นางสาวปิยะพร จันทรศิริ


ระบบสุขภาพชุมชน

          จากการศึกษาชุมชนหนองไผ่ล้อม อ.เมืองจ.นครราชสีมา โดยอาศัยเครื่องมือทางระบาดวิทยา(ข้อมูลสถานะสุขภาพอัตราป่วยอัตราตาย5อันดับแรกจากศูนยสุขภาพชุมชนรพ.ค่ายสุรนารี,เครื่องมือศึกษาชุมชน7 ชิ้นของอาจารย์นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์,ตัวชี้วัดสดถ.ย.35ข้อของอาจารย์นพ.สำเริง แหยงกระโทก) วิธีการต่างๆและเครื่องมืออื่นๆ พบว่าองค์ความรู้เรื่องการแก้ปัญหาสุขภาพนั้น จะผสมผสานอยู่ในระบบการแพทย์พหุลัษณ์ คือการแพทย์สมัยใหม่(Professional sector) การแพทย์ภาคประชาชน(Popular sector) การแพทย์พื้นบ้าน(Folk sector)

         ทำให้พบว่าการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนหนองไผ่ล้อมส่วนใหญ่จะพึ่งพิงแหล่งการแพทย์สมัยใหม่ได้แก่รพ.ค่ายสุรนารี รพ.มหราชนม.รพ.ชุมชนใกล้เคียง  ซึ่งผสมผสานกับการดูแลสุขภาพตนองภาคประชาชน   ส่วนในแง่ของการแพทย์พื้นบ้านก็ยังมีบทบาทในชุมชน  ทำให้ได้ข้อค้นพบจากการเรียนรู้  ดังนี้

1.ชุมชนที่เป็นเขตเมือง มีแหล่งพึ่งพาด้านสุขภาพและมีโอกาสเลือกได้มาก

2.ผู้มีรายได้  มีความรู้สามารถเลือกรับบริการได้

3.มีการใช้บริการสุขภาพตามสิทธิบัตรของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

4.เจ็บป่วยน้อยจะดูแลตนเอง พบแพทย์เมื่อจำเป็นเพราะจำกัดด้วยเวลา เนื่องจากต้องไปประกอบอาชีพ

5.ใช้บริการแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่า

6.การดูแลสุขภาพถือว่าเป็นหน้าที่ของตนอง ครอบครัว และญาติมีส่วนร่วมดูแลด้วย

หมายเลขบันทึก: 76844เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท