เรื่องผู้หญิ้ง ผู้หญิงกับเจ้านายผู้ชาย


จากประสบการณ์ sharing กับเพื่อนว่าด้วยเรื่อง "เจ้านายใกล้ตัว" แล้วพบว่า ชีวิตการทำงานของดิฉันเป็นความโชคดี (ในความคิดตัวเอง) ที่พบแต่หัวหน้าผู้หญิง ไม่เคยมีหัวหน้าที่เป็นผู้ชายเลย
ด้วยดิฉันรับราชการมาครบ 1 ทศวรรษพอดี๊พอดี ผ่านประสบการณ์มาหลากหลาย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งโศก ทั้งเศร้า และทั้งฮา เรื่องที่เขียนในวันนี้ ได้จากการทำ AAR "ประสบการณ์ทำงาน 1 ทศวรรษ" ของตัวเอง (เอ๊! หลายคนอ่านแล้วต้องคิดว่าน่าจะหาอะไรที่มีสาระมากกว่านี้มาเขียนนะ แต่ขอบอกก่อนนะคะ ว่าดิฉันไม่ชอบความเครียด คิดอะไรที่คลายเครียดได้ก็รีบนำมาเขียนก่อน) และจากประสบการณ์ sharing กับเพื่อนว่าด้วยเรื่อง "เจ้านายใกล้ตัว" แล้วพบว่า ชีวิตการทำงานของดิฉันเป็นความโชคดี (ในความคิดตัวเอง) ที่พบแต่หัวหน้าผู้หญิง ไม่เคยมีหัวหน้าที่เป็นผู้ชายเลย (หมายเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับต้นค่ะ แต่ที่เหนือขึ้นไปก็เป็นผู้ชายซะส่วนใหญ่เหมือนกับสังคมอื่นทั่วโลก ขนาดประเทศสหรัฐอเมริกาที่เน้นความเท่าเทียมระหว่างเพศก็กำลังฮือฮากับ การมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้หญิงครั้งแรกในปี 2007) การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้านายผู้หญิงกับลูกน้องผู้หญิงทำให้สามารถพูดเรื่องผู้หญิ้ง ผู้หญิงได้อย่างสะดวกใจ (ไม่ใช่เรื่องแฟชั่น หรือช้อบปิ้งเหมือนที่กระแสบริโภคนิยมกำลังครอบงำผู้หญิงยุคใหม่ เพราะดิฉันมักตามกระแสพวกนี้ไม่ค่อยจะทัน) เพราะในชีวิตการทำงานก็มักจะมีเรื่องสะดุดจากความเป็น "ผู้หญิง" พอสมควร เช่น ปัญหาสุขภาพของ "ผู้หญิง" ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน หลายคนก็มีปัญหากับการมีอาการปวดประจำเดือนมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน บางคนก็น่าเห็นใจอย่างมาก ต้อง ทานยาแก้ปวดทุกเดือน ถ้าทนไม่ไหวจริง ๆ ก็ต้องลางานทุกเดือน หากให้เปรียบเทียบ ความเจ็บปวดแล้วหลายท่านคงเคยได้ยินประโยคที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ หรือผู้มีประสบการณ์การคลอดลูกพูด (ด้วยสำเนียงและสำนวนภาคใต้) ว่า "เจ็บ(อะ)ไหรก็ไม่เท่าเจ็บพุงเกิด (ปวดท้องคลอด)" การปวดประจำเดือนก็น้อง ๆ การ "เจ็บพุงเกิด" นั่นล่ะค่ะ ปัญหาเหล่านี้หากมีเจ้านาย "ผู้ชาย" ซึ่งเขาไม่เค๊ย ไม่เคยมีประจำเดือน ทำให้ไม่รู้ว่าการปวดเป็นอย่างไร หากเจ้านายเป็นคนที่มีครอบครัวแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าคงจะเคยรับรู้ความปวดจากคนใกล้ตัวมาก่อน แล้วนำความเข้าใจนั้นมาประยุกต์ใช้กับลูกน้องได้ แล้วถ้าเจ้านายเป็นโสดล่ะ หรือเจ้านายที่เคยเจ็บปวด ผิดหวังจากผู้หญิงมาก่อน (เหมือนในละคร) ทำให้ไม่อยากรับรู้หรือเข้าใจเรื่องผู้หญิงเลย เราจะทำอย่างไร ประกอบกับตัวเองก็เคยมีประสบการณ์ต้องหยุดงานกะทันหันก็เพราะเรื่อง "ผู้หญิง" นี่ล่ะค่ะ (แต่ก็ไม่บ่อยนัก) การมีเจ้านายผู้หญิงก็พูดแบบเปิดเผยได้ทุกกระบวนท่า แถมเจ้านายยังแนะนำการดูแลตัวเองให้เพิ่มเติมจากประสบการณ์ของท่านได้อีกต่างหาก แล้วก็คิดต่อว่าถ้ามีเจ้านายผู้ชายจะโทร.บอกเจ้านายอย่างไรดี (ตามปกติถ้ามีการหยุดงานแบบนี้ดิฉันต้องโทร.บอกเจ้านายแต่เช้า) หากนาน ๆ หยุดทีก็คงใช้ประโยคสากลได้ "หัวหน้าคะ ขอลาป่วย 1 วันนะคะ" แล้วไอ้ที่เขาปวดกันทุกเดือนก็คงต้องใช้ประโยคเสริมเพื่อไม่ให้ถูกเจ้านายตราหน้าด้วยเหตุผลจากความไม่เข้าใจได้ ดิฉันก็นั่งคิดเล่น ๆ ว่าจะใช้ประโยคอะไรมาเสริม คิดไม่ออกซักที ได้แต่เลียนแบบ โฆษณาสุดฮิตว่า "เพราะเป็นวันนั้นของเดือนค่ะ" (แต่ถ้า "วันนั้นของ(ทุก)เดือน" ตรงกับวันหวยออกล่ะก็ เจ้านายก็ตีความผิดได้อีก) ถ้าใครมีวิธีบอกปัญหาเหล่านี้กับเจ้านายผู้ชายได้อย่างนุ่มนวล ไม่เคอะเขินก็บอกบ้างแล้วกันนะคะ
หมายเลขบันทึก: 76388เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พอดี ไม่เคยมีปัญหาเรื่องปวดวันนั้นของเดือน เลยให้คำแนะนำไม่ได้ค่ะ แต่มีข้อให้ขบคิดไกลไปว่า ถ้าลูกน้องบังเอิญ อยู่ในวัยเลือดจะไป ลมจะมา หรือที่ภาษาทางการเขาเรียกว่า "วัยทอง " หละ จะมีวิธีการบอกเจ้านายผู้ชายอย่างไร คุณหยกมณี อย่าว่าดิฉันนะคะ ว่า "นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังหาคำถามปวดหัวมาเพิ่มอีก" อิ อิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท