลทั้งหมดทุ่มเทที่ผู้ป่วยและญาติ ถ้าจะสำเร็จ "ทีม" ทั้งหมดสามารถ share sense of success นั้นได้ ไม่ใช่แค่ individual unit

จริงๆแล้ว ผมคิดว่าที่พูดมานี่ extend ไปถึง "สัมฤทธิ์ผล" ของหน่วยงานทุกระดับ รวมทั้งโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขด้วย

ศัลยกรรมจะสำเร็จได้ มีคนเกี่ยวข้องมาตั้งแต่ที่ OPD การอธิบายให้เข้าใจ เจ้าหน้าที่ที่หอผู้ป่วยใน คนงานทำความสะอาด คนซักผ้า คนเปล หมอผ่าตัด พยาธิแพทย์ ตังคนไข้เอง และญาติ ถ้าจะมีการให้ "credit" แล้วตกหล่นใครคนใดคนหนึ่งของทั้งวงจรออกไป ผมคิดว่าจะมีผลกระทบต่อการมอง การประเมิน การวางแผนพัฒนา และในที่สุดจะเกิด "ปัญหา" ขึ้น ตัวอย่างที่ว่านี้เกิดขึ้นกับทุกภาควิชา ทุกหน่วยงาน เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเราทำงานเป็น "ทีม" ผลเสียจากการไม่ได้ aware ว่าเราทำงานเป็นทีม (และ "ต้อง" เป็นทีมเท่านั้น) มหาศาลมาก เพราะเราจะเผบอไม่ได้ไปดูแล "ส่วนของทีม" ที่เราพึ่งพาอาศัยนั้นอยู่ ในห่วงอันต่อเนื่องทั้งหมดนั้น ถ้าเราไม่ได้ดูแลพยาบาลที่ ward ให้ดี ไม่ได้มีคนเปลที่รับผิดชอบ เล็กๆ น้อยๆ ของการ "หย่อนคุณภาพ" จาก undertaking care of จะค่อยๆ take its toll อย่างช้าๆ จนถึง breakingpoint

ดังนั้นถ้า palliative care ของ ม.อ. จะประกาศ "สัมทธิ์ผล" เมื่อไร คนประกาศจะต้องมาจากพวกเราทุกคนในองค์กร เพราะรับรองได้ว่าผลงานแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ individual ไม่ว่าจะเป็นคนหรือหน่วย แต่เป็นความสำเร็จองค์รวมที่สามารถ shared ได้ว่าเป้นของผู้ป่วย และญาติ และผู้ดูแลด้วย จึงจะถูกต้อง

 

หมายเลขบันทึก: 77043เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สกลยกประเด็นสำคัญมาว่าเลย  

สำหรับผม ผมคิดว่า คนที่ลงมือทำเอง อยู่ในเหตุการณ์เอง รับรู้ได้ด้วยตนเองครับว่า สายตาของผู้ป่วยหรือญาติที่มองมาที่เรา เสียงร้องอย่างเจ็บปวด คิ้วที่ขมวดเข้าหากัน รอยยิ้มจางๆก่อนลมหายใจสุดท้าย น้ำตาหรือเสียงหัวเราะ เป็นอย่างไร  ตัวเราจะบอกได้ดีเสมอว่า สิ่งที่เราทำลงไปนั้น มันดีได้ที่ สมใจของเราแล้วหรือยัง ซึ่งต่างคนต่างประเมินตนเอง 

รื่องใจ ต้องใช้ใจเราสัมผัส เรื่องที่ลึกซึ้งแบบนี้ ควรใช้อะไรที่ลึกซึ้งประเมิน ไม่ควรเอาอะไรหยาบๆ เช่น ตัวเลข ร้อยละ มาประเมินให้มันด้อยคุณค่าลง

อันนี้จำเขามาอีกที 

นั่นคือความรู้สึกส่วนตัว 

แต่ในโลกของนักวิชาการ ที่เราต้องทำหน้าที่ สอน โน้มน้าวคน การประเมินที่เป็นรูปธรรม อย่างตัวเลข จะดึงดูดใจ ทำให้คนเชื่อได้ง่ายกว่า เป็นเหตุผลว่า ในทางปฏิบัติ ผมก็ยังขอร้องให้ผู้ป่วยบอก คุณภาพชีวิต ของเขาให้ผมฟังเป็นตัวเลขว่า ให้กี่เปอร์เซนต์ครับป้า ซึ่งบางทีก็เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมยังทำอยู่ คือ ผมมักขอให้ผู้ป่วยหรือญาติ เขียน อะไร ให้กับเรา เป็นเรื่องราวที่นำไปสื่อให้ผู้อื่นต่อได้ 

ผมเองก็ยังพยายามหาคำตอบเรื่องนี้ให้กับตัวเอง และเรียนรู้ไปเรื่อยๆ  

แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่มั่นใจว่าไม่ผิดแน่ ก็คือ  อย่าฟังคนที่ไม่เคยทำงานกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายพูดมากนักเรื่องนี้  เพราะผมเชื่อว่า เรื่องนี้ก็เหมือน KM  คือ ไม่ลงมืิทำ ไม่รู้  

ผมเห็นด้วยกับพี่เต็มมากเลยครับ
และมีบ่อยครั้งที่เราให้ความสำคัญกับ lab กับ score จนลืมไปว่าสิ่งที่เรากำลัง treat เอาเป็นเอาตาย หรือว่าให้ความสำคัญเอาเป็นเอาตายนั้น มันเป็น equilibrium ณ เวลาๆหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตลอดเวลา ไม่ถาวร
Lab ที่เราดู เราอ่าน และนั่งแก้ตัวเลข อาจจะเป็น "ค่า" ของเมื่อวานตอนเย็น (ที่เราพึ่งมาอ่านตอนเช้า) score ที่ผู้ป่วยให้เรามา อาจจะเป็น score ตอนที่มีเรามานั่งคุยด้วย (ปวดลดลง) แต่ไม่ใช่ score ตอนอีกห้านาทีถัดมา (ที่เราไปแล้ว) ก็ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ ในการที่จะ maintenance score ที่ดีๆ เราก็จะต้อง empower ใครสักคนที่จะอยู่เป็นเพื่อนคนไข้ ให้เกิด good-score-effect ให้มากที่สุด แต่ที่เป็นอยู่มักจะหลงดีใจกับ good score ชั่งครั้งคราว หรือให้การรักษา score ของที่ไม่ใช่ปัจจุบันอยู่มากเกินไป ไม่มีอะไรพอดี หรือเป็น here and now เลย
มิสู้เอาเวลานั่ง record score เหล่านี้ ไปทำให้เกิด good feeling, good quality น่าจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากกว่าเยอะเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท