ผลของการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน ดดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ


สุพรรณี เปียวนาลาว- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 วารี กังใจ-  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ – Utha University
 ไพรัตน์ วงษ์นาม – คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกินดดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

วิธีการวิจัย
- เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษา 2 กลุ่มวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างปเนผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกินที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเป็นรายกลุ่ม ตามขั้นตอนของแผนการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มควบคุมได้รับวิธีปกติ ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนัก
-สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและเปรียบเทียบพหุคูณแบบนิวแมน – คูลส?

ผลการศึกษา
1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสการเกิดโรคจากภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสการเกิดโรคจากภาวะน้ำหนักเกินภายในกลุ่มทดลองพบว่า ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง  ส่วนระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผล ไม่แตกต่างกัน

2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระยะติดตามผล ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนภายในกลุ่มพบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกินก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน

3. กลุ่มทดลองมีการรับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองไม่แตกต่างกลุ่มควบคุม ส่วนระยะติดตามผลคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินสูงกว่ากลุ่มควบคุม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนภายในกลุ่มคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาะน้ำหนักเกินหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองกับระยะติดตามผล ไม่แตกต่างกัน

4. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองต่อคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีการรับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน หลังการทดลองและระยะติดตามผลทั้งสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินทุกช่วงเวลาต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองต่อคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมาสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยการควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน ทุกช่วงเวลาสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. กลุ่มทดลองมีน้ำหนักตัวหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักตัวภายในกลุ่มทดลอง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทุกช่วงเวลา

สรุป
- การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นแนวทางในการนำการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งจะนำไปสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาพและน้ำหนักตัวที่เหมาะสม


จาก การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  30-31 มกราคม 2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

หมายเลขบันทึก: 76935เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท